การวัดผล | การประเมินผลการเรียน | การพบ |เอกสารอ่านประกอบ |ตารางการเรียนการสอน

แผนการสอน Course Syllabus

ภาคต้นปีการศึกษา 2543

คณะ วิทยาศาสตร์ ภาควิชา คณิตศาสตร์
รหัสวิชา 417 267 ชื่อวิชา คณิตศาสตร์สำหรับวิศวกรรม III (Engineering Mathematics   III )
จำนวน 3 หน่วยกิต 
เนื้อหารายวิชา (course description)

 สมการเชิงอนุพันธ์เชิงเส้นอันดับหนึ่ง สมการเชิงอนุพันธ์เชิงเส้นที่มีสัมประ-
                               สิทธิ์เป็นค่าคงตัว ผลการแปลงลาปลาซ ผลการแปลงผกผัน ผลเฉลยที่เป็น
                          อนุกรมกำลัง  ระบบสมการเชิงอนุพันธ์เชิงเส้น
                                        First order differential equations, linear equations with constant
                               coefficients, the Laplace transform, inverse transform, power  series solutions,
             linear systems of equations.

4. จุดประสงค์ของวิชา

  1. นิสิตสามารถหาผลเฉลยของสมการเชิงอนุพันธ์เชิงเส้นอันดับหนึ่งได้
  2. นิสิตสามารถ นำวิธีการหาผลเฉลยของสมการเชิงอนุพันธ์เชิงเส้นอันดับหนึ่ง  ไปประยุกต์แก้ปัญหาในทาง ฟิสิกส์ เคมี  ฯลฯ
  3. นิสิตนิสิตสามารถหาผลเฉลยของ สมการเชิงอนุพันธ์เชิงเส้นที่มีสัมประ      สิทธิ์เป็นค่าคงตัว
  4. นิสิตสามารถหาผลการแปลงลาปลาซ พร้อม ลาปลาซผกผัน ของ ฟังก์ชันได‰
  5.  นิสิตสามารถนำ ผลการแปลงลาปลาซ พร้อม ลาปลาซผกผัน ไปใช้ในการหาผลเฉลยของ สมการเชิงอนุพันธ์ ได‰
  6.  นิสิตสามารถ หาผลเฉลยของระบบสมการเชิงอนุพันธ์เชิงเส้น ได‰
  7. นิสิตสามารถ นำเรื่องระเบียบวิธีของอนุกรมกำลังไปใช้ในการหาผลเฉลยของสมการเชิงอนุพันธ์
1. หัวข้อวิชา (course outline)
  1. บทนำ
  2. สมการเชิงอนุพันธ์อันดับหนึ่งและระดับขั้นหนึง
  3. การประยุกต์สมการเชิงอนุพันธ์อันดับหนึ่งและระดับขั้นหนึง
  4. สมการเชิงอนุพันธ์สามัญเชิงเส้นอันดับ n
  5. สมการเอกพันธ์ที่มีสัมประสิทธิ์เป็นค่าคงตัว
  6. สมการไม่เอกพันธ์ที่มีสัมประสิทธิ์เป็นค่าคงตัว
  7. ผลการแปลงลาปลาซ
  8. ระบบสมการเชิงอนุพันธ์
  9. ระเบียบวิธีของอนุกรมในการหาผลเฉลยของสมการเชิงอนุพันธ์
2. วิธีการสอน
 บรรยาย ศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง / กลุ่ม การทำการบ้าน
3. อุปกรณ์สื่อการสอน
 แผ่นใส เครื่องฉายข้ามศีรษะ เอกสารประกอบคำบรรยาย
4. การวัดผลสัมฤทธิ์ในการเรียน 5. การประเมินผลการเรียน
ใช้ วิธีการตัดเกรดโดยอิงเกณฑ์ และอิงกลุ่ม
6. การให้โอกาสนอกเวลาเรียนแก่นิสิตเข้าพบและให้คำแนะนำ ในด้านการเรียน
นิสิตสามารถเข้าพบได้ตลอดเวลาที่ว่าง โทรศัพท์ 942-8038
E-Mail fscisut@nontri.ku.ac.th
7. เอกสารอ่านประกอบ
  1. ภาควิชาคณิตศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ , คณิตศาสตร์สำหรับวิศวกรรม III
  2. พินิจ เพิ่มพงศ์พันธ์ , สมการเชิงอนุพันธ์ , กรุงเทพมหานคร , โรงพิมพ์นำอักษรการพิมพ์
  3. สุรวิทย์ กองสาสนะ , Differential Equation , พิมพ์ครั้งที่ 3 , กรุงเทพมหานคร ,ไทยวัฒนาพานิช
  4. Coddington, Earl. , An Introduction to Ordinary Differential Equation, 4 th ed., John Wiley and sons  1986
  5. Ross Shepley L, Differential Equations. New York , Blaisdell Publishing Co., 1964
  6. Howard Anton,Calculus with Analytic Geometry,4th Edition,John Wiley & Sons, Inc.,1992
  7. Kreyszig, Erwin, Advanced Engineering Mathematics, 7  th ed. New York :John Wiley and Sons ,Inc.,1993,
8. ตัวอย่างตารางกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการเรียนการสอน
 
สัปดาห์ที่  วัน/เดือน/ปี เนื้อหา  กิจกรรมการเรียนการสอน 
1-2 30ต.ค - 10 พ.ย  บทที่1-2
บรรยาย
3  13 -17 พ.ย. บทที่ 3-4
บรรยาย
4  20-24    พ.ย. บทที่  4-5
บรรยาย
5  27พ.ย.-1ธ.ค. บทที่ 5-6
บรรยาย
6-7 4- 15 ธ.ค. บทที่6
บรรยาย
18 ธ.ค. - 22 ธ.ค.  สอบกลางภาค
9  25 -  11 ธ.ค. บทที่ 7
บรรยาย
10 1 -   5 ม.ค บทที่7
บรรยาย
11 8  - 12 ม.ค บทที่7
บรรยาย
12 15 - 19   ม.ค. บทที่ 8
บรรยาย
13 22 -  26 ม.ค. บทที่ 8
บรรยาย
14   29 ม.ค. - 2 ก.พ. บทที่ 9
บรรยาย
15-16 12  -   23  ก.พ. บทที่  9
บรรยาย
 26 กพ - 19 มี.ค.
สอบปลายภาค
9. ผู้สอน/คณะผู้สอน

ลงนาม