คำกริยาทั่วไป คือ คำกริยาที่ไม่เกิดร่วมกับคำนาม ไม่มีหน่วยคำแสดงบุรุษ พจน์ หรือจุดหมายรวม อยู่ด้วย แต่อาจเกิดร่วมกับการณ์ลักษณะได้ (Padden, 1990 :119)
   
  คำกริยาทั่วไปในภาษามือไทยมักจะเป็นเป็นกริยาแสดงสภาพ อาการ และ/ หรืออารมณ์ความรู้สึก ท่ามือของกริยานี้เป็นท่ามือเดี่ยวแยกจากคำนามที่เป็นประธานและกรรม

ตัวอย่างเช่น

“พ่อรักแม่”

“ฉันคิด”

   
  คำกริยาทั่วไปในภาษามือไทยมี 2 ชนิด คือ
   
  1. สกรรมกริยา คือ คำกริยาที่มีกรรม เช่น “ชอบ” “รัก
   
  1.1 ในกรณีที่ประธานและกรรมเป็นบุคคล เช่น “พ่อรักแม่” มีโครงสร้างภาษามือไทยดังนี้
   
 
   
  หรือ
   
 
   
 

1.2 ในกรณีที่ประธานเป็นบุคคล และกรรมเป็นสิ่งมีชีวิตที่ไม่ใช่บุคคลหรือสิ่งของ

  ตัวอย่างเช่น

แม่ชอบแตงโม

“ยายชอบแมว”

   
  จะมีโครงสร้างภาษามือไทยดังนี้
   
 
   
  2. อกรรมกริยา คือ คำกริยาที่ไม่มีกรรม เช่น “คิด” “เข้าใจ” “หิว” “อ้วน”
  ตัวอย่างเช่น

“เขาหิว”

“เขาอ้วน”

 

มีโครงสร้างภาษามือไทยดังนี้

   
 
   
  ทั้งนี้ท่ามือกริยาอาจมีการณ์ลักษณะร่วมด้วย เช่น “กำลังคิด” และอาจมีลักษณนามของประธานเกิดร่วมด้วย
   
  ในภาพรวมโครงสร้างภาษามือไทยของคำกริยาทั่วไปดังนี้