ความสัมพันธ์ เวียนเกิด (Recurence Relation)

นิยาม  ความสัมพันธ์เวียนเกิด สำหรับลำดับ { an} คือสมการที่แสดงความสัมพันธ์ ของพจน์ an กับพจน์ที่มาก่อน a0, a1, a2 ,..., an-1 ในรูปสมการที่แน่นอน
จะเรียกลำดับ {bn} ว่าเป็นผลเฉลยของความสัมพันธ์เวียนเกิด { an} ถ้าทุกพจน์ ของ bn สอดคล้องกับความสัมพันธ์เวียนเกิด { an}

ตัวอย่าง 1 ให้ {an} เป็นลำดับที่สอดคล้องความสัมพันธ์เวียนเกิด
                   an = an-1 + an-2 เมื่อ n > 1
ถ้า a0 = 1 และ  a1 = 1  จงหา a2, a3, a4, a5, a6

ตัวอย่าง 2  ผลเฉลยของความสัมพันธ์เวียนเกิด { an} เมื่อ a0 = 3, a1 =6 และ
  an = 2 an-1 - an-2  เมื่อ n > 1
     คือ (จะเรียนทีหลัง )  ลำดับ {bn} เมื่อ bn = 3n
    เพราะ b1 = 3 , b2 = 6 และได้ว่า
             2 bn-1 - bn-2 = 2(3(n-1)) - 3(n-2) = 3n = bn

ตัวอย่าง 3 ลำดับฟิโบนักชี (Fibonacci ' saquence) ชาว อิตาลี ค.ศ. 1170-1240
     คือลำดับ {an} ที่เขียนอยู่ในรูปแบบความสัมพันธ์เวียนเกิด
   an = an-1 + an-2  ทุก n > 1และ a0 = 1 , a1 = 1

ตัวอย่าง 4 ปัญหา หอคอยฮานอย (The Tower of Hanoi )  เป็นเกมในการเคลื่อนย้ายวงกลม 3 วง
     ที่มีขนาดต่างกันที่อยู่ในเสาต้นที่1  ไปยังต้นที่ 2 โดยมีเงื่อนไขว่า มีเสา 3 ต้น
     (เสาต้นที่1 มีวงกลมซ้อนกัน 3 วง  วงใหญ่สุดอยู่ด้านล่างสุด และวงเล็กสุดอยู่บนสุด
      เสาต้นที่2 และต้นที่ 3 ว่างเปล่า )  และในการเคลื่อนย้ายวงกลมสามารถเคลื่อนย้าย
      วงกลมทีละวงไปยังเสาทั้ง 3 ต้น  แต่ห้ามวงกลมขนาดใหญ่ซ้อนทับวงกลมขนาดเล็ก
      ถามว่าจำนวนครั้งที่น้อยที่สุดที่ทำได้จะเป็นเท่าไร
จากปัญหานี้สามารถสร้างเป็นลำดับที่เป็นความสัมพันธ์เวียนเกิดได้ว่า
ให้ ลำดับ {Hn} เป็นลำดับของจำนวนครั้งในการทำสำเร็จเมื่อมีวงกลมอยู่ n วง ด้วยกัน
จะได้ว่า  H1 = 1
และ Hn = Hn-1 + 1 + Hn-1  ( ย้ายวงกลม n-1 วง จากเสาต้นที่ 1 ไปยังต้นที่3 ต้องใช้จำนวน Hn-1 ครั้ง จากนั้นย้ายวงกลมที่ใหญ่ที่สุดในเสาที่ 1 ไปยังเสาที่ 2 ซึ่งใช้จำนวน 1 ครั้ง หลังจากนั้นย้ายวงกลม n-1 วง จากเสาต้นที่ 3 ไปยังต้นที่ 2 ต้องใช้จำนวน Hn-1 ครั้ง )
จึงได้ว่า    Hn = 2 Hn-1 + 1
 

การหาผลเฉลยของความสัมพันธ์เวียนเกิด

1. โดยวิธีการทำซ้ำ

ตัวอย่างที่ 1  จงหาผลเฉลยของความสัมพันธ์เวียนเกิด {Sn} เมือ Sn = 2 Sn-1  เมื่อ n >1 โดยที่ S0 = 1
วิธีทำ  จาก   Sn  =  2 Sn-1
=  2(2Sn-2)  =  22Sn-2
=  22(2Sn-3)) = 23Sn-3
=   23(2Sn-4) = 24Sn-4
 =  ....
= 2n-2 (2S1) = 2n-1S1
=  2n-1(2S0) =2n
ตัวอย่างที่ 2  จงหาผลเฉลยของปัญหาหอคอยหานอย  {Hn} เมื่อ Hn = 2 Hn-1 + 1  , H1 = 1
วิธีทำ  จาก   Hn = 2Hn-1 + 1
  = 2(2Hn-2 +1) +1  = 22 Hn-2 + 2 +1
  = 22(2Hn-3 + 1) +2+1 = 23Hn-3 + 22 + 2 + 1
  =  23(2Hn-4 +1) +22 + 2 +1 = 24Hn-4 + 23 + 22 + 2 + 1
   =...
  =  2n-1H1 + 2n-2 + 2n-3 + ... + 2 + 1
  = 2n-1 + 2n-2 + ... + 2 + 1
                = 2n -1

2. การหาผลเฉลย ของความสัมพันธ์เวียนเกิดเอกพันธ์เชิงเส้น

นิยาม  ความสัมพันธ์เวียนเกิดเอกพันธ์เชิงเส้นอันดับ k ที่มีสัมประสิทธิ์ค่าคงตัวคือ ความสัมพันธ์เวียนเกิดในรูป
 an = c1an-1 +c2an-2 + ... + ckan-k  เมื่อ c1, c2,  ... , ck เป้นค่าคงตัว ที่ ck 0
ตัวอย่าง
1. Pn= (1.11)Pn-1 เป็นความสัมพันธ์เวียนเกิดเอกพันธ์เชิงเส้นอันดับ 1
   2. fn = fn-1 + fn-2     เป็นความสัมพันธ์เวียนเกิดเอกพันธ์เชิงเส้นอันดับ 2
     3. an = an-1 + 2 an-3   เป็นความสัมพันธ์เวียนเกิดเอกพันธ์เชิงเส้นอันดับ 3
   4. an = an-5     เป็นความสัมพันธ์เวียนเกิดเอกพันธ์เชิงเส้นอันดับ 5


ตัวอย่าง  an = 2an-1 - an-2 ทุก n > 1 เป็นความสัมพันธ์เวียนเกิดเอกพันธ์เชิงเส้นอันดับ 2

จะได้ว่า ลำดับ {bn} ที่ bn = 3n ทุก  n  และ ลำดับ {cn} ที่ cn = 5  ทุก n
ต่างเป็นผลเฉลย  แต่ bn    cn ทุก n


ทฤษฎีบท  ให้ c1, c2 เป็นจำนวนจริง ถ้า r2 - c1r - c2  = 0 (เรียกสมการลักษณะเฉพาะ)   มีผลเฉลยที่แตกต่างกัน r1, r2

แล้วลำดับ {bn} จะเป็นผลเฉลยของความสัมพันธ์เวียนเกิด an = c1an-1 + c2an-2 ก็ต่อเมื่อ bn = d1r1n + d2r2n
ทุก n   โดยที่ d1 , d2 เป็นค่าคงตัว
พิสูจน์

ตัวอย่าง  จงหาผลเฉลยของความสัมพันธ์เวียนเกิด

  an = an-1 + 2an-2  เมื่อ a0 = 2 , a1 = 7
วิธีทำ
ผลเฉลยของสมการลักษณะเฉพาะ r2 - (1)r - 2 = 0  คือ r = 2, -1
 ดังนั้น ลำดับ {bn} จะเป็นผลเฉลยของความสัมพันธ์เวียนเกิด ก็ต่อเมื่อ
bn = d12n + d2(-1)n  ทุก n โดยที่ d1, d2 เป็นค่าคงตัว
 หา d1 ,d2 จาก เงื่อนไขเริ่มต้น a0 = 2 และ a1 = 7
 ดังนั้น     2 = a0 = b0 = d1 + d2 ...(1)
 และ     7 = a1 = b1 = d1(2) + d2 (-1)   ...(2)
 จากสมการ (1) และ (2)  จะได้ว่า d1 = 3 และ d2 = -1
 ดังนั้น  bn = 3 2n - (-1)n ทุก n เป็นผลเฉลยของความสัมพันธ์เวียนเกิด


ตัวอย่าง จงหาผลเฉลยของลำดับ ฟิโบนักชี (Fibonacci)

  an = an-1 + an-2  เมื่อ a0 = 1 และ a1 = 1
วิธีทำ

ทฤษฎีบท  ให้ c1, c2 เป็นจำนวนจริง ถ้า r2 - c1r - c2  = 0 มีผลเฉลยเพียงค่าเดียว  r0, r0

แล้วลำดับ {bn} จะเป็นผลเฉลยของความสัมพันธ์เวียนเกิด an = c1an-1 + c2an-2 ก็ต่อเมื่อ bn = d1r0n + d2nr0n ทุก n
 โดยที่ d1 , d2 เป็นค่าคงตัว
พิสูจน์

ตัวอย่าง  จงหาผลเฉลยของความสัมพันธ์เวียนเกิด

  an = 6an-1 - 9an-2  เมื่อ a0 = 1 , a1 = 6
วิธีทำ
ผลเฉลยของสมการลักษณะเฉพาะ r2 - (6)r - (-9) = 0  คือ r = 3, 3
 ดังนั้น ลำดับ {bn} จะเป็นผลเฉลยของความสัมพันธ์เวียนเกิด ก็ต่อเมื่อ
 bn = d13n + d2n(3)n  ทุก n โดยที่ d1, d2 เป็นค่าคงตัว
 หา d1 ,d2 จาก เงื่อนไขเริ่มต้น a0 = 1 และ a1 = 6
 ดังนั้น   1 = a0 = b0 = d1         .....(1)
 และ   6 = a1 = b1 = d1(3) + d2 (1) (3)    ....(2)
 จากสมการ (1) และ (2)  จะได้ว่า d1 = 1 และ d2 = 1
 ดังนั้น  bn = 3n +  n 3n = (n+1)3n ทุก n เป็นผลเฉลยของความสัมพันธ์เวียนเกิด
ทฤษฎีบท  ให้ c1, c2   , ... , ck  เป็นจำนวนจริง ถ้า rk - c1rk-1 - c2rk-2  - ... - ck  = 0 มี
ผลเฉลยที่แตกต่างกันทั้งหมด k ผลเฉลย   r1, r2  , ... , rk
 แล้วลำดับ {bn} จะเป็นผลเฉลยของความสัมพันธ์เวียนเกิด
an = c1an-1 + c2an-2 +  ...  + ckak-1 ก็ต่อเมื่อ
 bn = d1r1n + d2r2n + ... + dk rkn ทุก n  โดยที่ d1 , d2 , ... , dk เป็นค่าคงตัว
พิสูจน์

ตัวอย่าง  จงหาผลเฉลยของความสัมพันธ์เวียนเกิด

  an = 6an-1 - 11an-2 + 6an-3  เมื่อ a0 = 2 , a1 = 5, a2 = 15
วิธีทำ
ผลเฉลยของสมการลักษณะเฉพาะ r3 - 6r2 + 11r - 6 = 0  คือ r = 1, 2, 3
 ดังนั้น ลำดับ {bn} จะเป็นผลเฉลยของความสัมพันธ์เวียนเกิด ก็ต่อเมื่อ
 bn = d11n + d2 2n + d3 3n  ทุก n โดยที่ d1, d2, d3 เป็นค่าคงตัว
 หา d1, d2, d3  จาก เงื่อนไขเริ่มต้น a0 = 2 , a1 = 5 และ a2 = 15
 ดังนั้น     2 = a0 = b0 = d1 + d2 + d3     .......(1)
     5 = a1 = b1 = d1 + d2 (2) + d3 (3)   ......(2)
            15 =  a2 = b2 = d1 + d2 (4) + d3(9) .......(3)
 จากสมการ (1) , (2) และ (3)  จะได้ว่า d1 = 1 , d2 = -1 และ d3 = 2
 ดังนั้น  bn = 1 -  2n  + 2 3n  ทุก n เป็นผลเฉลยของความสัมพันธ์เวียนเกิด