โครงการวิจัยรหัส 11010620 (46)

โครงการวิจัยหลักสูตร: หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต

ในชุดโครงการวิจัยเพื่อการประกันคุณภาพการศึกษา คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

 

1.  รศ.ดร.อภิลักษณ์ ธรรมทวีธิกุล                                                      หัวหน้าโครงการและนักวิจัย

     (Assoc. Prof. Dr. Apiluck Tumtavitikul)

                2.  รศ.ปราณี จงสุจริตธรรม                                                                นักวิจัย

                     (Assoc. Prof. Pranee Jongsutjarittam)

3.  ผศ.ดร.สุพรรณี จันทร์คราญ                                                          นักวิจัย

                     (Assist. Prof. Dr. Supanni Chantkran)

                4.  .ศรีจันทร์เพ็ญ ชูขจร                                                                     นักวิจัย

                     (Ajarn Sijunpen Chookajorn)

                5.  ผศ.ดร.ประเวศ อินทองปาน                                                          นักวิจัย

                   (Assit. Prof.  Dr. Praves Intongpan)

                6.  ผศ.สมจิตร์ สิริรัตนวิทย์                                                                  นักวิจัย

                  (Assist. Prof. Somchit Siriratanavit)

                7.  ผศ.ดร.กิติมา อินทรัมพรรย์                                                           นักวิจัย

                   (Assist. Prof. Dr.Kitima Indrambarya)

 

 

..กาญจนา         ชุนเชย                                                                   ผู้ช่วยวิจัย 1

..พรกนก           ศรีงาม                                                                    ผู้ช่วยวิจัย 2

..ประวินี            แก้วจันทร์                                                              ผู้ช่วยวิจัย 3

..เสวีวร              พรหมขุนทอง                                                        ผู้ช่วยวิจัย 4

 

 

ผศ.ดร. อุไรวรรณ อมรนิมิตร                                                              ที่ปรึกษาด้านสถิติ

 

 

รศ.ดร.คุณหญิงสุมณฑา       พรหมบุญ                                               ผู้ทรงคุณวุฒิที่ปรึกษา

รศ.ดร.ภาวิณี          ศรีสุขวัฒนานันท์                                                  ผู้ทรงคุณวุฒิที่ปรึกษา

รศ.ดร.อุทัย            บุญประเสริฐ                                                         ผู้ทรงคุณวุฒิที่ปรึกษา

ผศ.ดร.สืบแสง       พรหมบุญ                                                               ผู้ทรงคุณวุฒิที่ปรึกษา

 


บทคัดย่อ

การศึกษาวิจัยนี้เป็นการศึกษาเพื่อการพัฒนาหลักสูตรอย่างต่อเนื่อง ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการดำเนินงานประกันคุณภาพการศึกษาของคณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ โดยมุ่งเน้นศึกษาปัจจัยสำคัญต่างๆที่เกี่ยวข้องกับหลักสูตร ด้วยการประยุกต์ใช้ทฤษฎี The Five Competitive Forces ของ Michael E. Porter (1998) เป็นกรอบและแนวคิดในการวิจัยภายใต้กรอบทฤษฎี The Balanced Scorecard (BSC) ของ Robert Kaplan  และ David Norton (1998)  เพื่อประเมินคุณภาพ ประสิทธิภาพของหลักสูตรต่างๆของคณะมนุษยศาสตร์

                จากผลการวิเคราะห์ศึกษาปัจจัยต่างๆที่เกี่ยวข้อง เพื่อการได้มาซึ่งหลักสูตรอันพึงประสงค์ ได้มาตรฐานสากล สอดคล้องกับพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ..2542 มาตรฐานของสำนักรับรองมาตรฐานอุดมศึกษา นโยบายรัฐและนโยบายพัฒนามหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ คณะผู้วิจัยเสนอแนวทางวางแผนยุทธศาสตร์พัฒนาหลักสูตรคณะมนุษยศาสตร์ โดยเสนอดัชนีชี้วัดต่อไปนี้

 

ดัชนีคุณภาพบัณฑิต

-สัดส่วนของบัณฑิตที่สามารถหางานทำในองค์การ/สถาบัน/สถานที่ทำงานในระดับนานาชาติทั้งในและนอกประเทศ อาทิ บริษัทต่างประเทศที่มีสำนักงานในประเทศไทย

-สัดส่วนบัณฑิตที่สามารถศึกษาต่อในระดังบัณฑิตศึกษาในสถาบันชั้นนำระดับนานาชาติทั้งในและนอกประเทศ

ดัชนีคุณภาพหลักสูตร

-จำนวนสถาบันอุดมศึกษานานาชาติ ทั้งในและนอกประเทศที่มีความร่วมมือกับคณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ในด้านการแลกเปลี่ยนอาจารย์ บุคลากรและนิสิต

-จำนวนหลักสูตรในสถาบันอุดมศึกษานานาชาติทั้งในและนอกประเทศที่ยอมรับการถ่ายโอนหน่วยกิตของหลักสูตรของคณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

-จำนวนหลักสูตรภาคปกติและหลักสูตรนานาชาติของคณะมนุษยศาสตร์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ที่มีนักศึกษานานาชาติมาศึกษา

ดัชนีคุณภาพอาจารย์

-จำนวนอาจารย์(ต่ออาจารย์ทั้งหมด)ที่มีผลงานทางวิชาการและ/หรือผลงานวิจัยในระดับนานาชาติ

-จำนวนอาจารย์(ต่ออาจารย์ทั้งหมด)ที่เป็นอาจารย์พิเศษและ/หรือวิทยากรในสถาบันอุดมศึกษาหลักสูตรนานาชาติทั้งในและนอกประเทศ

-จำนวนอาจารย์(ต่ออาจารย์ทั้งหมด)ที่ได้รับรางวัลในระดับนานาชาติ

ดัชนีคุณภาพงานวิจัยและวิชาการ

-จำนวนผลงานวิจัย/วิชาการของอาจารย์(ต่อจำนวนอาจารย์ทั้งหมด)ที่ได้รับการตีพิมพ์/เผยแพร่ในวารสารวิชาการระดับนานาชาติและ/หรือนำเสนอในการประชุมวิชาการระดับนานาชาติ

-จำนวนผลงานวิจัย/วิชาการของอาจารย์(ต่อจำนวนอาจารย์ทั้งหมด)ที่ได้รับรางวัลระดับนานาชาติ

-จำนวนผลงานนิสิต(ต่อจำนวนนิสิตทั้งหมด)ที่ได้รับการตีพิมพ์/เผยแพร่ในวารสารระดับนานาชาติและ/หรือ นำเสนอหรือประกวดแข่งขันในที่ประชุมระดับนานาชาติ

-จำนวนผลงานนิสิต(ต่อจำนวนนิสิตทั้งหมด)ที่ได้รับรางวัลระดับนานาชาติ

-จำนวนผลงานวิจัย/วิชาการของอาจารย์และนิสิตที่เป็นแหล่งอ้างอิงในระดับนานาชาติ