สเมียร์อสุจิ (Spermatozoa smear)
ปัจจัยที่มีผลต่อการมีชีวิตของตัวอสุจิ
1 อุณหภูมิ
อุณหภูมิของน้ำเชื้อขณะทำการเก็บจะอยู่ระหว่าง 37-37.5 องศาเซลเซียส ถ้าหากว่าน้ำเชื้อได้รับ อุณหภูมิสูงมากกว่านี้ตัวอสุจิเพิ่มอัตราการเมตาบอลิสม (metabolic rate) ทำให้สูญเสียพลังงานที่สะสมไว้ ตัวอสุจิจะมีชีวิตสั้นลง ถ้าอุณหภูมิสูงเกินกว่า 45 องศาเซลเซียสจะทำให้ตัวอสุจิตาย
2 แสงสว่าง
ตัวอสุจิจะถูกทำลายถ้าหากได้รับแสงสว่างจากดวงอาทิตย์โดยตรง
3 น้ำ
ไม่ว่าจะเป็นบ่อน้ำ น้ำประปา น้ำฝน หรือน้ำกลั่นก็ตาม จะทำให้แรงดันออสโมติค (osmotic pressure) ของน้ำเชื้อ (seminal plasma) ลดลง
4 ความสกปรกและแบคทีเรีย
ความสกปรกและแบคทีเรียอาจปะปนมากับน้ำเชื้อ จะทำให้การมีชีวิตของตัวอสุจิสั้นลง และตายได้
5 โลหะ
อุปกรณ์ที่เป็นโลหะทุกชนิดจะเป็นอันตรายต่อตัวอสุจิ ควรจะใช้อุปกรณ์ที่เป็นเครื่องแก้วหรือพลาสติก
6 ยาฆ่าเชื้อ
ยาฆ่าเชื้อและผงซักฟอก จะเป็นพิษต่อตัวอสุจิ
7 ระยะเวลาในการเก็บน้ำเชื้อ
หลังจากรีดเก็บน้ำเชื้อแล้ว ถ้าทิ้งน้ำเชื้อไว้นานเกินไป ตัวอสุจิจะใช้ออกซิเจนในอากาศมาก ทำให้เพิ่ม
เมตาบอลิสมเกิดการสะสมกรดแลคติค (lactic acid) อย่างมาก ซึ่งจะทำให้ความเป็นกรด-ด่างของน้ำเชื้อต่ำลงกว่า 7 ทำให้ตัวอสุจิมีชีวิตสั้นลง
ก. การตรวจคุณภาพน้ำเชื้อด้วยตาเปล่า อาจทำดังรายการต่อไปนี้
1. ปริมาตร (volume)
2. สี (color)
3. ความเป็นกรดเป็นด่าง (pH)
4. ความเข้มข้นของน้ำเชื้อ (concentration)
ข. การตรวจคุณภาพน้ำเชื้อด้วยกล้องจุลทรรศน์
เป็นการตรวจให้ทราบถึงรายละเอียด ของคุณภาพน้ำเชื้อ โดยมีสิ่งต้องตรวจคุณภาพดังนี้
1. อสุจิที่เคลื่อนไหวได้หรือมีชีวิต (motility)
2. การนั[จำนวนตัวอสุจิ (sperm count)
3. ความผิดปกติของตัวเชื้ออสุจิ (abnormality)
4. ตัวเป็นตัวตายของเชื้ออสุจิ (live death sperm)
1.การตรวจหาอสุจิที่เคลื่อนไหวหรือมีชีวิต
วิธีการตรวจ
1. อุ่นสไลด์ให้ได้อุณหภูมิ 37 องศาเซลเซียส บนตะเกียงแอลกอฮอล์หรือเตาทำความร้อน
2. กวนหรือเอียงบีกเกอร์ หรือภาชนะที่ใส่น้ำเชื้อไปมา ถ้าตั้งทิ้งไว้นานเชื้อจะตกตะกอนอย่าเขย่าน้ำเชื้อเด็ดขาด
3. ใช้ปิเปตหรือดรอปเปอร์ดูดน้ำเชื้อขึ้นมา แล้วหยดน้ำเชื้อลงบนแผ่นสไลด์ที่อุ่นแล้ว 1 หยด แล้วนำไปส่องดูด้วยกล้องจุลทรรศน์ เมื่อต้องการดูการเคลื่อนไหวของอสุจิแบบเป็นกลุ่ม
4. แต่ถ้าต้องการตรวจการเคลื่อนไหวแบบรายตัว หลังจากหยดน้ำเชื้อลงบนแผ่นสไลด์แล้วค่อยๆ เอาคัพเวอร์กลาส ปิดทับหยดน้ำเชื้ออีกที แล้วดูด้วยกล้องจุลทรรศน์
ตัวเป็นและตัวตายของอสุจิสุกร
สีอีโอซีนเป็นสีที่ไม่สามารถถูกดูดซึมเข้าไปในตัวอสุจิที่มีชีวิตได้ แต่จะสามารถผ่านเข้าไปในตัวอสุจิที่ตายแล้วได้ ดังนั้นสีย้อมเพื่อดูตัวเป็นตัวตายทุกสูตรจึงต้องมีสีอีโอซีนเป็นส่วนผสม ส่วนสีอื่นๆ เช่น นิโกรซีน อะนาไลน์หรือโอปอลบลู และฟาสท์กรีนจะใช้เป็นสีพื้นเพื่อทำให้หัวของตัวอสุจิมองเห็นได้ชัดเจนยิ่งขึ้น สีนิโกรซีน นิยมใช้เป็นสีพื้นมากกว่าสีอื่นๆ
วิธีเตรียมสีย้อม
ขอยกตัวอย่างสีย้อมสูตรที่ ประกอบด้วยสีอีโอซีน 1 กรัม นิโกรซีน 5 กรัม โซเดียมซิเตรท 3 กรัม และน้ำกลั่น 100 มิลลิลิตร
1. ละลายสีอีโอซีน 1 กรัม และโซเดียมซิเตรท 3 กรัมในน้ำ 50 มิลลิลิตร
2. ละลายสีนิโกรซีน 5 กรัม ในน้ำร้อน 50 มิลลิลิตร พร้อมกับคนให้สีนิโกรซีนละลายจนหมด สีนิโกรซีนนี้ละลายยากในน้ำธรรมดาจึงต้องละลายในน้ำอุ่นหรือน้ำร้อน
3. นำสีอีโอซีน โซเดียมซิเตรท และสีนิโกรซีนที่ละลายเรียบร้อยแล้วมาเทรวมกัน แล้วคนส่วนผสมให้เข้ากัน
4. นำส่วนผสมที่ได้ไปกรองด้วยกระดาษกรอง อย่างน้อยที่สุด 1 ครั้ง เพื่อจะได้ส่วนผสมที่เป็นน้ำจริงๆ ถ้าหากยังมีเม็ดสีอยู่จะทำให้ภาพที่เห็นบนสไลด์ ภายหลังจากย้อมสีแล้วไม่ดี
กว่า 1 ปี
วิธีการย้อมสี
1. นำสีที่จะใช้ย้อมมาอุ่นที่อุณหภูมิ 34-35 องศาเซลเซียส
2. เตรียมสไลด์ที่ล้างและเช็ดให้สะอาดไว้ 2 แผ่น
3. ใช้ดรอปเปอร์ดูดส่วนผสมของสีย้อมที่อุ่นไว้แล้ว หยดลงในหลอดทดลองประมาณ 5-6 หยด
4. ใช้ดรอปเปอร์อีกอันหนึ่งดูดน้ำเชื้อที่ยังไม่ได้เจือจาง หรือที่รีดมาใหม่ๆ ใส่ลงไปในหลอดทดลองที่มีสีย้อมอยู่แล้ว จำนวน 1 หยด (หากน้ำเชื้อมีความเข้มข้นมาก)แต่ถ้าหากน้ำเชื้อมีความเข้มข้นน้อยหรือมีสีใสอาจจะใช้ 3-4 หยด จะทำให้มีตัวอสุจิมากขึ้น ข้อควรระวังในการหยดน้ำเชื้อลงบนสีย้อม คือจะต้องพยายามให้อุณหภูมิของสีย้อมเท่ากันกับอุณหภูมิของน้ำเชื้อเสมอ
5. เขย่าส่วนผสมให้เข้ากันดี อาจจะทิ้งไว้สัก 1 นาที นำมาใช้ย้อมเลยก็ได้
ห่างจากปลายข้างใดข้างหนึ่งประมาณ 25 มิลลิลิตร
แรก โดยให้ทำมุมประมาณ 30-40 องศา แล้วลากสไลด์อันที่ 2 ไปบนสไลด์อันที่ 1 จนได้ฟิลม์สีที่บางๆ
บนเตาไฟฟ้าอุณหภูมิประมาณ 55-60 องศาเซลเซียส เสร็จแล้วนำไปส่องดูด้วยกล้องจุลทรรศน์
ตรวจนับดูตัวอสุจิที่เป็นและตาย ถ้าหากว่าพบตัวอสุจิที่มีหัวติดสีแดง หรือแดงส้ม เมื่อย้อมด้วยสีนิโกรซีน-อีโอซีน ก็แสดงว่าเป็นตัวอสุจิที่ตาย ส่วนตัวอสุจิที่เป็น ส่วนหัวจะใสไม่ติดสี
รูปร่างและความผิดปกติของตัวอสุจิ
ตัวอสุจิที่ผิดปกติ อาจจะแบ่งความผิดปกติออกได้เป็น 3 อย่างคือ
1. ส่วนหัวผิดปกติ (abnormal heads) เช่น หัวใหญ่ผิดปกติ (giant head) หัวเล็กผิดปกติ (micro head) หัวแหลมเหมือนก้านไม้ขีดไฟ (tapering head) หัวคล้ายลูกแพร์หรือลูกชมพู่ (pyriform head) มี 2 หัว (double heads)
2. ส่วนหางผิดปกติ (abnormal tails) เช่น หางขยายใหญ่ (enlarged tail) หางหัก (broken tail) หางงอ (bent tail) หางเล็ก (filiform tail) มี 2 หาง (double tails) หางขดเป็นม้วน (coiled tail)
มีหยดน้ำที่ส่วนหาง (protoplasmic or cytoplasmic droplets
การศึกษารูปร่างและความผิดปกติของตัวเชื้ออสุจิจำเป็นจะต้องย้อมสี เพื่อที่จะสามารถแยกหรือดูตัวอสุจิที่ปกติ และผิดปกติออกจากกันได้ง่าย
สีย้อม
สีที่ใช้ย้อมเพื่อดูตัวผิดปกติของอสุจินั้น สามารถใช้สีเดียวกันกับการย้อมเพื่อดูกตัวเป็นตัวตายของอสุจิได้ เช่นสีอีโอซีน สีนิโกรซีน สีฟาสท์กรีน สีอนาไลน์ บลู นอกจากนี้ยังมีสีคาร์บอลฟุชชิน (carbol fuchin) เมทธีลีนบลู (methylene blue) หรืออะนาไลน์ เยนเทียน ไวโอเลท (analine gential violet)