คำแนะนำในเขียนบทความวิชาการ

วรเศรษฐ สุวรรณิก


  1. บทความ
    1. ก่อนเขียนบทความ ให้รวบรวมไอเดียให้ได้เยอะๆก่อน แล้วค่อย organize หรือ outline ไอเดียเหล่านั้น
    2. เขียนส่วนที่เขียนได้ก่อน ไม่ต้องเขียนเรียงตามลำดับ 1 2 3
    3. เขียนเวอร์ชันกำกับไว้ และเก็บทุกเวอร์ชันที่ผมได้แก้ไขไว้
    4. ตรวจสอบว่าฟอนต์ไทยและอังกฤษเป็นฟอนต์เดียวกัน
    5. ตรวจสอบว่าขนาดของฟอนต์ไทยและอังกฤษเหมาะสมกัน
    6. ตรวจสอบการสะกดก่อนส่งให้ผมตรวจ ผมไม่ใช่ spel checkor [sic]
    7. ส่งไฟล์ pdf
        1. เวลาส่งไปตีพิมพ์ก็ต้องส่งเป็น pdf
        2. เหตุผล ของ Stallman
  2. ย่อหน้า
    1. ใช้การกระจายแบบไทย
    2. ถ้าใช้ฟอนต์ขนาดเล็ก การส่งให้แก้ไข ให้ double space เพื่อที่ผมจะได้เขียนความเห็นลงไปได้สะดวก
    3. ศึกษาวิธีการใช้ style หรือการจัดรูปแบบในโปรแกรม word processor
    4. ควรแก้ไขย่อหน้าที่สั้นหรือยาวเกินไป
    5. วิธีขยายความย่อหน้าที่มี < 4 บรรทัด
    6. กรณีที่เขียนไม่ออก ลองวางปากกา (หรือปิดคอมพิวเตอร์) และพูดใส่เครื่อง MP3 แล้วถอดเทป (เอ๊ย! ถอด MP3)
    7. วิธีตรวจสอบว่าคนอื่นจะอ่านย่อหน้าที่เราเขียนรู้เรื่องหรือไม่
  3. ประโยค
    1. ถ้าตัดประโยคใดประโยคหนึ่งออกไปแล้วความหมายไม่เปลี่ยน ให้ตัดประโยคนั้นออกไป
    2. มีประธาน กริยา กรรม
    3. ระวังการใช้สรรพนามบุรุษที่ 3 โดยที่ผู้อ่านไม่รู้ว่าคำนั้นอ้างถึงอะไร เช่น มันดีกว่า
    4. ภาษาไทย
    5. ห้ามลอกประโยคของคนอื่นโดยเด็ดขาด
      1. การลอก → ทุจริต → ผิด
      2. การลอก → ไม่ใช้สมอง → โง่
      3. ผมเห็นว่าการตรวจงานที่สร้างโดยการกด Ctrl+C และ Ctrl+V เป็นเรื่องที่เสียเวลาอย่างยิ่ง
      4. สักวันหนึ่งคนที่คุณไปลอกเขามา อาจจะรู้ว่าคุณลอกงานของเขา
      5. ถามว่าการลอกประโยคของคนอื่นและตัดคำบางคำออกไป ถือว่าผิดไหม? ก็ลองถามกลับว่าถ้าเราโดนอย่างนี้บ้างจะรู้สึกอย่างไร และต้องใช้พลังสติปัญญาแค่ไหนในการลอกและตัด
      6. ควรให้ credit คนที่ทุ่มเทพลังสมองในการเขียน (ลองเขียนบทความหรือหนังสือด้วยตนเอง แล้วจะทราบว่าต้องใช้พลังขนาดไหน)
        • ถ้าต้องการนำประโยคของคนอื่นมาใช้ ให้ใส่ไว้ในเครื่องหมายคำพูด พร้อมทั้งระบุชื่อเจ้าของประโยคด้วย
  4. คำ
    1. คำฟุ่มเฟือย ถ้าคำไหนตัดออกแล้วความหมายไม่เปลี่ยน ให้ทำการตัดคำนั้นทิ้งไป
    2. คำเดียว แต่อยู่ต่างบรรทัด ให้ใช้เครื่องหมาย -
    3. ระวังคำที่ไม่เจาะจง เช่น ร้อนมาก หรือ ดีกว่าเดิม ให้ระบุไปเลยว่าอุณหภูิิมิเท่าไร หรือ ดีขึ้นกี่ %
    4. อย่าใช้คำที่ไม่เป็นทางการ เช่น เท่าไหร่, เบอร์ทอสับ, หรือนิดหน่อย
    5. คำภาษาอังกฤษ
    6. คำที่มักจะสะกดผิด
  5. สูตรคณิตศาสตร์
    1. ตัวแปรใช้ตัวเอียง
    2. ตัวเลขไม่ต้องเอียง
    3. เครื่องหมายลบ ให้เลือกจากสัญลักษณ์ ไม่ใช่กดคีย์ที่อยู่ระหว่าง 0 และ =
    4. เครื่องหมายคูณและหาร ไม่ใช้ * และ / แต่ให้เลือกจากสัญลักษณ์
  6. รูปภาพ
    1. วาดเอง ห้ามก๊อป
    2. ชื่อรูปอยู่ใต้รูป
    3. ชื่อรูปไม่ต้องมีคำว่า แสดง
    4. อ้างถึงรูปในเนื้อความ ไม่ใช่เอารูปมาวางเฉยๆ แล้วไม่อธิบาย
    5. ลองพิมพ์ลงบนกระดาษ ถ้าไม่คมชัด ให้วาดใหม่
  7. กราฟ
  8. ตาราง
    1. หัวคอลัมน์
    2. ชื่อตารางอยู่เหนือตาราง
    3. อย่าลืมอธิบายตาราง หยิบเฉพาะจุดที่สำคัญมาอธิบาย
  9. โค้ดจริงและ pseudo code
    1. indent คือเยื้องโค้ดให้เป็นระเบียบ เช่น if ตรงกับ end if และโค้ดที่อยู่ระหว่างกลางให้เยื้องไปทางด้านขวา
    2. ใช้ฟอนท์ Courier
    3. if, for, while ใช้ตัวหนา
  10. เอกสารอ้างอิง
    1. อ้างถึงเอกสารอ้างอิงให้ครบทุกอัน ไม่ใช่ว่าในส่วนเอกสารอ้างอิงมีรายชื่อบทความ 30 ฉบับ แต่ในตัวรายงานเขียนแค่ 10 ฉบับ
    2. ให้ความสำคัญกับแหล่งอ้างอิง แหล่งที่ควรนำมาอ้างอิงได้แก่ textbook, journal, conference proceedings
    3. ตรวจสอบรูปแบบการเขียนเอกสารอ้างอิงให้ถูกต้องก่อนส่ง
  11. การแก้ไข
    1. เมื่อมีรายการแก้ไข ให้แก้ข้อผิดพลาดแบบเดียวกันทั้งบทความ
    2. สัญลักษณ์ที่ผมใช้





Last updated: Nov 2010