ส่วนประกอบของบรรยากาศ

ที่มา : http://web1.dara.ac.th/daraspace/Data/Data_Darasart/SolarSystem/earth/polution.htm
ลมและการหมุนเวียนของบรรยากาศ
ลักษณะการเคลื่อนที่ของอากาศเหนือพื้นโลก กำหนดได้เป็น 2 แบบ คือ
- อากาศที่เคลื่อนที่ในแนวราบจากผลของความแตกต่างอากาศ เรียกว่า ลม (wind)
- อากาศที่เคลื่อนที่ในแนวตั้งจากผลความแตกต่างของก้อนอากาศกับอากาศภายนอก เรียกว่า กระแสอากาศ (current)
ปัจจัยต่าง ๆ ที่มีผลต่ออุณหภูมิอากาศ
1. ปริมาณรังสีดวงอาทิตย์ (quantity of solar radiation) การเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิอากาศจะมีความสัมพันธ์โดยตรงกับ
ปริมาณรังสีดวงอาทิตย์ที่โลกได้รับ
2. พื้นดินและพื้นน้ำ (land and water) พื้นดินจะร้อนและเย็นเร็วกว่าพื้นน้ำ ดังนั้นบริเวณที่เป็นพื้นดินจะมี
การเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิในรอบวันมากเมื่อเทียบกับบริเวณที่เป็นพื้นน้ำ
3. ตำแหน่งทางภูมิศาสตร์ (geographic position) บริเวณใกล้ชายฝั่งจะมีการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิน้อยกว่าบริเวณที่อยู่
ไกลออกไปเนื่องจากอิทธิพลของทะเลจะความคุมการเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิ
4. ความสูงของพื้นที่ (altitude) บริเวณพื้นที่สูงความกดอากาศและความหนาแน่นของอากาศน้อยกว่าบริเวณ
พื้นที่ต่ำทำให้ดูดกลืนและสะท้อนรังสีดวงอาทิตย์ได้น้อยลง จึงมีผลให้พื้นดินได้รับรังสีดวงอาทิตย์มากขึ้น และอุณหภูมิอากาศสูงขึ้น
ขณะที่กลางคืนจะมีการคายความร้อนได้เร็วกว่าอุณหภูมิเฉลี่ยของพื้นที่สูงจะมีค่าต่ำกว่าพื้นที่ต่ำ แต่มีความแตกต่าง
ระหว่างกลางวันกับกลางคืนมากกว่า
5. กระแสน้ำในมหาสมุทร (ocean current) หากบริเวณใดมีกระแสน้ำอุ่นหรือน้ำเย็นไหลเลียบชายฝั่งทวีปอุณหภูมิ
ของอากาศบริเวณนั้นจะอุ่นหรือเย็นตามไปด้วย
ความชื้น (Humidity)
ความชื้นสมบูรณ์ (Absolute Humidity : c)
ความชื้นสมบูรณ์ (absolute humidity : c) หมายถึง อัตราส่วนระหว่างมวลของไอน้ำ ต่อปริมาณทั้งหมดของอากาศชื้น (V)
 
และมีความสัมพันธ์กับไอน้ำโดย

โดยที่
: ความดันไอน้ำจริง (kPa)
: น้ำหนักโมเลกุลของน้ำ (18.016 g. mol-1)
R : ค่าคงที่สากลของแก๊ส (8.314 kj. kg-1.mol-1.K-1)
T : อุณหภูมิ (K)
ความชื้นจำเพาะ (Specific Humidity : qs)
ความชื้นจำเพาะ (specific humidity : qs) หมายถึง อัตราส่วนระหว่างมวลของไอน้ำในอากาศชื้นต่อมวลอากาศทั้งหมด (kg. kg-1)
และมีความสัมพันธ์กับไอน้ำโดย
โดที่
md : มวลอากาศแห้ง (kg)
P : ความกดบรรยากาศ (kPa)
Precipitable Water (Wp)
Precipitable Water (Wp) หมายถึง ปริมาณความชื้นทั้งหมดในชั้นของบรรยากาศโดยธรรมชาติ มีประโยชน์ในการ
นำไปหาปริมาณน้ำสูงสุดจากอากาศที่ตกลงสู่พื้นโลก หน่วยของ Precipitable Water มักนิยมใช้บอกเป็นความลึกเช่น มิลลิเมตร

โดยที่
Wp : ความลึกของ Precipitable Water (mm)
Qs : ความชื้นจำเพาะ (g. kg-1)
P : ความกดบรรยากาศ (mb)
|