-
พระคาถาชินบัญชร
-
สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี)
-
เพื่อให้เกิดอานุภาพยิ่งขึ้น ก่อนเจริญภาวนาชินบัญชร ตั้งนะโม ๓ จบ แล้วระลึกถึง
และบูชาเจ้าประคุณสมเด็จด้วยถ้อยคำว่า
-
ปุตตะกาโมละเภปุตตัง ธะนะกาโมละ เภธนัง
-
อัตถิกาเยกายะญายะ เทวานังปิยะตังสุตตะวา
-
อิติปิ โส ภะคะวา ยะมะราชาโน ท้าวเวสสุวัณโณ
-
มรณังสุขัง อะระหังสุคะโต นะโมพุทธายะ
-
๑ ชะยานะนากะตา พุทธา เชตะวา มารัง สะวาหะนัง
จะตุสัจจาสะภัง ระสังเย ปิวังสุ นะราสะภา
-
๒ ตัณหัง กะราทะโย พุทธา อัฏฐะวีสะติ
นายะถา สัพเพ ปะติฏฐิตา มัยหัง มัตถะเก เต มุนิสสะรา
-
๓ สีเส ปะติฏฐิโต มัยหัง พุทโธ ธัมโม
ทะวิโลจะเน สังโฆ ปะติฏฐิโต มัยหัง อุเร สัพพะคณากะโร
-
๔ หะทะเย เม อะนุรุทโธสารีปุตโต จะ ทักขิเณ
โกณฑัญโญ ปิฏฐิภาคัสมิง โมคคัลลาโน จะ วามะเก
-
๕ ทักขิเณ สะวะเน มัยหัง อาสุง อานันทะราหุโล
กัสสะโป จะ มะหานาโม อุภาสุง วามะโสตเก
-
๖ เกสะโต ปิฏฐิภาคัสมิง สุริโย วะ ปะภังกะโร
นิสินโน สิริสัมปันโน โสภิโต มุนิปุงคะโว
-
๗ กุมาระกัสสะโป เถโร มะเหสี จิตตะวาทะโก
โส มัยหัง วาทะเนนิจจัง ปะติฏฐาสิ คุณากะโร
-
๘ ปุณโณ อังคุลิมาโล จะ อุปาลี นันทะสีวะลี
เถรา ปัญจะ อิเม ชาตา นะลาเต ติละกา มะมะ
-
๙ เสสาสีติ มะหาเถรา วิชิตา ชินะสาวะกา
เอเตสีติ มะหาเถรา ชิตะวันโต ชิโนระสา ชะลันตา สีละเต เชนะ อังคะมังเคสุ สัณฐิตา
-
๑๐ ระตานัง ปุระโต อาสิ ทักขิเณ เมตตะสุตตะกัง
ธะชัคคัง ปัจฉะโต อาสิ วาเม อังคุลิมาละกัง
-
๑๑ ขันธะโมระปะริตตัญจะ อาฏานาฏิยะสุตตะกัง
อากาเส ฉะทะนัง อาสิ เสสา ปาการะสัณฐิตา
-
๑๒ ชินา นานา วะระสังยุตตา สัตตัปปาการะลังกะตา
วาตะปิตตาทิสัญชาตา พาหิรัชฌิตตุปัททะวา
-
๑๓ อะเสสา วินะยัง ยันตุ อะนันตะชินะเตชะสา
วะสะโต เม สะกิจเจนะ สะทา สัมพุทธะปัญชะเร
-
๑๔ ชินะปัญชะระมัชฌิมหิ วิหะรันตัง มะฮี
ตะเล สะทา ปาเลนตุ มัง สัพเพ เต มะหาปุริสาสะภา
-
๑๕ อิจเจวะมันโต สุสุคะโต สุรักโข ชินานุภาเวนะ
ชิตูปัททะโว ธัมมานุภาเวนะ ชิตาริสังโฆ สังฆานุภาเวนะ ชิตันตะราโย สัทธัมมานุภาวะปาลิโต
จะรามิ ชินะปัญชะเรติ
-
-
คำแปล พระคาถาชินบัญชร
-
๑ พระพุทธเจ้าและพระนราสภาทั้งหลายผู้ประทับนั่งแล้วบนชัยบัลลังก์
ทรงพิชิตพระยามาราธิราชผู้พรั่งพร้อมด้วยเสนาราชพาหนะแล้ว เสวยอมตรส คืออริยะสัจธรรมทั้งสี่ประการ
เป็นผู้นำสรรพสัตว์ให้ข้ามพ้นจากกิเลสและกองทุกข์
-
๒ มี ๒๘ พระองค์ คือพระผู้ทรงพระนามว่า
ตัณหังกร เป็นอาทิ พระพุทธเจ้าผู้จอมมุนีทั้งหมดนั้น
-
๓ ข้าพระพุทธเจ้า ขออัญเชิญมาประดิษฐานเหนือเศียรเกล้า
องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าประดิษฐานอยู่บนศีรษะ พระธรรมอยู่ที่ดวงตาทั้งสอง
พระสงฆ์ผู้เป็นอากรบ่อเกิดแห่งสรรพคุณอยู่ที่อก
-
๔ พระอนุรุทธะอยู่ที่ใจ พระสารีบุตรอยู่เบื้องขวา
พระโมคคัลลาน์อยู่เบื้องซ้าย พระอัญญาโกณฑัญญะอยู่เบื้องหลัง
-
๕ พระอานนท์กับพระราหุลอยู่หูขวา พระกัสสะปะกับพระมหานามะอยู่ที่หูซ้าย
-
๖ มุนีผู้ประเสริฐ คือพระโสภิตะผู้สมบูรณ์ด้วยสิริ
ดังพระอาทิตย์ส่องแสงอยู่ที่ทุกเส้นขน ตลอดร่างทั้งข้างหน้าและข้างหลัง
-
๗ พระเถระกุมาระกัสสะปะผู้แสวงบุญทรงคุณอันวิเศษ
มีวาทะอันวิจิตรไพเราะอยู่ปากเป็นประจำ
-
๘ พระปุณณะ พระอังคุลิมาล พระอุบาลี
พระนันทะ และพระสีวะลี พระเถระทั้ง ๕ นี้ จงปรากฏเกิดเป็นกระแจะจุณเจิมที่หน้าผาก
-
๙ ส่วนพระอสีติมหาเถระที่เหลือ ผู้มีชัยและเป็นพระโอรสเป็นพระสาวกของพระพุทธเจ้าผู้ทรงชัย
แต่ละองค์ล้วนรุ่งเรืองไพโรจน์ด้วยเดชแห่งศีลให้ดำรงอยู่ทั่วอวัยวะน้อยใหญ่
-
๑๐ พระรัตนสูตรอยู่เบื้องหน้า พระเมตตาสูตรอยู่เบื้องขวา
พระอังคุลิมาลปริตรอยู่เบื้องซ้าย พระธชัคคะสูตรอยู่เบื้องหลัง
-
๑๑ พระขันธปริตร พระโมรปริตร และพระอาฎานาฏิยสูตร
เป็นเครื่องกางกั้นดุจหลังคาอยู่บนอากาศ
-
๑๒ อนึ่งพระชินพุทธเจ้าทั้งหลายนอกที่ได้กล่าวมาแล้วนี้ผู้ประกอบพร้อมด้วยกำลังนานาชาติมีศีลาทิธคุณอันมั่นคง
คือสัตตะปราการเป็นอาภรณ์มาตั้งล้อมเป็นกำแพงคุ้มครองเจ็ดชั้น
-
๑๓ ด้วยเดชานุภาพแห่งพระอนันตชินเจ้า
ไม่ว่าจะทำกิจการใด ๆ เมื่อข้าพระเจ้าเข้าอาศัยอยู่ในพระบัญชรแวดวงกรงล้อมแห่งพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
ขอโรคอุปัทวะทุกข์ทั้งภายนอกและภายในอันเกิดแต่โรคร้าย คือโรคลมและโรคดีเป็นต้น
เป็นสมุฏฐานจงกำจัดให้พินาศไปอย่าได้เหลือ
-
๑๔ ขอพระมหาบุรุษผู้ทรงพระคุณอันล้ำเลิศทั้งปวงนั้น
จงอภิบาลข้าพระพุทธเจ้า ผู้อยู่ในภาคพื้นท่ามกลางพระชินบัญชร ข้าพระพุทธเจ้าได้รับการคุ้มครองปกปักรักษาภายในเป็นอันดีฉะนั้นแล
-
๑๕ ข้าพระพุทธเจ้าได้รับการอภิบาลด้วยคุณานุภาพแห่งสัทธรรม
จึงชนะเสียได้ซึ่งอุปัทวอันตรายใด ๆ ด้วยอานุภาพแห่งพระชินพุทธเจ้า ชนะข้าศึกษศัตรูด้วยอานุภาพแห่งพระธรรม
ชนะอันตรายทั้งปวงด้วยอานุภาพแห่งพระสงฆ์ ขอข้าพระพุทธเจ้าจงได้ปฏิบัติและรักษาดำเนินไปโดยสวัสดีเป็นนิจนิรันดรเทอญฯ
-
-
อานิสงส์ชินบัญชร
-
พระคาถาชินบัญชรนี้ เป็นคาถาที่ศักดิ์สิทธิ์ยิ่งนัก ตกทอดมาจากลังกา เจ้าประคุณสมเด็จฯ
ค้นพบในคัมภีร์โบราณ ได้ดัดแปลงแก้ไขแต่งเติมให้ดีขึ้นเป็นเอกลักษณ์พิเศษ
ได้เนื้อถ้อยกระทงความสมบูรณ์ แปลออกมาแล้วมีแต่สิ่งสิริมงคลแก่ผู้สวดภาวนาทุกประการ
-
พระคาถานี้ เป็นการอัญเชิญพระพุทธานุภาพแห่งพระบรมศาสดา สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
และพระพุทธเจ้าที่ได้เคยตรัสรู้มาก่อนหน้านั้น จากนั้นเป็นการอัญเชิญพระอรหันต์ขีณาสพ
อันสำเร็จคุณธรรมวิเศษแต่ละองค์ไม่เหมือนกัน นอกนั้นยังอัญเชิญพระสูตรต่าง
ๆ อันโบราณจารย์เจ้าถือว่าเป็นพระพุทธมนต์อันวิเศษแต่ละสูตรมารวมกันสอดคล้องเป็นกำแพงแก้วคุ้มกันตั้งแต่กระหม่อมจอมขวัญของผู้ภาวนาพระคาถาลงมาจนล้อมรอบตัว
จนกระทั่งหาช่องโหว่ให้อันตรายสอดแทรกเข้ามามิได้
-
อานุภาพแห่งพระคาถาชินบัญชร
-
ผู้ใดได้สวดภาวนาพระคาถาชินบัญชร เป็นประจำอยู่สม่ำเสมอ จะทำให้เกิดความสิริมงคลสมบูรณ์พูนผล
ศัตรูหมู่พาลไม่กล้ำกราย ไปทางใดย่อมเกิดเมตตามหานิยม เกิดลาภผลพูลทวี ขจัดภัยจากภูติผีปีศาจ
ตลอดจนคุณไสยต่าง ๆ ทำน้ำมนต์รดแก้วิกลจริต แก้สรรพโรคภัยหายสิ้น เป็นสิริมงคลแก่ชีวิต
มีคุณานุภาพตามแต่จะปรารถนา ดังคำโบราณว่า ฝอยท่วมหลังช้าง จะเดินทางไปที่
-
ใด ๆ สวด ๑๐ จบ แล้วอธิษฐานจะสำเร็จสมดังใจ
-
-
