บทนิยาม 1.1 ให้ m, n 0 เป็นจำนวนเต็ม n หาร m ลงตัวก็ต่อเมื่อ มี c Z ซึ่ง m = nc
เรียก n ว่า ตัวหาร (divisor) ตัวหนึ่งของ m ใช้ n|m แทน " n หาร m ลงตัว "
ทฤษฎีบท 1.2 สำหรับจำนวนเต็ม a, b, c ใด ๆ จะได้ว่า
1. ถ้า a 0 แล้ว  a|0 , a|a
2.  a|1 ก็ต่อเมื่อ a = 1 หรือ -1
3. ถ้า a |b และ c|d แล้ว ac | bd
4. ถ้า a|b และ b|c แล้ว a|c
5.  ถ้า a|b  แล้ว a|bc
6. ถ้า a|b  ก็ต่อเมื่อ  ac|bc    ทุก  c 0
7.    ถ้า a |b และ  b 0 แล้ว  |a| |b|
8.  ถ้า a | b และ a|c แล้ว a | (bx +cy)  ทุกจำนวนเต็ม x, y
ทฤษฎีบท 1.3 ขั้นตอนวิธีการหาร(Division Algorithm) ให้ m, n Z , n 0 จะมีจำนวนเต็ม q , r ชุดเดียว ซึ่ง m = nq + r โดย 0 r < | n | เรียก q ว่า ผลหาร (the quotient) และ r ว่า เศษ (the remainder)
บทนิยาม 1.4 ให้ a,b Z-{0} , d Z+ จะเป็น ตัวหารร่วมมาก ( ห.ร.ม.) ของ a, b ก็ต่อเมื่อ
1. d|a และ d|b และ
2. ถ้า c Z ซึ่ง c|a และ c|b แล้ว c|d
แทน ห.ร.ม. ที่เป็นบวกของ a,b ด้วย gcd(a,b)
บทนิยาม 1.5 ให้ a ,b Z-{0} จะกล่าวว่า a และ b เป็นจำนวนเฉพาะสัมพัทธ์(relatively prime) ก็ต่อเมื่อ gcd(a,b) = 1
ทฤษฎีบท 1.6 ให้ a,bฮ Z-{0} จะได้ว่า
gcd(a,b) = 1 ก็ต่อเมื่อ มีจำนวนเต็ม m,n ซึ่งทำให้ ma + nb = 1
ทฤษฎีบท 1.7 ถ้า d = gcd(m,n) และ m = Md, n = Nd จะได้ 1 = gcd(M,N)
บทนิยาม 1.8 จำนวนเต็ม p 0 จะเป็นจำนวนเฉพาะ ก็ต่อเมื่อ p 1 , p -1 และถ้า x Z ซึ่ง x | p แล้ว x { 1, -1, p, -p }
ทฤษฎีบท 1.9  m,n Z และ p เป็นจำนวนเฉพาะ ถ้า p|mn แล้ว p|m หรือ p|n
ทฤษฎีบท 1.10 ( หลักการมีตัวประกอบชุดเดียว) ทุกจำนวนเต็ม n > 1 จะสามารถแยกตัวประกอบเฉพาะ ดังต่อไปนี้ได้รูปเดียว n = p1c1p2c2p3c3...pkck
ซึ่ง p1<p2<p3<...<pk และทุกตัวเป็นจำนวนเฉพาะ
บทนิยาม 1.11 ให้ a , b Z-{0} , c Z+ จะเป็น ตัวคูณร่วมน้อย ( ค.ร.น.) ของ a, b ก็ต่อเมื่อ
1. a|c และ b|c และ
2. ถ้า d Z ซึ่ง a|d และ b|d แล้ว c|d แทน ค.ร.น. ที่เป็นบวกของ a, b ด้วย lcm[a,b]
ทฤษฎีบท 1.12  ถ้า d = gcd(m,n) และ c = lcm[m,n] แล้ว dc = mn