การถ่ายทอดเทคโนโลยี
English present in brief เทคนิคการใช้เครื่องฆ่าเชื้อชนิดน้ำร้อน การทดสอบผู้บริโภค
ความแข็งแรงของถุง pouch ลำดับการผลิตอาหารฮาลาล สาธิตวิธีการผลิต 6 มิถุนายน 2549
 
ผลของความร้อนในหม้อฆ่าเชื้อต่อความแข็งแรงของบรรจุภัณฑ์อ่อนตัวชนิดถุงตั้งได้
.... Effect of Thermal Processing on the Strength of Standing Retortable Pouch

อนุกูล วัฒนสุข (fagiakw@ku.ac.th)
และ ทวิพัฒน์ วิจิตรปัญญารักษ์ (tawipatku@yahoo.com)
คณะอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

บทนำ
โรงงานอาหารกระป๋องของประเทศไทย นิยมใช้ถุงอ่อนตัวทน ความร้อนและความดันสูงมาใช้ทดแทนการทำอาหารบรรจุกระป๋อง
ความแข็งแรงของถุงเป็นสิ่งที่โรงงานผลิตอาหารต้อง การทราบ
ความร้อนสูงระดับนี้อาจมีผลต่อค่าความแข็งแรงของ รอยผนึกได้
งานวิจัยนี้จึงได้ศึกษาความแข็งแรงของถุงทนความร้อน และความดันสูงนี้ใน 3 ประเด็น

การหาค่าความแข็งแรงของวัสดุที่ใช้ทำถุงโดยหาได้จากการใช้แรงดึงแผ่นวัสดุจนขาด (Tensile Strength)
การหาค่าความแข็งแรงของรอยผนึก หาได้จากการใช้แรงดึงให้รอยผนึกฉีกแยกออกจากกัน (Seal Strength)
การทดสอบหาความสามารถต้าน แรงกดทับ ใช้วิธีกดทับถุงอาหารด้วยโลหะแผ่นเรียบ (Compressive Burst Test)

อุปกรณ์และวิธีการ

วัสดุและอุปกรณ์

บรรจุภัณฑ์อ่อนตัวทนความร้อนสูงชนิดถุงตั้งได้ กว้าง 130 มม. x สูง 200 มม. x ก้นหนา 35 มม.
PolyesterAluminium FoilBiaxially Oriented NylonCast Polypropylene
ของ บริษัท TPN FlexPak จำกัด

  • หม้อฆ่าเชื้อชนิดใช้น้ำร้อนพ่นเป็นละออง (Hot water spay retort)
  • เครื่องวัดอุณหภูมิพร้อมสายวัดอุณหภูมิภายในถุง Presica 2002
  • เครื่องวัดค่าแรงดึงแผ่นฟิล์ม Testo metric Micro 350
  • เครื่องวัดค่าแรงดันกดทับถุง The Mullen Tester, USA.
  • เครื่องซีลปิดผนึกปากถุงพลาสติก รุ่น RP-BS.2/P (แนวตั้ง)

วิธีการ

นำถุงตัวอย่างบรรจุน้ำ 200 กรัม

ปิดผนึก

ให้ความร้อนด้วยหม้อฆ่าเชื้อที่อุณหภูมิน้ำร้อน ที่อุณหภูมิ 116 ํซ 30 นาที ค่า F0 10.1 นาที, ที่อุณหภูมิ 121 ํซ 21 นาที ค่า Fo 12.5 นาที, อุณหภูมิ 125 ํซ,18 นาที , ค่า F0 17.0 นาที

วิธีการ (ต่อ)

  • นำถุงทั้งก่อนและหลังผ่านความร้อนในหม้อฆ่าเชื้อมาหา
  • ค่าความแข็งแรงของวัสดุ (Tensile strength)
  • ค่าความแข็งแรงของรอยผนึก (Seal strength)
  • หาความสามารถต้านแรงกดทับถุง (Compression Burst Test)
ผลการทดลองและวิจารณ์
 

การหาค่าความแข็งแรงของวัสดุที่ใช้ทำถุง

รายละเอียด
ค่าการต้านแรงดึง (Tensile Strength) kgf/15 mm.
ก่อนเข้าหม้อ
นึ่งความร้อน
หลังเข้าหม้อนึ่ง
ความร้อน 116 ํC
หลังเข้าหม้อนึ่ง
ความร้อน 121 ํC
หลังเข้าหม้อนึ่ง
ความร้อน 125 ํC
ขอบถุงด้านซ้าย
21.57
21.27 20.70
20.24
ขอบถุงด้านขวา 22.81 21.74 21.70 20.83
ก้นถุง 22.96 22.29 21.70 20.49
เฉลี่ย 22.45a 21.77ab 21.37b 20.52c

หมายเหตุ a,b,c ตัวเลขที่มีตัวอักษรกำกับต่างกันในแนวนอนแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับความเชื่อมั่นร้อยละ 95
.

ตารางที่ 2 ค่าความแข็งแรงของแผ่นวัสดุใช้ทำถุงชนิดถุงโปร่งแสง

รายละเอียด
ค่าการต้านแรงดึง (Tensile Strength) kgf/15 mm.
ก่อนเข้าหม้อ
นึ่งความร้อน
หลังเข้าหม้อนึ่ง
ความร้อน 116 ํC
หลังเข้าหม้อนึ่ง
ความร้อน 121 ํC
หลังเข้าหม้อนึ่ง
ความร้อน 125 ํC
ด้านข้างที่ 1 16.36
15.43
14.65
14.49
ด้านข้างที่ 2 16.23 15.70 15.41 14.13
ก้นถุง 18.39 16.45 15.91 14.99
เฉลี่ย 16.99a 15.86b 15.32b 14.54c

หมายเหตุ a,b,c ตัวเลขที่มีตัวอักษรกำกับต่างกันในแนวนอนแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับความเชื่อมั่นร้อยละ 95
.

เห็นได้ว่าความร้อนที่ระดับอุณหภูมิสูงขึ้นทำให้ความแข็งแรงของวัสดุที่ใช้ทำถุงมีค่าลดลง แต่ลดลงไม่มากนัก
นอกจากนี้ยังพบว่า ความแข็งแรงของวัสดุที่ใช้ทำถุงทึบแสงมีค่ามากกว่าถุงชนิดโปร่งแสง

การหาค่าความแข็งแรงของรอยผนึก
 

ตารางที่ 3 ค่าความแข็งแรงของรอยผนึกของถุงทึบแสง

รายละเอียด
ค่าการต้านแรงดึง (Tensile Strength) kgf/15 mm.
ก่อนเข้าหม้อ
นึ่งความร้อน
หลังเข้าหม้อนึ่ง
ความร้อน 116 ํC
หลังเข้าหม้อนึ่ง
ความร้อน 121 ํC
หลังเข้าหม้อนึ่ง
ความร้อน 125 ํC
ด้านข้างที่ 1 11.82a
9.31b
9.01b
8.56b
ด้านข้างที่ 2 11.54a 8.82b 8.40b 8.10b
ก้นถุง 11.65a 9.44b 8.71b 8.26c
ปากถุง 9.54a 8.55b 8.17b 8.07b

หมายเหตุ a,b,c ตัวเลขที่มีตัวอักษรกำกับต่างกันในแนวนอนแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับความเชื่อมั่นร้อยละ 95
.

ตารางที่ 4 ค่าความแข็งแรงของรอยผนึกของถุงโปร่งแสง

รายละเอียด
ค่าการต้านแรงดึง (Tensile Strength) kgf/15 mm.
ก่อนเข้าหม้อ
นึ่งความร้อน
หลังเข้าหม้อนึ่ง
ความร้อน 116 ํC
หลังเข้าหม้อนึ่ง
ความร้อน 121 ํC
หลังเข้าหม้อนึ่ง
ความร้อน 125 ํC
ด้านข้างที่ 1 7.21a
7.32a
9.08a
6.99a
5.16b
5.28b
6.88b
5.44b
5.14b
5.00b
6.48b
5.66b
4.85b
4.96b
5.54c
5.38b
ด้านข้างที่ 2        
ก้นถุง        
ปากถุง        

หมายเหตุ a,b,c ตัวเลขที่มีตัวอักษรกำกับต่างกันในแนวนอนแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับความเชื่อมั่นร้อยละ 95
.

ความร้อนทุกระดับอุณหภูมิมีผลทำให้ค่าความแข็งแรงของรอยผนึกลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติพบว่าค่าความแข็งแรง ของรอยผนึกปากถุง ซึ่งใช้เครื่องปิดผนึกของผู้วิจัย มีค่าต่ำกว่ารอยปิดผนึกที่ทำมาจากโรงงานผู้ผลิตถุง แต่หลังผ่านความร้อน ในหม้อฆ่าเชื้อแล้ว ค่าความแข็งแรงของรอยปิดผนึกทุกด้านของถุงมีค่าลดลงและมีค่าใกล้เคียงกัน เห็นได้ว่าความแข็งแรง ของรอยผนึกถุงทึบแสงมีค่าสูงกว่าถุงโปร่งแสง

การหาค่าความสามารถต้านแรงกดทับ
 

ตารางที่ 5 ค่าแรงกดทับที่ทำให้ถุงชนิดทึบแสงแตกเสียหาย

ค่าความสามารถต้านแรงกดทับ (Compressive Burst Test) kgf/cm2
ก่อนเข้าหม้อนึ่งความร้อน
หลังเข้าหม้อนึ่งความร้อน 116 ํC
หลังเข้าหม้อนึ่งความร้อน 121 ํC
หลังเข้าหม้อนึ่งความร้อน 125 ํC
13.73a 12.40b 11.93b 11.20c

หมายเหตุ a,b,c ตัวเลขที่มีตัวอักษรกำกับต่างกันในแนวนอนแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับความเชื่อมั่นร้อยละ 95
.

ตารางที่ 6 ค่าแรงกดทับที่ทำให้ถุงชนิดโปร่งแสงแตกเสียหาย

ค่าความสามารถต้านแรงกดทับ (Compressive Burst Test) kgf/cm2
ก่อนเข้าหม้อนึ่งความร้อน
หลังเข้าหม้อนึ่งความร้อน 116 ํC
หลังเข้าหม้อนึ่งความร้อน 121 ํC
หลังเข้าหม้อนึ่งความร้อน 125 ํC
12.40a 11.07b 10.87bc 10.40c

หมายเหตุ a,b,c ตัวเลขที่มีตัวอักษรกำกับต่างกันในแนวนอนแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับความเชื่อมั่นร้อยละ 95
.

จากผลการทดลองเห็นได้ว่าความร้อนมีผลทำให้ค่าความสามารถต้านแรงกดทับของถุงทั้งสองชนิดมีค่าลดลง
โดยการเพิ่มอุณหภูมิในหม้อฆ่าเชื้อทำให้ค่าความสามารถต้านแรงกดทับของถุงลดลง

สรุป

การให้ความร้อนที่ระดับอุณหภูมิแตกต่างกันระหว่าง 116 – 125 ํซ มีผลต่อความแข็งแรงของวัสดุที่ใช้ในถุงแต่ไม่มากนัก แต่มีผลต่อค่าความแข็งแรงของรอยผนึกถุงมาก โดยค่าความร้อนที่ระดับอุณหภูมิสูง ทำให้รอยผนึกมีความแข็งแรงลดลงและ รอยปิดผนึกปากถุงที่ทำในห้องทดลองมีค่าความแข็งแรงต่ำกว่ารอยปิดผนึกที่ทำมาจากโรงงานผู้ผลิตถุง

สรุป (ต่อ)

การใช้ความร้อนที่ระดับอุณหภูมิสูงมีผลทำให้ค่าความสามารถต้านแรงกดทับลดลง มากกว่าการใช้ความร้อนที่ระดับอุณหภูมิต่ำ อย่างไรก็ตามสามารถใช้ความร้อนที่ระดับอุณหภูมิ 125 ํซ กับถุงทนความร้อนและความดันสูงชนิดนี้ได้ โดยไม่ทำให้ถุงชำรุดเสียหาย

สรุป (ต่อ)

ความร้อนทำให้น้ำในถุงเปลี่ยนสถานะเป็นไอ เช่นที่อุณหภูมิ 250 ํฟ ไอน้ำจะมีความดัน 1.05 kgf / cm2 (gage pressure) โดยปกติกำหนดให้ใช้ความดันในหม้อฆ่าเชื้อมีค่าสูงกว่าความดันที่น้ำเดือด 1 – 2 kgf / cm2 เพื่อปรับสมดุลความดัน ภายในถุงอาหาร ไม่ให้ความดันภายในจนถุงสูงกว่าภายนอกมิเช่นนั้นถุงจะแตกชำรุดเสียหาย ในการทดลองครั้งนี้ใช้ความดัน 2.5 kgf / cm2 (gage pressure) ไปกดทับถุงและเป็นค่าที่ต่ำกว่าค่าความสามารถต้านแรงกดทับ (Compressive Burst Strength ) ของถุงมาก จึงเชื่อได้ว่าถุงจะสามารถใช้งานได้ในหม้อนึ่งฆ่าเชื้อประเภทนี้ได้อย่างปลอดภัย