ยินดีต้อนรับสู่
พิเศษ โฮมเพจ

Welcome to Pises Homepage

Goto:ku.ac.th

เกษตรศาสตร์
ศาสตร์ของแผ่นดิน




การศึกษาค้นคว้าอิสระ(Independent Study)

สาขาวิทยาการจัดการ แขนงวิชาบริหารรัฐกิจ
หลักสูตรปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช

เรื่อง การศึกษาการพัฒนาสมรรถนะของข้าราชการสาย ข. และ ค. ตามหลักสมรรถนะ : ศึกษากรณีมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตบางเขน กรุงเทพมหานคร
The Study in Competencies Development of the Support Function Officer :
Case study in the Kasetsart University at Bangkhen Campus Bangkok

นายพิเศษ ปั้นรัตน์ เจ้าของผลงาน รองศาสตราจารย์ ดร.เฉลิมพงศ์ มีสมนัย อาจารย์ที่ปรึกษา
โทรศัพท์ 081-257-9009 โทรสาร 02-942-8520 e-mail : fbuspsr@ku.ac.th

บทคัดย่อ

พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา พ.ศ. 2547 บัญญัติให้ สถาบันอุดมศึกษามีหน้าที่ดำเนินการให้มีการประเมินและพัฒนาข้าราชการให้ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อความเป็นเลิศทางวิชาการและวิชาชีพ จึงมีความสำคัญอย่างยิ่งที่ข้าราชการจะต้องพัฒนาสมรรถนะให้สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพและสัมฤทธิ์ผล

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เพื่อศึกษาการพัฒนาสมรรถนะของข้าราชการสาย ข. และ ค.
(สายสนับสนุน) ในด้านวิธีการฝึกอบรม การพัฒนา การศึกษาและเทคนิคที่จำเป็นต่อการปฏิบัติราชการ
(2) เพื่อสำรวจความคิดเห็นและข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการพัฒนาสมรรถนะ กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 278 คน จากประชากร 971 คน ได้มาโดยวิธีสุ่มตัวอย่างแบบง่ายการคำนวณใช้ตารางสำเร็จรูปของ Krejcie and Morgan เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามซึ่งผู้วิจัยสร้างขึ้น สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย (X ) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) การวิเคราะห์ความแปรปรวน (One Way ANOVA) T-test ที่ระดับนัยสำคัญระดับ 0.05 ทดสอบความแตกต่างเป็นรายคู่ด้วยวิธีการของเชฟเฟ่ (Scheffe's Procedure) และหาค่าความสัมพันธ์ Chi-Square ใช้คอมพิวเตอร์โปรแกรม SPSS ประมวลผล

ผลการวิจัย พบว่า (1) การพัฒนาสมรรถนะหลัก (Core Competency) โดยภาพรวม และการพัฒนาสมรรถนะประจำกลุ่มงาน (Functional Competency)โดยภาพรวม มีการพัฒนาอยู่ในระดับมาก
(2) การพัฒนาด้วยวิธีการฝึกอบรมด้านสมรรถนะหลักด้วยวิธีการฝึกอบรมด้านทักษะการจัดการ เทคนิคการตัดสินใจ ภาวะผู้นำและการจูงใจ การพัฒนาด้วยวิธีการพัฒนาสมรรถนะหลัก ส่วนใหญ่มีการพัฒนาด้านการพัฒนาตนเอง การเรียนรู้ตนเอง และการพัฒนาด้วยวิธีการศึกษา ส่วนใหญ่มีการพัฒนาด้วยวิธีการศึกษาในระบบ
(3) การพัฒนาด้วยวิธีการฝึกอบรมด้านสมรรถนะประจำกลุ่มงาน ส่วนใหญ่มีการพัฒนาด้วยวิธีการฝึกอบรมด้านการสร้างสถานการณ์จำลอง การแสดงบทบาทสมมติ การสาธิต และการดูงานนอกสถานที่ การพัฒนาด้วยวิธีการพัฒนาด้านสมรรถนะประจำกลุ่มงาน ส่วนใหญ่มีการพัฒนาด้วยวิธีการพัฒนาด้านการพัฒนาสมรรถนะในการทำงาน โดยการอบรม พัฒนาด้วยตนเองหรือผู้บังคับบัญชา การหมุนเวียนงาน การสอนงาน การมอบหมายงานหรือโครงการให้รับผิดชอบ และการพัฒนาด้วยวิธีการศึกษาด้านสมรรถนะประจำกลุ่มงาน ส่วนใหญ่มีการพัฒนาด้วยวิธีการศึกษาด้านการศึกษาการจัดสภาพแวดล้อมเพื่อการพัฒนาสมรรถนะบุคลากร วัสดุ อุปกรณ์ เครื่องมือ และสถานที่ในการปฏิบัติงาน
(4) ข้อเสนอแนะ เกี่ยวกับประเภทและวิธีการพัฒนาสมรรถนะการพัฒนาสมรรถนะหลัก (Core Competency) พบว่า การมุ่งผลสัมฤทธิ์ ความมุ่งมั่นจะปฏิบัติราชการให้ดีหรือเกินมาตรฐาน เป็นอันดับหนึ่ง
การพัฒนาสมรรถนะประจำกลุ่มงาน (Functional Competency) พบว่า การคิดวิเคราะห์ เป็นอันดับหนึ่ง
ข้อเสนอแนะ เกี่ยวกับการพัฒนาสมรรถนะด้วยวิธีการฝึกอบรม (Training) พบว่า กลุ่มตัวอย่างต้องการให้มีการพัฒนาการฝึกอบรมให้ตรงกับงานและความสามารถเพื่อเพิ่มศักยภาพของบุคลากร เป็นอันดับหนึ่ง ส่วนการพัฒนาสมรรถนะด้วยวิธีการพัฒนา(Development) พบว่า กลุ่มตัวอย่างต้องการให้มีการพัฒนาสมรรถนะในด้านต่าง ๆ เพื่อเพิ่มศักยภาพของบุคลากรเป็นอันดับหนึ่ง และการพัฒนาสมรรถนะด้วยวิธีการศึกษา (Education) พบว่า กลุ่มตัวอย่างต้องการให้มีการให้โอกาสในการศึกษาหาความรู้เพิ่มเติม เพื่อเพิ่มศักยภาพของบุคลากรเป็นอันดับหนึ่ง


คำสำคัญ การศึกษา, การพัฒนา, สมรรถนะ

Abstract

Research Topic: The Study in Competencies Development of the Support Function Officer: Case study in the Kasetsart University at Bangkhen Campus Bangkok
Researcher: Mr.Pises Punrat
Supervisor: Associate Professor Dr. Chaloemphong Misomnai

This study examines Competencies Development of the Support Function Officer in the Kasetsart University at Bangkhen Campus Bangkok. According to role number 10 in 2004 of the Civil Service Commission Thailand, that has responsibility for evaluate and develop the officers' performance, to obtain the outstanding for education sector.

The fist objective of study is to examine competencies of the support function officer in term of tanning, developing and technical supporting in Kasetsart University. The second objective of study is to gain implication and enhance competency support function officers.
This study uses a convenience survey and questionnaire to collect data from 278 samples who are representative of support function officer in Thailand. SPSS program is employed to analyse the data to describe descriptive statistics: mean and standard deviation and inferential statistics: one way ANOVA, T-test, Schiff's Procedure and Chi-Square to test the hypotheses at the 0.05 level.

The findings of this study indicate firstly the core competency and functional competency of officers are in the high level. Secondly, most of training managerial skill, discussion technique, leadership and motivation is self development, self directed study and formal education development are in education system. Moreover, training development in terms of functional competency is in simulation model, role playing of demonstration and field trip are shoed in terms of manager, job rotation and coaching. Thirdly, most of functional competency is developed by environmental for staff competency development. Finally, core competency point achievement motivation is the first ranking, functional competency show analytical thinking is the first ranking, in additional training demonstrate the samples require the training program should complement with capability to enhance efficiency. Conversely, competency developments find out that sample need to develop the other areas for officer in the first ranking. Furthermore, education approach discovers the first ranking of the officers need is a chance to gain more knowledge.

Keywords: Education, Development, Competencies

 

 

 

 

 


กลับหน้าแรก