โครงการอบรม

การจัดเก็บข้อมูลและเขียนรายงานประกันคุณภาพอย่างมืออาชีพ (55/2)

ดาวน์โหลด  เอกสารโครงการ    กำหนดการ หลักสูตร 1 รุ่น 14  หลักสูตร 2 รุ่น 9,

ข้อมูลโครงการที่ผ่านมา

ใบสมัครออนไลน์   รายชื่อผู้เข้าอบรม

ดาวน์โหลดไฟล์อบรม       แผนที่เดินทาง 

ประเมินหลักสูตร 1 รุ่น 14 (ดูผล)  หลักสูตร 2 รุ่น 9 (ประเมิน, ดูผล )

หลักการและเหตุผล

                ส่วนสำคัญของระบบประกันคุณภาพการศึกษาคือข้อมูลผลการดำเนินงานตามพันธกิจ ถึงแม้ว่าบางสถาบันการศึกษาจะมีระบบสารสนเทศในการบริหารจัดการ (Enterprise Resource Planning) แต่การจัดทำข้อมูลเพื่อตอบสนองความต้องการของระบบประกันคุณภาพยังมีความจำเป็นในการเชื่อมโยงข้อมูลในระบบงาน และมีความจำเป็นในการเก็บข้อมูลเพิ่มเติม โปรแกรมเอ๊กเชลล์ยังเป็นเครื่องมือที่สำคัญในการจัดเก็บข้อมูลดิบ หรือช่วยในการเชื่อมโยงข้อมูลจากระบบงานต่างๆ และผู้มีส่วนรวมในการจัดเก็บข้อมูลคือบุคลากรของสถาบันนั่นเอง จากการเปิดอบรมหลักสูตรการจัดเก็บข้อมูลประกันคุณภาพด้วยเอ๊กเชลล์ที่ผ่านมา 13 รุ่น มีข้อมูลจากการประเมินผลการอบรมแสดงว่าสถาบันการศึกษายังมีความต้องการอย่างมากในการพัฒนาบุคคลากรให้สามารถใช้เครื่องมือโดยเฉพาะเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อเพิ่มสมรรถนะในการทำงานของบุคคลกร เพื่อให้สามารถใช้เครื่องมือในการลดระยะเวลาในการทำงาน และมีข้อมูลที่สามารถตอบสนองความต้องการของระบบประกันคุณภาพต่าง  แม้ตัวบ่งชี้ประกันคุณภาพภายใน (สกอ. ปี 2554) และตัวบ่งชี้ สมศ รอบ 3 จำนวนตัวบ่งชี้ลง แต่มีความต้องการรายละเอียดข้อมูลเชิงลึกมากขึ้น ส่งผลการจัดเตรียมข้อมูลเพื่อความพร้อมในการรับตรวจใช้เวลาเพิ่มมากขึ้น ถ้าระบบบริหารจัดการข้อมูลไม่ดี

                โครงการอบรมการจัดเก็บข้อมูลประกันคุณภาพอย่างมืออาชีพด้วยเอ๊กเชลล์ เป็นโครงการอบรมเพื่อพัฒนาศักยภาพบุคลากรที่ปฏิบัติงานในสถาบันการศึกษาให้มีความรู้ความสามารถในการใช้ไมโครซอฟต์ออฟฟิศอย่างมืออาชีพ และสามารถทำงานอย่างบูรณาการ เชื่อมโยงการออกแบบจัดเก็บข้อมูลดิบ การออกรายงานสำหรับผู้บริหาร มีข้อมูลพร้อมในการการจัดทำรายงานประจำปี รายการการประเมินตนเอง  และจัดเตรียมข้อมูลพร้อมโหลดเข้าสู่ฐานข้อมูล CHEQA แม้หน่วยงานที่มีฐานข้อมูลในการจัดเก็บข้อมูลประกันคุณภาพ ยังมีความต้องการในการพัฒนาบุคลากร ให้สามารถนำข้อมูลจากฐานข้อมูลมาจัดทำรายงานตามความต้องการข้อมูลที่พลวัต

วัตถุประสงค์

 1)  เพื่อให้ผู้เข้าอบรมนำความรู้ไปปรับปรุงกระบวนการทำงานในหน่วยงาน

  2)  เพื่อให้ผู้เข้าอบรมสามารถออกแบบจัดเก็บข้อมูลอย่างมืออาชีพ

 3)  เพื่อให้ผู้เข้าอบรมสามารถสามารถจัดเตรียมรายงานเพื่อติดตามความก้าวหน้า หรือ สามารถจัดทำรายงาน ก.พ.ร. ได้อย่างมีประสิทธิภาพ และ ลดขั้นตอนการทำงาน

 4)  เพื่อให้ผู้เข้าอบรมสามารถจัดเตรียมข้อมูลพื้นฐาน และ นำข้อมูลโหลดเข้าสู่ฐานข้อมูลของ CHEQa (สกอ.)

 5) เพื่อให้ผู้เข้าอบรมสามารถใช้คำสั่งของไมโครซอฟต์เวิร์ดในการจัดทำรายงานอย่างมีประสิทธิภาพ

 6) เพื่อให้ผู้เข้าอบรมสามารถจัดเตรียมแม่แบบรายงาน หรือ เอกสารบันทึกข้อความได้

 7)  เพื่อให้ผู้เข้าอบรมเรียนรู้เทคนิคในการจัดการแฟ้มขนาดใหญ่ได้

วิทยากรบรรยาย

                    รศ. ดร. ชุลีรัตน์ จรัสกุลชัย (อดีตผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายประกันคุณภาพ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ )

ประสบการณ์ ผู้ตรวจประเมินรางวัลคุณภาพแห่งชาติ ผู้ตรวจประเมินคุณภาพภายนอก สมศ. และ ผู้ตรวจประเมินคุณภาพการศึกษาภายใน สกอ.

เนื้อหา

หลักสูตร 1 การจัดเก็บข้อมูลประกันคุณภาพอย่างมืออาชีพด้วย Excel

วันแรก (9.00 : 16.00 น.)

วันที่สาม (9.00 : 16.00 น.)

o  ความรู้เบื้องต้นด้านประกันคุณภาพ  การพัฒนาตัวบ่งชี้

o  การออกแบบฟอร์มเพื่อจัดเก็บข้อมูลพื้นฐาน สำหรับงานประกันคุณภาพ และ ก.พ.ร.

o  การแปลงแบบฟอร์มเป็นตารางในเอ๊กเซลล์

o  การกำหนดรูปแบบประเภทข้อมูล (สำคัญมาก ถ้าทำไม่ถูกจะทำให้ใช้คำสั่งอื่นๆเอ๊กเชลล์ไม่ได้ผล)

o  การใช้คำสั่งพื้นฐานของเอ๊กเซลล์ การใช้คำสั่ง copy การสำเนาสูตรแบบต่าง

o  การออกรายงานประจำเดือนตามความต้องการ ก.พ.ร. หรือ สำหรับเป็นข้อมูลจัดทำรายงานประจำปี (การใช้สูตร sumifs, countifs, สูตรที่เกี่ยวกับวันที่)

o  การจัดทำข้อมูลพื้นฐาน (Common Data) จากข้อมูลดิบ เข่น จำนวนเงินวิจัยจำแนกตามทุนภายในภายนอก สรุปผลงานตีพิมพ์ตามเกณฑ์ สมศ. ใหม่

o  การจัดเตรียมไฟล์ประเมินคุณภาพตามตัวบ่งชี้ของ สกอ. และ สมศ. (ใช้คำสั่ง VLOOKUP, ROUND, MAX, IF )

o  เทคนิคการคัดกรองข้อมูล เพื่อคัดกรองข้อมูลตามปีงบประมาณ ปีการศึกษา หรือ คัดกรองตามเงื่อนไขที่ต้องการ

วันที่สอง (9.00 : 16.00 น.)

o  การใช้คำสั่ง if ในการจัดทำตารางประเมินคุณภาพตามรูปแบบ สกอ. และ สมศ.

o  การป้องกันแผ่นงาน การซ่อนแผ่นงาน

o  การใช้คำสั่ง sumif, countif ในการสรุปรายงานเบื้องต้น

o  การจัดทำต้นทุนโครงการ

o  การจัดรูปแบบข้อมูล

o  การจัดทำคำสั่งในการตรวจสอบข้อมูล

o  เทคนิคในการพิมพ์รายงาน

วันที่ 4  (9.00 : 16.00 น.)

o  เทคนิคการรวบรวมข้อมูลจาก Common Data ในบริบทที่แตกต่างกัน เช่น การทำงานแบบรวมศูนย์ การทำงานแบบกระจาย

o  การใช้คำสั่ง จัดรูปแบบข้อมูลตามเงื่อนไข (ใช้สัญลักษณ์สัญญาณไฟในการติดตามผลงาน) เพื่อจัดทำรายงานติดตามผลการดำเนินงาน

o  การเพิ่ม Add-in เพื่อช่วยจัดทำแผนภูมิลวดลาย

o  การใช้เครื่องมือในการจัดส่งเมล์ บีบอัดไฟล์ สำเนาไฟล์

หมายเหตุ : ผู้เข้าอบรมควรนำฟอร์มที่ใช้ในการเก็บข้อมูลจริงเข้าอบรมด้วย เพื่อที่จะได้ปรับแบบฟอร์มด้วยเทคนิคที่ได้อบรม ถ้าผู้เข้าอบรมไม่นำแบบฟอร์มมาด้วย ผู้เข้าอบรมจะใช้แบบฟอร์มที่โครงการจัดให้

หลักสูตรที่ 2 การจัดทำรายงานประจำปีและเขียนรายงานการประเมินตนเอง

วันที่ 1 (9.00 : 16.00 น.)

o  การจัดทำร่างรายงานประจำปี

o  การใช้คำสั่งเวิร์ดในการจัดรูปแบบของรายงาน

o  การกำหนดโครงหน้ากระดาษ ตกแต่งหัวกระดาษ

o  การตกแต่งรายงานด้วยภาพ

o  การแทรกข้อมูลจากตารางรูปแบบต่าง

วันที่ 2  (9.00 : 16.00 น.)

o  การจัดเตรียมแม่แบบ เช่น บันทึกข้อความ แม่แบบรายงาน

o  การจัดทำแบบประเมินจาก Google docs (ควรผ่านเรียนหลักสูตร 1)

o  การเชื่อมโยงข้อมูลจากเอ๊กเชลล์ (ข้อมูลที่จัดทำในหลักสูตร 1)

o  เทคนิคการจัดทำสารบัญภาพ ตาราง แบบอัตโนมัติ

o  เทคนิคการจัดทำสารบัญเรื่อง แบบอัตโนมัติ

o  การทำบรรณานุกรม และ การอ้างอิง แบบอัตโนมัติ

o  เทคนิคในการจัดทำรายงานขนาดใหญ่

วันที่ 3 (9.00 : 16.00 น.)

o  การเขียนรายงานการประเมินตนเองตามรูปแบบของ สกอ. และประยุกต์ตามเกณฑ์ TQA

o  การวิเคราะห์ผลลัพธ์โดยใช้เกณฑ์รางวัลคุณภาพแห่งชาติ หรือ เกณฑ์ PMQA

หมายเหตุ ควรจัดเตรียมอิเล็กทรอนิกส์ไฟล์ข้อมูลโครงสร้างองค์กร ภาพกิจกรรม เพื่อประกอบการฝึกอบรม ถ้าผู้เข้ารับการอบรมไม่จัดเตรียมข้อมูลจะใช้กรณีศึกษาที่จัดเตรียมไว้ให้

หลักสูตร 3 การจัดทำแบบประเมินออนไลน์ด้วย Google Docs

      ผู้อบรมหลักสูตรนี้ควรมีความรู้การใช้สูตรในเอ๊กเชลล์ ขั้นสูง หรือ ผ่านการอบรมหลักสูตร 1 มาแล้ว  และต้องการฝึกใช้ Google docs (สำหรับผู้ที่เคยอบรมกับโครงการมาก่อนปี 2009 แนะนำให้อบรมเพิ่ม)

        ดูตัวอย่างผลลัพธ์ของแบบประเมิน  สำหรับตัวอย่างแบบฟอร์มดูได้จากแบบลงทะเบียนออนไลน์

09.00 – 12.00 การใช้คำสั่ง Google Docs จัดทำแบบฟอร์มเพื่อจัดเก็บข้อมูลแบบออนไลน์ 

13.00 – 16.00 การใช้สูตร COUNTIF, TEXT, IF, & ในการจัดทำสถิติ เพื่อสรุปผลการประเมิน

รูปแบบการจัดอบรม

            เป็นการฝึกอบรมแบบปฏิบัติงานจริง และ ฝึกการปฏิบัติด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์คนละหนึ่งเครื่อง

กำหนดการ  (รายชื่อผู้มีสิทธิอบรม)

หลักสูตร 1 เทคนิคการจัดเก็บข้อมูล (6,000 บาท)

 

หลักสูตร 2 เทคนิคการเขียนรายงาน (4,500 บาท)

รุ่น 14

26 -29 มีนาคม 2556

ชำระเงินภายในวันที่ 1 มี.ค. 56

รุ่น 9

14 -16 พฤษภาคม 2556

ชำระเงินภายในวันที่ 1 พ.ค. 56

รุ่น 15

23-26 เมษายน 2556

ชำระเงินภายในวันที่ 10 เม.ย 56

หลักสูตร 3 การจัดทำแบบประเมินออนไลน์ด้วย Google Docs (1,800 บาท)

    รุ่นที่ 1 วันที่ 25 มี.ค. 56 (ยกเลิก เพราะจำนวนผู้ลงทะเบียนน้อยกว่ากำหนด),  รุ่นที่ 2 วันที่ 22 เม.ย. 56 (ยกเลิก), และ รุ่นที่ 3 วันที่ 17 พ.ค. 56

     หลักสูตร 3  จะมีการอบรมใน หลักสูตร 1 และ หลักสูตร 2 แต่สอนสูตรไม่ครบทุกอย่าง (ด้วยข้อจำกัดของเวลา)

สถานที่อบรม ห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ 310 ชั้น 3 อาคาร ทวี ญาณสุคนธ์ คณะวิทยาศาสตร์ วิทยาเขตบางเขน กทม.

แผนที่สถานที่อบรม

กลุ่มเป้าหมาย

     บุคคลทั่วไปที่มีประสบการณ์ในการใช้โปรแกรม Excel, Word พื้นฐาน และปฏิบัติงานในแต่ละภารกิจของสถาบันการศึกษาและต้องจัดส่งข้อมูลสรุปให้กับงานประกันคุณภาพ แลผู้ที่ปฏิบัติงานด้านประกันคุณภาพโดยตรง

      จำนวน 30 คน ต่อรุ่น/หลักสูตร

คุณสมบัติผู้เข้าอบรม

                 ควรมีความรู้พื้นฐานในการใช้โปรแกรม Excel, Word  และเป็นปฏิบัติงานตามพันธกิจหลักของสถาบันการศึกษา

ค่าธรรมเนียมการอบรม

                 หลักสูตร 1  เทคนิคการจัดเก็บข้อมูล ค่าธรรมเนียม 6,000 บาท

                 หลักสูตร 2 เทคนิคการเขียนรายงาน ค่าธรรมเนียม 4,500 บาท

              หลักสูตร 3 การจัดทำแบบประเมินออนไลน์ด้วย Google Docs

รายละเอียดค่าธรรมเนียมประกอบด้วย ค่าวิทยากรหลัก วิทยากรช่วย ค่าใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ คนละหนึ่งเครื่อง (หลักสูตร 2 และ หลักสูตร 3 รวมค่าอินเตอร์เน็ต) อาหารว่าง อาหารกลางวัน (คุณภาพปานกลาง) เอกสารอบรม

 วิธีการชำระเงิน

     ผู้ต้องการสำรองที่นั่งต้องชำระเงิน 500 ภายใน 5 วันทำการหลังการสำรอง และขำระส่วนเหลือภายในระยะเวลาที่กำหนด (เงินสำรองไม่มีการคืนไม่ว่ากรณีใดๆ)

ชำระโดยการโอนเข้าบัญชีชื่อ “ภาควิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ คณะวิทยาศาสตร์” ประเภทบัญชี ออมทรัพย์ ธนาคาร ทหารไทย จำกัด มหาชน  ) สาขา มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เลขที่บัญชี 069-2-28426-8 พร้อมทั้งส่งหลักฐานการโอนเงิน ทางโทรสารหมายเลข 0-2942-8488)

สำหรับหน่วยงานมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ โอนเงินเข้าบัญชีเลขที่ 406 ภาควิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ ) คณะวิทยาศาสตร์ สำเนา เอกสารการโอนเงินจากหน่วยงานของท่านไปยังกองคลังให้ภาควิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ 1 ชุด)

การยกเลิก

     สามารถขอยกเลิกการอบรมโดยได้รับเงินคืนร้อยละ 80 เมื่อแจ้งการขอยกเลิกก่อนสองสัปดาห์

สถานที่พัก : ผู้เข้าอบรมสามารถติดต่อจองห้องพักภายในมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ได้ ดังนี้

                KU HOME 02-579-0010-15

หอพักศูนย์ฝึกอบรม วนศาสตร์ชุมชนแห่งภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก 02-940-5700 Fax. 02-561-4880 (อยู่ตรงข้ามภาควิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์)

คณะวนศาสตร์ 02-942-8110 ต่อ 702 , 02-942-8111 กด 1 มือถือ 089-243-2161 (อยู่ตรงข้างภาควิชาฯ แต่เดินไกลกว่าหอพักศูนย์ฝึกอบรม)

 ติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม ลลิตา หอมตะโก โทร.  02-562-5444, 02 562-5555 ต่อ 4331 เวลา 9.00 - 16.00 น. มือถือ 086-544-6778

ส่งสำเนาการโอนเงินได้ที่ ทางเมล์ที่ fscilth@ku.ac.th  

 

hit counter html code
hit counter javascript