คำกริยาทั่วไป

               

คำกริยาทั่วไป คือ คำกริยาที่ไม่เกิดร่วมกับคำนาม  ไม่มีหน่วยคำแสดงบุรุษ  พจน์  หรือจุดหมายรวมอยู่ด้วย

แต่อาจเกิดร่วมกับการณ์ลักษณะได้   (Padden, 1990 :119)

 

                คำกริยาทั่วไปในภาษามือไทยมักจะเป็นเป็นกริยาแสดงสภาพ  อาการ  และ/ หรืออารมณ์ความรู้สึก

      ท่ามือของกริยานี้เป็นท่ามือเดี่ยวแยกจากคำนามที่เป็นประธานและกรรม  ตัวอย่างเช่น

                                “พ่อรักแม่”

                                “ฉันคิด”

                คำกริยาทั่วไปในภาษามือไทยมี 2 ชนิด  คือ

1.       สกรรมกริยา  คือ คำกริยาที่มีกรรม  เช่น  “ชอบ”   “รัก”

1.1    ในกรณีที่ประธานและกรรมเป็นบุคคล  เช่น  “พ่อรักแม่”  มีโครงสร้างภาษามือไทยดังนี้

 

 

หรือ

 

1.2    ในกรณีที่ประธานเป็นบุคคล  และกรรมเป็นสิ่งมีชีวิตที่ไม่ใช่บุคคลหรือสิ่งของ

        เช่น  “แม่ชอบแตงโม”

         “ยายชอบแมว” 

 จะมีโครงสร้างภาษามือไทยดังนี้

 

[ [ O ]   [ S ]   [ V ] ]

 

2.       อกรรมกริยา  คือ คำกริยาที่ไม่มีกรรม  เช่น  “คิด”  “เข้าใจ”  “หิว”  “อ้วน”

ตัวอย่างเช่น          “เขาหิว”

                                “เขาอ้วน”

 

                มีโครงสร้างภาษามือไทยดังนี้

 

                [ [ S ]   [ V ] ]

 

                ทั้งนี้ท่ามือกริยาอาจมีการณ์ลักษณะร่วมด้วย  เช่น  “กำลังคิด”

  และอาจมีลักษณนามของประธานเกิดร่วมด้วย

 

ในภาพรวมโครงสร้างภาษามือไทยของคำกริยาทั่วไปเป็นดังนี้