คำกริยาคล้อยตาม

 

คำกริยาคล้อยตาม คือ  คำกริยาที่เกิดร่วมกับหน่วยคำที่แสดงบุรุษ  พจน์  และการณ์ลักษณะ  แต่ไม่รวมหน่วยคำที่

แสดงตำแหน่งจุดหมาย  เช่น  ให้  ยืม  ถาม  บอก  เป็นต้น ท่ามือกริยาจะคล้อยตามบุรุษและพจน์ของคำนามที่เป็น

ประธาน และ/หรือ คำนามที่เป็น กรรม (Padden 1990 :119-120)

 

                คำกริยาคล้อยตามในภาษามือไทยเป็นสกรรมกริยา  ในบางครั้งเป็นทวิกรรม     ท่ามือกริยาจะคล้อยตามบุรุษ

     และพจน์ของคำนามที่เป็นกรรมตรงและ/หรือคำนามที่เป็นประธาน   และอาจรวมลักษณนามของกรรมตรงในกรณีที่

     เป็นทวิกรรม   ท่ามือคำกริยาคล้อยตามไม่เกิดร่วมกับหน่วยคำที่แสดง ตำแหน่งจุดหมาย  แต่ใช้พื้นที่ในเชิงวากยสัมพันธ์

     (syntactic space) เพื่อแสดงทิศทางการกระทำกริยา  คือ จากประธานไปยังกรรม  หรือจากกรรมไปยังประธาน

     ตัวอย่างเช่น

                “ฉันช่วยคุณ”

                “ฉันถามคุณ”

                “ฉันถามคุณทั้งสองคน”

                “ฉันถามคุณทั้งสามคน”

                “ฉันถามคุณทีละคน”

                “ฉันถามทุกคน”

                “พวกเขาต่างก็ถามเขา”

                “พวกเราถามเขากันไหม”

                “เขาบอกฉัน

                “คุณยืมเงิน(จาก)ฉัน”

                “ฉันเชิญเขา”

 

                ในกรณีที่เป็นสกรรมกริยา โครงสร้างวากยสัมพันธ์เป็นดังนี้

 

 

หรือ

 

 

ในกรณีที่กริยาเป็นทวิกรรม โครงสร้างวากยสัมพันธ์เป็นดังนี้

 

 

หรือ

 

 

หรือ

 

 

ตัวอย่างเช่น

“พ่อให้เงินแดง”