Pref_th
note_th

 

ภาษามือไทย (ThSL) มีวิธีภาษาที่ใช้กันอยู่ในกลุ่มคนหูหนวก*ต่างๆ ทั้งในกรุงเทพฯ และจังหวัดต่างๆ ทั่วประเทศ ThSL ที่สอนโดยคนที่ได้ยินปกติในโรงเรียนส่วนใหญ่ ได้รับอิทธิพลจาก ภาษาไทยมาตรฐาน ภาษามือไทย ที่ใช้สื่อสารระหว่างคนหูหนวกต่างๆ และคนที่ได้ยินปกติ ยังมีความหลากหลายอยู่มาก


ในชีวิตประจำวัน ความสับสน และการสื่อสารไม่ตรงกับความหมาย เป็นเหตุการณ์ปกติที่เกิดขึ้นระหว่างคนหูหนวก ที่ใช้ภาษามือเป็นภาษาแม่และคนที่ได้ยินปกติที่ใช้ภาษามือไทย เป็นภาษาที่สอง

พจนานุกรมสารสนเทศภาษามือไทยนี้ เป็นโครงการวิจัยที่ได้รับการสนับสนุนจากสถาบันวิจัย และพัฒนามหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นเครื่องมือเทคโนโลยีช่วย (Assistive Technology) (AT) ซึ่งเป็นผลที่ได้จากการวิเคราะห์ภาษามือไทยในแนวภาษาศาสตร์และจากความร่วมมือของผู้ใช้ภาษามือไทยเป็นภาษาแม่ พจนานุกรมฉบับนี้ในฐานะสื่อสารสนเทศจะช่วยเสริมให้เกิดความเข้าใจในการสื่อสารระหว่างผู้ใช้ภาษามือไทยเป็นภาษาแม่ ผู้ใช้ภาษามือไทยเป็นภาษาที่สอง และผู้พูดภาษาไทยปกติ

 

_________________________

*"คนหูหนวก"ในพจนานุกรมสารสนเทศภาษามือไทยนี้ หมายถึงผู้ที่บกพร่องทางการได้ยิน (คนหูหนวก และคนหูตึง) ที่ใช้ภาษามือเป็นภาษาแม่
่หรือ ภาษาที่สอง