คำแนะนำในเขียนบทความวิชาการ
วรเศรษฐ สุวรรณิก
- บทความ
- ก่อนเขียนบทความ ให้รวบรวมไอเดียให้ได้เยอะๆก่อน แล้วค่อย
organize หรือ outline ไอเดียเหล่านั้น
- เขียนส่วนที่เขียนได้ก่อน ไม่ต้องเขียนเรียงตามลำดับ 1 2 3
- เขียนเวอร์ชันกำกับไว้ และเก็บทุกเวอร์ชันที่ผมได้แก้ไขไว้
- ตรวจสอบว่าฟอนต์ไทยและอังกฤษเป็นฟอนต์เดียวกัน
- ตรวจสอบว่าขนาดของฟอนต์ไทยและอังกฤษเหมาะสมกัน
- ฟอนต์ไทย เช่น Angsana ตัวภาษาอังกฤษและไทยควรใช้ขนาดไม่เท่ากัน
เช่น ตัวไทยขนาด 14 pt ตัวอังกฤษควรมีขนาด 15 pt
- ลองพิมพ์ กขค Abc
ดูขนาดของของภาษาไทยเทียบกับตัวพิมพ์ใหญ่และตัวพิมพ์เล็ก
- ตรวจสอบการสะกดก่อนส่งให้ผมตรวจ ผมไม่ใช่ spel checkor [sic]
- ส่งไฟล์ pdf
- เวลาส่งไปตีพิมพ์ก็ต้องส่งเป็น pdf
- เหตุผล
ของ
Stallman
- ย่อหน้า
- ใช้การกระจายแบบไทย
- ถ้าใช้ฟอนต์ขนาดเล็ก การส่งให้แก้ไข ให้ double space
เพื่อที่ผมจะได้เขียนความเห็นลงไปได้สะดวก
- ศึกษาวิธีการใช้ style หรือการจัดรูปแบบในโปรแกรม word processor
- ควรแก้ไขย่อหน้าที่สั้นหรือยาวเกินไป
- วิธีขยายความย่อหน้าที่มี < 4 บรรทัด
- What? คืออะไร?
- Why? ทำไม? ประโยชน์คือ?
- How? สร้างได้อย่างไร?
- Example? ยกตัวอย่าง
- กรณีที่เขียนไม่ออก ลองวางปากกา (หรือปิดคอมพิวเตอร์)
และพูดใส่เครื่อง MP3 แล้วถอดเทป (เอ๊ย! ถอด MP3)
- วิธีตรวจสอบว่าคนอื่นจะอ่านย่อหน้าที่เราเขียนรู้เรื่องหรือไม่
- ให้ลองอ่านและวาดภาพตาม ถ้าอ่านแล้วาดภาพไม่ได้
ก็แปลว่าคนอ่านก็ไม่น่าจะเข้าใจที่เราเขียน
- โทรหาเพื่อนและเล่าให้เขาฟัง (อัดเสียงลงเครื่อง MP3 ด้วย)
จบแล้วถามเขาว่าเข้าใจไหม
- ประโยค
- ถ้าตัดประโยคใดประโยคหนึ่งออกไปแล้วความหมายไม่เปลี่ยน
ให้ตัดประโยคนั้นออกไป
- มีประธาน กริยา กรรม
- ระวังการใช้สรรพนามบุรุษที่ 3
โดยที่ผู้อ่านไม่รู้ว่าคำนั้นอ้างถึงอะไร เช่น มันดีกว่า
- ภาษาไทย
- การเว้นวรรค อาจจะไม่ต้องรอให้จบประโยค หลักการง่ายๆคือ
วรรคเมื่อเราคิดว่าผู้อ่านจะหยุดหายใจ (ในกรณีที่อ่านออกเสียง)
- comma (ภาพจากหนังสือ The Bedford
Handbook for Writers)
- ด้านซ้ายของจุลภาคอยู่ติดกับคำ ด้านขวาอยู่ติดกับช่องว่าง เช่น
- ภาษาอังกฤษ
- เคาะ space สองครั้งหลังจาก full stop
- ห้ามลอกประโยคของคนอื่นโดยเด็ดขาด
- การลอก → ทุจริต → ผิด
- การลอก → ไม่ใช้สมอง → โง่
- ผมเห็นว่าการตรวจงานที่สร้างโดยการกด Ctrl+C และ Ctrl+V
เป็นเรื่องที่เสียเวลาอย่างยิ่ง
- สักวันหนึ่งคนที่คุณไปลอกเขามา อาจจะรู้ว่าคุณลอกงานของเขา
- ถามว่าการลอกประโยคของคนอื่นและตัดคำบางคำออกไป ถือว่าผิดไหม?
ก็ลองถามกลับว่าถ้าเราโดนอย่างนี้บ้างจะรู้สึกอย่างไร
และต้องใช้พลังสติปัญญาแค่ไหนในการลอกและตัด
- ควรให้ credit คนที่ทุ่มเทพลังสมองในการเขียน
(ลองเขียนบทความหรือหนังสือด้วยตนเอง แล้วจะทราบว่าต้องใช้พลังขนาดไหน)
- ถ้าต้องการนำประโยคของคนอื่นมาใช้
ให้ใส่ไว้ในเครื่องหมายคำพูด
พร้อมทั้งระบุชื่อเจ้าของประโยคด้วย
- คำ
- คำฟุ่มเฟือย ถ้าคำไหนตัดออกแล้วความหมายไม่เปลี่ยน
ให้ทำการตัดคำนั้นทิ้งไป
ทำการตัดคำว่า "ทำการ" ออกให้หมด
- สงสารคำทำการมานานแล้ว ดูไม่แคล้วทั่วไปในหนังสือ
มันถูกใช้ทุกอย่างไม่วางมือ แต่ละมื้อใช้ลำบากยากเต็มที่
ตำรวจเห็นโจรหาญทำการจับ โจรมันกลับทะยานทำการหนี
ทำการป่วยเป็นลมล้มพอดี ทำการซี้จนหมายว่าตายเอย
น.ม.ส .
- Firefox จะทำการแจ้งว่าได้ทำการติดตั้ง plugin เสร็จ
ให้ผู้ใช้ทำการคลิก Finish และทำการปิด Firefox ก่อน เพื่อให้ plugin
ถูกทำการเรียกขึ้นมาทำการทำงาน
(ผมทำการหวังว่าเมื่อผู้อ่านทำการอ่านแล้วอย่าทำการปวดหัวนะครับ)
- การบีบอัดแบบ JPEG
นั้นเป็นที่นิยมแพร่หลาย
- การวัดผลการทดลอง
จะวัดโดยใช้เวลาเป็นตัวเปรียบเทียบ
- การทดลอง
จะใช้โปรแกรม...
- ในบทความนี้
มีการเปรียบเทียบ
- คำเดียว แต่อยู่ต่างบรรทัด ให้ใช้เครื่องหมาย -
- เช่น ผมเป็นพนักงานมหา-
วิทยาลัยเกษตรศาสตร์
- ระวังคำที่ไม่เจาะจง เช่น ร้อนมาก หรือ ดีกว่าเดิม
ให้ระบุไปเลยว่าอุณหภูิิมิเท่าไร หรือ ดีขึ้นกี่ %
- อย่าใช้คำที่ไม่เป็นทางการ เช่น เท่าไหร่, เบอร์ทอสับ,
หรือนิดหน่อย
- คำภาษาอังกฤษ
- ถ้าไม่ใช่ชื่อเฉพาะ ให้ขึ้นต้นด้วยตัวพิมพ์เล็ก เช่น algorithm
(ยกเว้นกรณีที่เป็นคำแรกของประโยคหรือเป็นชื่อหัวข้อ)
- ถ้าเป็นคำที่ใช้บ่อยๆ ลองดูว่าราชบัณฑิตบัญญัติไว้หรือยัง
ถ้ามีก็ให้ใช้ที่เขาบัญญัติ
- ไม่ต้องวงเล็บคำภาษาอังกฤษทุกครั้ง เช่นในย่อหน้าต่อไปนี้
- คำค้น (keyword) หมายถึง.... คำค้น (keyword) ควรจะต้อง...
คำค้น (keyword) ที่ไม่ดีได้แก่... เรานิยมใช้คำค้น (keyword) ต่อไปนี้....
- คำที่มักจะสะกดผิด
- สูตรคณิตศาสตร์
- ตัวแปรใช้ตัวเอียง
- ตัวเลขไม่ต้องเอียง
- เครื่องหมายลบ ให้เลือกจากสัญลักษณ์
ไม่ใช่กดคีย์ที่อยู่ระหว่าง 0 และ =
- ถ้าใช้ MS Word ให้เลือกเมนู แทรก>สัญลักษณ์
- เครื่องหมายคูณและหาร ไม่ใช้ * และ / แต่ให้เลือกจากสัญลักษณ์
- รูปภาพ
- วาดเอง ห้ามก๊อป
- ชื่อรูปอยู่ใต้รูป
- ชื่อรูปไม่ต้องมีคำว่า แสดง
- อ้างถึงรูปในเนื้อความ ไม่ใช่เอารูปมาวางเฉยๆ แล้วไม่อธิบาย
- ลองพิมพ์ลงบนกระดาษ ถ้าไม่คมชัด ให้วาดใหม่
- กราฟ
- พื้นขาว
- ชื่อแกน
- หน่วย
- อธิบายกราฟ เลือกเฉพาะจุดที่สำคัญมาอธิบาย
- ตาราง
- หัวคอลัมน์
- ตัวอักษรอยู่กึ่งกลาง (อาจจะทำตัวหนา)
- มีหน่วยกำกับในวงเล็บ
- ชื่อตารางอยู่เหนือตาราง
- อย่าลืมอธิบายตาราง หยิบเฉพาะจุดที่สำคัญมาอธิบาย
- โค้ดจริงและ pseudo code
- indent คือเยื้องโค้ดให้เป็นระเบียบ เช่น if ตรงกับ end
if และโค้ดที่อยู่ระหว่างกลางให้เยื้องไปทางด้านขวา
- ใช้ฟอนท์ Courier
- if, for, while ใช้ตัวหนา
- เอกสารอ้างอิง
- อ้างถึงเอกสารอ้างอิงให้ครบทุกอัน
ไม่ใช่ว่าในส่วนเอกสารอ้างอิงมีรายชื่อบทความ 30 ฉบับ
แต่ในตัวรายงานเขียนแค่ 10 ฉบับ
- ให้ความสำคัญกับแหล่งอ้างอิง แหล่งที่ควรนำมาอ้างอิงได้แก่
textbook, journal, conference proceedings
- ตรวจสอบรูปแบบการเขียนเอกสารอ้างอิงให้ถูกต้องก่อนส่ง
- การแก้ไข
- เมื่อมีรายการแก้ไข ให้แก้ข้อผิดพลาดแบบเดียวกันทั้งบทความ
- สัญลักษณ์ที่ผมใช้
: สลับที่
- revise : ให้เรียบเรียงใหม่
:
ขึ้นย่อหน้าใหม่
- italic, bold, reg : เปลี่ยนฟอนท์เป็น เอียง, หนา, ปรกติ
- ? :
อ่านแล้วงง, ไม่เข้าใจ
- th, eng
: เปลี่ยนมาใช้คำในภาษาที่แนะนำ th คือใช้คำไทย, eng คือใช้คำอังกฤษ
- ref, [
]
: หา reference
- OK : ในกรณีที่ผมขีดฆ่า
แล้วเขียนคำว่า OK หมายถึงของเดิมโอเคอยู่แล้ว ไม่ต้องแก้ไข
- ex, ตย : ให้ยกตัวอย่าง
Last updated: Nov 2010