แผนการสอน Course Syllabus

ภาคต้น ปีการศึกษา 2549

 

1.     คณะ  วิทยาศาสตร์                                                       ภาควิชา  สัตววิทยา

 

2.     รหัสวิชา  423464                                                        ชื่อวิชา   วิทยาภูมิคุ้มกันเปรียบเทียบ

           จำนวน  3 (3-0)  หน่วยกิต                                                      Comparative Immunology

 

3.     เนื้อหารายวิชา (course description)

        ออนโตจีนีและกลไกของระบบภูมิคุ้มกัน ฟาโกไซโทซีส ไฟโลจินีของคอมพลีเมนต์ เปรียบเทียบระบบภูมิคุ้มกันในสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังและสัตว์มีกระดูกสันหลัง การประยุกต์ของวิทยาภูมิคุ้มกันเปรียบเทียบ

        Ontogeny and mechanism of immune system, phagocytosis, phylogeny of complement, comparison of the immune in invertebrates and vertebrates, application of comparative immunology.

 

4.     จุดประสงค์ของวิชา

4.1  เพื่อให้มีความรู้เกี่ยวกับองค์ประกอบ กลไกการตอบสนอง ตลอดจนโครงสร้างต่างๆ ของระบบภูมิคุ้มกันในร่างกาย

4.2  เพื่อให้ทราบถึงวิวัฒนาการของระบบภูมิคุ้มกันในสัตว์ชนิดต่างๆ และสามารถเปรียบเทียบระบบภูมิคุ้มกันในสัตว์ได้

4.3  เพื่อให้เข้าใจ วิเคราะห์ และสามารถนำวิทยาภูมิคุ้มกันไปใช้เพื่อการศึกษาทางสัตววิทยา และการทำวิจัยขั้นสูงต่อไป

4.4  เพื่อให้ตระหนักถึงความสำคัญของระบบภูมิคุ้มกันที่มีบทบาทสำคัญ และจำเป็นอย่างยิ่ง สำหรับสัตว์ทุกชนิดในการดำรงชีพได้อย่างปกติ

 

5.     หัวข้อรายวิชา (course outline)

        5.1  องค์ประกอบ กลไกการตอบสนอง โครงสร้างของระบบบภูมิคุ้มกัน (8 สัปดาห์)

                - บทนำ

                - การตอบสนองทางวิทยาภูมิคุ้มกัน (The immune response)

                                Nonspecific immune response/ The innate immune system

                                Specific immune response/ The adaptive immune sytem

                                                Humoral immune response

                                                Cell mediated immune response

                - แอนติเจน

                - อิมมูโนโกลบูลิน (Immunoglobulin)

                - การเกิดปฏิกิริยาระหว่างแอนติเจนและแอนติบอดี (Antigen-antibody reaction)

                - เซลล์ เนื้อเยื่อ และอวัยวะของระบบภูมิคุ้มกัน

                                Lymphocyte and the lymphoid organs

                                Accessory cells in the immune response

                - คอมพลีเมนต์ (Complement)

                - ภาวะผิดปกติของภูมิคุ้มกัน (Immunologic disorders)

Immune tolerance, Autoimmunity, Hypersensitivity, Transplantation immunity

                - วิวัฒนาการของระบบภูมิคุ้มกัน (Evolution of the immune system)

        5.2  ภูมิคุ้มกันเปรียบเทียบของสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังและสัตว์มีกระดูกสันหลัง (7 สัปดาห์)

                - ภูมิคุ้มกันในสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง ปลา สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก สัตว์ปีก และสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม

 

6.     วิธีการสอน และระบบการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง

        ได้แก่ การบรรยาย อภิปราย การศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง/กลุ่ม จากตำรา วารสาร เอกสารสิ่งพิมพ์ WWW ในอินเทอร์เน็ต (internet) และจากวีดีทัศน์ (video) การรายงานหน้าชั้น การเรียนการสอนแบบ web-base และการเรียนการสอนโดยใช้ระบบสนับสนุนการเรียนการสอนผ่านเว็บของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์หรือ M@xLearn (http://course.ku.ac.th)

 

7.     อุปกรณ์สื่อการสอน

        ได้แก่ เอกสารประกอบคำบรรยาย แผ่นใส/เครื่องฉายข้ามศีรษะ วีดีทัศน์ (เรื่อง The body fights disease และเรื่อง Immune response and immunity.) คอมพิวเตอร์เพื่อการสืบค้นข้อมูลผ่านระบบอินเทอร์เน็ต โฮมเพจ: http://pirun.ku.ac.th/~fscijws และ http://pirun.ku.ac.th/~fsciwcc และ M@xLearn (http://course.ku.ac.th)

 

8.     การวัดผลสัมฤทธิ์ในการเรียน

                                                                                                                                                จำนวนเปอร์เซ็นต์

        8.1 การมาเข้าเรียน และการเอาใจใส่ในการเรียน                                                                10

8.2 การศึกษาค้นคว้า/ รายงานหน้าชั้น                                                                                   40

        8.3 การสอบข้อเขียน:  การสอบกลางภาค (25%) และการสอบปลายภาค (25%)                       50

 

9.     การประเมินผลการเรียน

        9.1  จากคะแนนการสอบข้อเขียน โดยมีเกณฑ์การประเมิน

- ความสามารถอธิบาย ให้เหตุผล และยกตัวอย่างประกอบได้อย่างถูกต้อง

        9.2  การนำเสนองานค้นคว้าที่มอบหมายให้ 1 รายการโดยมีเกณฑ์การประเมิน

                - การรวบรวมข้อมูลและสังเคราะห์สารสนเทศอย่างถูกต้องเหมาะสม

                - การนำเสนอหน้าชั้นสำหรับงานค้นคว้าที่มอบหมายให้ ได้อย่างถูกต้อง เหมาะสม และมีความเชื่อมั่น

                - การใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสมในการนำเสนอฯ

                - การเขียนเอกสารประกอบการนำเสนอฯ ที่ชัดเจน ถูกต้อง และรูปแบบการนำเสนอที่เหมาะสม

        *กำหนดให้เกรดจากคะแนนรวมของการสอบและการประเมินงานค้นคว้าที่มอบหมายให้โดยใช้การอิงกลุ่มหรืออิงเกณฑ์แล้วแต่ความเหมาะสม

                        ตัวอย่างเกณฑ์ที่ใช้ในการตัดเกรด

                                ตั้งแต่       80    คะแนน ขึ้นไป       ดีเยี่ยม                             ได้เกรด           A     หรือ 4.0

                                        65-79       คะแนน                   ดี                                      ได้เกรด           B+   หรือ 3.5

                                        60-64       คะแนน                   ค่อนข้างดี                        ได้เกรด           B    หรือ 3.0

                                        55-59       คะแนน                   พอใช้                              ได้เกรด           C+  หรือ 2.5

                                        50-54       คะแนน                   ค่อนข้างพอใช้                        ได้เกรด           C    หรือ 2.0

                                ตำกว่า      50    คะแนน                   ต้องปรับปรุงอีกมาก        ได้เกรด           F     หรือ 0

 

10.  การให้โอกาสนอกเวลาเรียนแก่นิสิตเข้าพบและให้คำแนะนำในด้านการเรียน

                ตามเวลาที่ว่างจากงานสอนในตารางการสอนที่ติดไว้หน้าห้องทำงาน: ห้องชีว. 402A

โทรศัพท์: 0-2579-1022, 0-2942-8393 ต่อ 223            E-mail: fscijws@ku.ac.th

 

11.  เอกสารอ่านประกอบ

Anderson, D.P. Fish immunology. Sneiszko, S.F. and H.R. Axelrod (eds). Nepture, N.J. : T.F.H., 1974.  (SH171.A54 ห้องสมุดคณะประมง)

Cooper, E.L. Comparative immunology. Englewood Cliffs, N.J.: Prentice-Hall, 1976. (QR181. C73 หอสมุดกลาง มก.)

Cooper, E.L. General immunology. Oxford : Pergamon Press, 1982. (QR181.C6 หอสมุดกลาง มก.)

Day, M.J.  Clinical immunology of the dog and cat.  London : Manson Pub., 1999. (SF981.D39 1999 หอสมุดกลาง มก./ห้องสมุดคณะสัตวแพทย์ มก.)

Decker, J.A.  Introduction to immunology. Malden, Mass. : Blackwell Science, 2000. (QR181.D39 2000 ห้องสมุดคณะวิทยาศาสตร์)

Elgert, K.D. Immunology : understanding the immune system. New York : Wiley-Liss, 1996. (QR181.E54.1996 หอสมุดกลาง มก. & ห้องสมุดคณะวิทยาศาสตร์)

Goddeeris, F.M.L., and W.I. Morrison. Cell-mediated immunity in ruminants. Boca Raton, Fla: CRC Press, 1994. (SF757.2C44.1994 ห้องสมุดคณะวิทยาศาสตร์)

Goldsby, R.A. Kuby immunology, 4th ed. New York : W.H. Freeman, 2000. (QR181.K83 2000 หอสมุดกลาง มก. & ห้องสมุดคณะวิทยาศาสตร์)

Herbert W.J., and P.C. Wilkinson (eds). A dictionary of immunology, 2nd ed. Oxford : Black- well Scientific, 1997. (QR180.4.D5.1997 หอสมุดกลาง มก.)

Herbert W.J., P.C. Wilkinson and D.I. Stott (eds). The dictionary of immunology, 4th ed. Lon- don : Academic Press, 1995. (QR180.4D53.1995 ref : หอสมุดกลาง มก. & ห้องสมุดคณะวิทยาศาสตร์)

Hoffmann, J. A., C.A. Janeway and S. Natori (eds). Phylogenetic perspective in immunity : The insect host defense. Austin, Tex. : R. G. Landes, 1994. (QR182.P48.1994 ห้องสมุดคณะวิทยาศาสตร์)

Iwama, G. and T. Nakanishi (eds). The fish immune system : organism, pathogen, and environment. San Diego : Academic Press, 1996. (QL638.97.F57.1996 หอสมุดกลาง)

Male, D. Immunology : an illustrated outline, 2nd ed. London : Gower Medical, 1991. (QR182. 55M35.1991 หอสมุดกลาง มก.)

Metz, C.B. and A. Monroy (eds). Fertilization; comparative morphology biochemistry and immunology. New York : Academic Press, 967-. (QH485.M596 หอสมุดกลาง มก.)

Pathak, J.P.N. Insect immunity. Dordrecht : Kluwer Academic, 1993. (QL492.5.I48.1993 หอสมุดกลาง มก.)

Paul, W. (eds). Fundamental immunology. New York : Raven Press, 1989. (QR181.F84.1989 หอสมุดกลาง มก.)

Reeves, G., and I. Todd. Lecture notes on immunology, 3rd ed. Oxford : Blackwell Science, 1996. (QR181.R35.1996 หอสมุดกลาง มก.)

Roitt, I.M. (eds). Encyclopedia of immunology. London : Academic Press, 1992. (QR180.4E52.1991.v1) (QR180.4.E52.1991.v2) (QR180.4.E52.1991.v3)

Roitt, I.M. Essential immunology, 8th ed. Oxford : Blackwell Scientific, 1994. (QR181.R741.1994 หอสมุดกลาง มก.)

Roitt, I.M. Essential immunology, 9th ed. Oxford : Blackwell Scientific, 1997. (QR181.R57.1997 หอสมุดกลาง มก. & ห้องสมุดคณะวิทยาศาสตร์)

Roitt, I.M., Brostoff J. and Male D.K. Immunolgoy, 3rd ed. St. Louis : Mosby, 1993. (QR181.R58.1993 หอสมุดกลาง มก.)

Sharma, J.M. Avian cellular immunolgy. Boca Raton, Fla. : CRC Press, 1991. (SF995.A94.1991 หอสมุกลาง มก.)

Staines, N.A., J. Brostoff and K. James. Introducing immunology. St. Louis : Mosby, 1993. (QR181.S82.1993 หอสมุดกลาง มก.)

Stolen, J.S., D.P. Anderson and W.B. Muiswinkel. Fish immunology. Amsterdam : Elsevier, 1986. (QL639.1.F558.1986 หอสมุดกลาง มก.)

Tizard, I. Veterinary immunology : an introduction, 3rd ed. Philadelphia : Saunders, 1987. (SF757.2.T59.1987 หอสมุดกลาง มก.)

Tizard, I.R. Immunology : an introduction, 4th ed. Philadelphia : Saunders College, 1995. (QR181.T53.1995 หอสมุดกลาง มก.)

Toivanen, A., and Toivanen P. (eds). Avian immunology : basis and practice. Boca Raton, Fla. : CRC Press, 1987. (SF995.A95 1987 หอสมุดกลาง มก.)

Turner, R.J. Immunology : a comparative approach. Chichester : Wiley, 1994. (QR182.I473.1994 หอสมุดกลาง มก.)

Vetvicka, V., et al. Immunology of annelids. Boca Raton, Fla. : CRC Press, 1994. (QL391.A6.I54.1994 ห้องสมุดคณะวิทยาศาสตร์)

Weir, D.M. Immunology : an outline for students of medicine and biology, 4th ed. Edinburgh : ELBS and Churchill Livingstone, 1977. (QR181.W4.1977 หอสมุดกลาง มก.)

Wise, D.J.  Immunology : a comprehensive review.  Ames, Iowa : Iowa State University Press, 2002.  (กำลังจัดเลขหมู่เพื่อการยืม หอสมุดกลาง มก.)

คณะเวชศาสตร์เขตร้อน. มหาวิทยาลัยมหิดล.  จุลสารจุลชีวฯ ปาราสิต อิมมิวโน สัมพันธ์. คณะเวชศาสตร์เขตร้อน. มหาวิทยาลัยมหิดล กรุงเทพฯ, 2531.  (วารสารราย 2 เดือน)

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยวิทยา ภาควิชาจุลชีววิทยา หน่วยภูมิคุ้มกันวิทยา. ภูมิคุ้มกันเบื้องต้น  หน่วยภูมิคุ้มกันวิทยา ภาควิชาจุลชีววิทยา คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยกรุงเทพฯ, 2539.  (QR181 ว34. 2539 หอสมุดกลาง มก.)

ประพันธ์ ภานุภาค และคณะ. วิทยาภูมิคุ้มกัน. สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กรุงเทพฯ, 2527.  (SF757.2. ว34. 2527 หอสมุดกลาง มก.)

รสริน ว่องวิไลรัตน์. เอกสารประกอบการสอนวิชา ชีว 436 : อิมมูโนโลยีและเซอโรโลยี. ภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ พิษณุโลก, 2531. (QR181.18 หอสมุดกลาง มก.)

ฤทัย สกุลแรมรุ่งและคณะ. วิทยาภูมิคุ้มกัน. ภาควิชาจุลชีววิทยา คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย  กรุงเทพฯ, 2539. (SF757.2. ว34. 2539 หอสมุดกลาง มก.)

สมศักดิ์ โล่ห์เลขา, ชลีรัตน์ ดิเรกวัฒนาชัย, และมนตรี ตู้จินดา. อินมูโนวิทยาทางคลินิกและโรคภูมิแพ้.วิทยาลัยกุมารแพทย์แห่งประเทศไทย กรุงเทพฯ, 2534.  (RC582.อ.35. 2534 ห้องสมุดคณะสัตวแพทยศาสตร์-กำแพงแสน มก.)
สุทธิพันธ์ สาระสมบัติ และคณะ. อิมมูโนวิทยา. พีพีเอส ไซเอนซ์เทคนิคอล กรุงเทพฯ 2542.  (QR181.อ.36. 2542 ห้องสมุดคณะสัตวแพทยศาสตร์ มก.)

โสมทัต วงศ์สว่าง. วิทยาภูมิคุ้มกันทางสัตวแพทย์. ภาควิชาจุลชีววิทยา คณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กรุงเทพฯ, 2538. (SF757.2.86 หอสมุดกลาง มก.)

วิน เชยชมศรี. เอกสารคำสอนวิชา 423464: วิทยาภูมิคุ้มกันเปรียบเทียบ. ภาควิชาสัตววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กรุงเทพฯ, 2544.

 

12.  ตารางกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการเรียน

ตารางเรียนวิชา 423464 วิทยาภูมิคุ้มกันเปรียบเทียบ (Comparative Immunology)

ภาคต้น ปีการศึกษา 2549

วันอังคาร และวันพฤหัสบดี 14.30 – 16.00 น. ห้อง SCL 612 อาคารปฏิบัติการวิทยาศาสตร์พื้นฐาน คณะวิทยาศาสตร์

 

สัปดาห์ที่

วัน

เนื้อหา

 

กิจกรรมการเรียนการสอน

เดือน

อังคาร

พฤหัสฯ

1/ มิ.ย..

6

8

ปฐมนิเทศ

บทนำ

- ความหมาย ความสำคัญของ Immunology, Immunity และ Immune response

อภิปราย กำหนดเป้าหมายร่วมกัน

บรรยาย

2

-

15

การตอบสนองทางภูมิคุ้มกัน

แอนติเจน

บรรยาย อภิปราย มอบหมายงาน*

Internet: web-base

3

20*

-

แอนติบอดี/ อิมมูโนโกลบูลิน*

ปฏิกิริยาระหว่างแอนติเจนและแอนติบอดี

4

27

29

คอมพลีเมนต์*

5/ ก.ค.

4

6

ภาวะผิดปกติของภูมิคุ้มกัน

6.

-

13

วิวัฒนาการและออนโตจีนีของระบบภูมิคุ้มกัน,

Innate immunity และสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง

บรรยาย อภิปราย การบรรยายพิเศษ*

(*ดร.สุริยัน ธัญกิจจานุกิจ คณะประมง มก.)

7

18

20

8

25

-

9/ ส.ค.

 

 

การสอบกลางภาค

สอบข้อเขียน

10

8

10

ภูมิคุ้มกันในสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง

การนำเสนอหน้าชั้น การอภิปราย การบูรณาการความรู้ทางภูมิคุ้มกันวิทยา (คณะผู้สอน)

11

15

17

ภูมิคุ้มกันในปลา

12

22

24

ภูมิคุ้มกันในสัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก

13

29

31

ภูมิคุ้มกันในเลื้อยคลาน

14/ ก.ย.

5

7

ภูมิคุ้มกันในสัตว์ปีก

15

12

14

ภูมิคุ้มกันในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม

16

19

21

การเปรียบเทียบภูมิคุ้มกันในสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังและในสัตว์มีกระดูกสันหลัง และการประยุกต์ใช้

การบรรยาย และอภิปรายสรุป

 

การสอบปลายภาค

สอบข้อเขียน

 

13.  คณะผู้สอน

                ผศ. วิน  เชยชมศรี

                ดร.สุริยัน ธัญกิจจานุกิจ (อาจารย์พิเศษ)

ผศ. ดร. จินดาวรรณ  สิรันทวิเนติ* (ผู้ประสานงานรายวิชา)

 

 

 

                                                                                                ลงนาม..........................................................(ผู้รายงาน)

                                                                                                             (ผศ. ดร. จินดาวรรณ  สิรันทวิเนติ)

                                                                                                                        วันที่ 5 มิถุนายน 2549