|
Sever-Client
- - - - - - - ->ระบบเครือข่ายที่นิยมใช้งานกันมากก็คือระบบเครือข่ายแบบ
server/client ลักษณะโดยทั่วไป เครื่องที่เป็น client จะทำการร้องขอข้อมูลจากเครื่องที่เป็น
server เครื่องที่เป็น server ก็จะตอบสนองต่อเครื่อง client
โดยการส่งข้อมูลหรืออาจจะเป็นคำสั่งกลับไปให้เครื่อง client
ดำเนินการ ระบบเครือข่ายแบบ server/client นี้จะสามารถที่จะขยายเครือข่ายออกไปได้อย่างไม่จำกัด
เพราะสามารถมี server และ client กี่ตัวก็ได้ขึ้นกับความเหมาะสม
ของการใช้งานในแต่ละองค์กรว่ามีความต้องการใช้งานของผู้ใช้อย่างไร |
|
NIC (Network
Interface Card) หรือบางคนอาจจะเรียกว่า "Card
Lan" ซึ่งเป็นอุปกรณ์ตัวสำคัญที่ใช้สำหรับเชื่อมต่อเครื่องคอมพิวเตอร์เข้าไปใน
ระบบเครือข่ายโดยผ่านทางสายนำสัญญาณ พอจะแบ่งตามลักษณะการติดตั้ง
คราวๆได้ 3 แบบ ซึ่งทั้ง 3 แบบมีลักษณะการใช้งานเหมือนกันคือใช้ในการติดต่อสื่อสารกันผ่านเครือข่าย |
|
1.External
Port Card Connection  |
การติดตั้งเข้ากับเครื่องคอมพิวเตอร์ทำได้ง่าย
เนื่องจากเป็นการเชื่อมต่อภายนอก ไม่ต้องแกะ "Case"
ออก เชื่อมต่อเข้ากับ พอร์ขนานของเครื่อง จึงมีชื่อเรียกอีกอย่างว่า
"Parallel Port Network Card" การรับ-ส่งข้อมูลยังช้าอยู่เมื่อเทียบกันกับ
Card ชนิดอื่น และ จำเป็นต้องใช้ Driver ด้วย ดังนั้นเมื่อเชื่อมต่อ
Card ชนิดนี้เข้าไปแล้วจะไม่สามารถใช้พอร์ขนานได้.
2.การ์ดที่เชื่อมต่อผ่าน
PCMCIA: เป็นการ์ดที่ส่วนใหญ่จะใช้กับ เครื่องคอมพิวเตอร์โน๊ตบุค
มีขนาดเล็กน้ำหนักเบา
3.Internal
Port Card Connection: ติดตั้งอยู่ตามเครื่องคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะทั่วไป |
|
มีการติดตั้งไว้ภายในคือเชื่อมต่อเข้ากับสล๊อตของเมนบอร์ด
เป็นที่นิยมใช้กันมาก เนื่องจากมันรองรับเทคโนโลยีเครือข่ายทุกประเภท
ส่วนการนำมาใช้งานนั้นก็ต้องพิจารณา จากความจำเป็น ระบบบัสของเครื่องที่สนับสนุน
ลักษณะของหัวเชื่อมกับสายนำสัญญาณ ความเร็วในการรับส่งข้อมูลเป็นต้น
สายนำสัญญาณ:คือสายที่ใช้เชื่อมต่อเครื่องคอมพิวเตอร์เข้ากับเครือข่าย
โดยผ่านอุปกรณ์เชื่อมต่อเครือข่ายอย่างเช่น NIC (Network Interface
Card) สายนำสัญญาณ ที่ใช้อยู่ทั่วไปแบ่งออกเป็น 3 ชนิด |
|
 |
1.สายโคแอกเชียน
: Coaxial Cable
ประกอบด้วยแกนที่เป็นทองแดงที่ถูกหุ้มด้วยฉนวน ภายนอกฉนวน
จะถูกหุ้มด้วยโละหะอีกชั้นหนึ่งเพื่อป้องกันสนามไฟฟ้ารบกวนจากภายนอก
สายนำสัญญาณชนิดนี้ จะรองรับความเร็วสูงสุดในการรับ-ส่งข้อมูลที่
10MBps (10 เมกกะบิตต่อวินาที) สายนำสัญาณแบบนี้จะใช้ Connector
เฉพาะในการเชื่อมต่อกับเครื่องคอมพิวเตอร์ และจุดต่างๆภายในเครือข่าย |
|

Connector |
2.สาย
Twisted Pair หรือ สาย TP
สายชนิดนี้จะถูกบิตให้ไขว้กันตามแนวยาวซึ่งจะสามารถช่วยลดปัญหาสัญญาณรบกวนจากภายนอกได้
สายนำสัญญาณแบบ TP ยังแบ่งได้อีก 2 ชนิด
2.1 Shield Twisted Pair (STP) : คือแบบที่มีชิลด์หุ้ม
2.2 Unshield Twisted Pair (UTP) : คือแบบที่ไม่มีชิลด์หุ้ม
ปัจจุบันนิยมใช้สายชนิดนี้กันมากสายนำสัญญาณ Twisted Pair
หรือสายตีคู่ไขว้นี้ยังแบ่งตามประเภทการใช้งานอีกดังนี้ |
|

UTP-Cat5 |
ประเภทของสาย
CAT 3
CAT 4
CAT 5 |
ลักษณะที่ใช้งาน
ใช้รับส่งข้อมูลอัตราเร็วไม่เกิน 10 MBps
ใช้รับส่งข้อมูลอัตราเร็วไม่เกิน 16 MBps
ใช้รับส่งข้อมูลอัตราเร็วไม่เกิน 100 MBps |
|
3.สายไฟเบอร์ออบติก
(Fiber Optic)
Fiber Optic: เป็นสายนำสัญญาณที่ใช้รูปแบบของแสงในการรับ-ส่งข้อมูล
ดังนั้นมันจึงจำเป็นต้องมีอุปกรณ์เสริมเข้ามาเพิ่มอีก 2 ตัว
คือ Transmitter หรือตัวถ่ายทอดสัญญาณ และ Receiver หรือ ตัวรับสัญญาณอุปกรณ์ทั้งสองตัวมีความจำเป็นอย่างยิ่ง
เพราะว่ามันจะทำหน้าที่เปลี่ยนแปลงระหว่างแสงให้เป็นสัญญาณที่เครื่องคอมพิวเตอร์รู้จัก
โครงสร้างภายในจะเป็นแก้วที่สามารถสะท้อนแสงไปตามแนวยาวได้สายไฟเบอร์ออปติกมีประสิทธิภาพ
ในการรับ-่งข้อมูลที่เร็วที่สุดเมื่อเทียบกับสายนำสํญญาณชนิดอื่น
ซึ่งสามารถรองรับความเร็ว ในการรับ-ส่งข้อมูลสูงกว่า 100MBps
|
|
 |
Hub
and Switch
Hub:คืออุปกรณ์ ตัวหนึ่งในระบบเครือข่าย (Network
System) ซึ่งจะทำหน้าที่นำสัญญาณที่ได้รับจากแต่ละพอร์ต มาทำการขยายขนาดสัญญาณ
พร้อมกับส่งต่อไปยังพอร์ตอื่นๆ ที่เหลือบนตัว Hub Hub โดยทั่วไปจะใช้งานร่วมกับสายนำสัญญาณ
UTP (Unshield Twished Pair) ซึ่งมีหัวเชื่อมต่อแบบ RJ-45 |
|
|
ข้อเด่นของ
Hub : จะมีพอร์ตรองรับสำหรับเชื่อมต่อจำนวนมาก นั่นหมายถึงมันสามารถเชื่อมต่อเข้ากับเครื่องคอมพิวเตอร์ได้
จำนวนหลายๆเครื่อง แต่มันก็มีข้อจำกัดอยู่คือ Hub จะมีความเสี่ยงต่อปัญหาการขัดข้องสูงเช่นถ้าเกิดปัญหาขึ้นกับ
Hub จะทำให้คอมพิวเตอร์ทั้งหมดที่เชื่อมต่อกับ Hub ไม่สามารถติดต่อสื่อสารกันได้
หรือ กรณีที่มีเครื่องหนึ่งเครื่องใดไม่สามารถ สื่อสารกับเครื่องอื่นได้ก็ยากแก่ที่จะการตรวจสอบจุดเชื่อมต่อ
นั่นเป็นเรื่องสืบเนื่องมาจากการที่ Hub รองรับเครื่องที่ใช้เชื่อมต่อ
จำนวนมากนั้นเอง นอกจากนี้แล้วการเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์จำนวนมากยังส่งผลกระทบโดยตรงกับปริมาณข้อมูลจำนวนมาก
ที่วิ่งอยู่บนสายนำสัญญาณ ส่งผลให้ความเร็วและประสิทธิภาพโดยรวมของการรับ-ส่งข้อมูลลดลง
Switch: คืออุปกรณ์ที่ทำหน้าที่ขยายสัญญาณเช่นเดียวกับ
Hub สิ่งที่ Switch แตกต่างจาก Hub ก็คือ Switch จะมีการแยก
Collision Domain ของพอร์ตเชื่อมต่อออกจากกัน Hub จะกระจายสัญญาณไปที่ทูกๆพอร์ตแต่
Switch นั้นจะเชื่อมต่อ คอมพิวเตอร์เครื่องหนึ่งเข้ากับพอร์ตๆหนึ่งเท่านั้น
โดยที่ Switch จะทำการบันทึก Address ของเครื่องเอาไว้ในการติดต่อกันในครั้งแรก
ในการกระจายสัญญาณครั้งต่อไป Switch จะรู้ทันทีว่าสัญญาณที่รับมานั้นเมื่อขยายสัญญาณแล้วจะกระจายไปยังพอร์ตใด
ซึงเป็นข้อเด่นของ Switch ที่ทำการรับ-ส่งข้อมูลได้เร็วกว่า
Hub
การแก้ไขปัญหาเครือข่ายเบื้องต้นบนวินโดร์ |
|
|
 |
ให้ตรวจสอบว่าสายนำสัญญาณที่ใช้เชื่อมต่อ
ยังมีสัญญาณหรือเปล่าโดยสังเกตจาก LED ที่ ตัว NIC (Network
Interface Card) หาก LED ไม่กระพริบแสดงว่าสายอาจจะ หลุดหรือหลวม
แต่ถ้าพบว่าสายนำสัญญาณ ไม่ได้ขัดข้องแต่ไม่สามารถติดต่อสื่อสารได้
ให้เข้าไปดูว่าเครื่องเจอตัว NIC หรือไม่โดย
1.ไปที่ Control Panel=>System
2.System=>Device Manager ตรวจสอบว่ามี Network Adapter หรือไม่
หากไม่มีต้องไป Add
3.ตรวจสอบ Driver ว่าถูกต้องหรือไม่
4.Cotrol Panel=>Network
5.Configuration=>TCP/IP Properties
6.ตรวจดู IP Address ของเครื่องว่ามีหรือไม่ สำหรับองค์กรที่แจก
IP Address แบบถาวรให้ กรณีที่ไม่ทราบว่าเครื่อง IP อะไรให้ติดต่อผู้ดูแลระบบ
|
|
|
|
|
|
|
7.Control Panel=>Network=>Identification
8.ระบุ Workgroup ให้ถูกต้อง ลำดับขั้นตอนทั้ง
8 ขั้นเป็นเป็นการตรวจและจัดการเกี่ยวกับการ Config เบื่องต้น
สำหรับ User ถ้าแก้ไขทำตามขั้นตอนทั้ง 8 แล้วเครื่องคอมพิวเตอร์ยังไม่สามารถ
ติดต่อสื่อสารถึงกันบน Workgroup เดียวกันได้ให้ติดต่อผู้ดูแลระบบ
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|