Pref_th
note_th

 

การถามทาง การแสดงคำถาม

การแสดงคำถาม 1 :

ฉาก: วีระวัฒน์ไม่รู้จักทางที่จะไป จึงถามทางผู้เดินผ่าน โดยการทักเรียก พร้อมกับถามด้วยว่า
เป็นคนหูหนวกหรือเปล่า

1)
ภาษามือไทย
สีหน้า
ขมวดคิ้ว
----------------------------
มือถนัด
ตรงไปข้างหน้าแล้วเลี้ยวซ้าย
มือไม่ถนัด
-----------
คำแปล
(พูดพึมกับตัวเอง)
"ไปทางไหนนะ"

การแสดงคำถาม 2 :

2)
ภาษามือไทย
สีหน้า
สบตา + เลิกคิ้ว
----------------------------
มือถนัด
หูหนวก
มือไม่ถนัด
-----------
คำแปล
"(คุณ)หูหนวกหรือเปล่าครับ"

คำอธิบาย: 1) การสบตาคู่สนทนา  เป็นที่รับรู้กันว่า  มีคำสรรพนามบุรุษที่สอง  เช่น  “คุณ” หรือ “ท่าน” คำอธิบาย: อยู่ด้วย  โดยละท่ามือสรรพนาม [ ชี้คุณ ]
คำอธิบาย: 2) การแสดงคำถาม “ไหม  ใช่ไหม ”  จะแสดงสีหน้าด้วยการเลิกคิ้ว

การแสดงคำถาม 3 :

3)
ภาษามือไทย
สีหน้า
ขมวดคิ้ว
----------------------------
มือถนัด และ
มือไม่ถนัด
ชื่อ หน้าตา
คำแปล
"ชื่อภาษามือ(ของ)คุณว่าอะไรครับ"

 

การแสดงคำถาม 4 :

4)
ภาษามือไทย
สีหน้า
เลิกคิ้ว
----------------------------
มือถนัด

ชี้ คุณ

มือไม่ถนัด
ชื่อ หน้าตา หน้าตา ค้างไว้
คำแปล
"ชื่อภาษามือ(ของ)คุณว่าอะไรค่ะ"

อธิบาย: 
โดยปกติเวลาถามชื่อภาษามือ ผู้ตอบจะแสดงท่ามือบอกชื่อซึ่งแตกต่างจากชื่อที่เขียน
และอ่านออกเสียงในภาษาพูดชื่อในภาษามือมักจะสัมพันธ์กับลักษณะเด่นที่มองเห็น
เป็นเอกลักษณ์ของบุคคล

ข้อเสนอแนะ:  เนื่องจากมีความแตกต่างในการตั้งชื่อระหว่างภาษามือกับภาษาพูดเมื่อคนหูหนวกต่างฝ่ายต่างไม่รู้จัก
กันพบกัน  การบอกชื่อควรบอกด้วยชื่อภาษามือของตน  ตามด้วยชื่อภาษาเขียนโดยการสะกดนิ้วมือ
อักษรไทยบอกชื่อให้อีกฝ่ายหนึ่งรับทราบ  เพื่อเป็นข้อมูลที่สมบูรณ์

การแสดงคำถาม 5 :

5)
ภาษามือไทย
สีหน้า
เลิกคิ้ว
----------------------------
มือถนัด
ตรงไป เลี้ยวซ้าย
มือไม่ถนัด
----------------
คำแปล
"ตรงไปแล้วเลี้ยวซ้ายใช่ไหมครับ"
"ไปทางนี้ใช่ไหมครับ"

 

การแสดงคำถาม 6 :

6)
ภาษามือไทย
สีหน้า
เลิกคิ้ว
----------------------------
มือถนัด
ทางนั้น
มือไม่ถนัด
----------------
คำแปล
"อ๋อ! ทางนั้นเหรอ "