คำกริยาบ่งอาณาบริเวณ

 

คำกริยาบ่งอาณาบริเวณ  คือ  คำกริยาที่บอกการกระทำหรือการเคลื่อนไหว ซึ่งเกิดร่วมกับหน่วยคำแสดงตำแหน่งจุดหมาย

หรือพื้นที่ของการกระทำหรือการเคลื่อนไหวนั้นๆ   เช่น  ถือ  หยิบ  ต่อย  เดิน       กริยาบ่งอาณาบริเวณอาจมีลักษณนามของกรรม

รวมอยู่ด้วย และกริยาบางคำอาจมีลักษณะการกระทำของประธานและ/หรือลักษณนามของประธานร่วมด้วย

(ดัดแปลงจาก Padden 1990: 119)

 

คำกริยาบ่งอาณาบริเวณในภาษามือไทยอาจมีกรรมหรือไม่มีก็ได้  แต่จำเป็นต้องมีตำแหน่งจุดหมายหรือพื้นที่ของการกระทำ

หรือการเคลื่อนไหวของกริยาจากตำแหน่งหนึ่งไปยังตำแหน่งเป้าหมายเสมอ  เช่น

                                “รถ(ยนต์)ชนต้นไม้”

                                “(ฉัน)กด(แป้น)กระติกน้ำ”

 

                คำกริยาบ่งอาณาบริเวณในภาษามือไทยที่ใช้กันมี 2 ชนิด คือ

1.       สกรรมกริยาซึ่งรวมลักษณนามของกรรม และมักจะแปรตามชนิดของนามที่เป็นกรรม 

      ในบางกรณีท่ามือกริยารวมกรรมด้วย โดยมีโครงสร้างภาษามือไทยดังนี้

 

 

ตัวอย่างเช่น 

“(ฉัน)กินก๋วยเตี๋ยว”

“(ฉัน)กินลูกกวาด”

 

     ท่ามือกริยานี้อาจแปรตาม(ลักษณะการกระทำกริยาของ)ประธาน  เช่น

“พ่อกินปลา”

“แมวกินปลา”

 

     ซึ่งมีโครงสร้างภาษามือไทยดังนี้

 

 

                2. อกรรมกริยา   ตัวอย่างเช่น  “เดิน”   ซึ่งอาจรวมลักษณะการกระทำกริยาและ/หรือลักษณนาม

                    ของประธานด้วย  เช่น

                                                “(ฉัน)เดิน”  

“พ่อเดิน”  

“แมวเดิน”

 

     ในกรณีเช่นนี้โครงสร้างภาษามือไทยจะเป็นดังนี้

 

 

      โดยสรุปแล้วโครงสร้างวากยสัมพันธ์ของคำกริยาบ่งอาณาบริเวณในภาษามือไทยเป็นดังนี้