MENU
แนะนำรายวิชา
วิธีการเรียน
กิจกรรมการเรียน
ทรัพยากรการเรียน
แบบฝึกหัด
คณะผู้สอน
ติดต่อผู้สอน
   
SITE
 
บทที่6 กระบวนการทำงานอย่างมีประสิทธิภาพและมีความสุข
 
    งานที่ต้องปฏิบัติ
     
   
    หลังจากที่ศึกษาเนื้อหาจบทั้ง 3 ตอนแล้วให้ผู้เรียนปฏิบัติงานดังนี้
     
    1.เขียนบันทึกลงในสมุดบันทึกส่วนบุคคล โดยให้เขียนในเชิงสรุปย่อเนื้อหาที่ได้รับ
จากการศึกษา ความคิดหรือความรู้สึกที่เกิดขึ้นจากความรู้ที่ได้รับ ข้อคิดเห็นเกี่ยวกับเนื้อหา และข้อคิดเห็นเกี่ยวกับวิธีการสอน โดยเขียนสั้นๆแต่ให้ได้ใจความ
    (ให้เขียนลงในสมุดบันทึกส่วนบุคคลที่จัดไว้ให้)
     
    2. ให้นิสิตเข้ากลุ่มที่จัดไว้แล้วร่วมกันสรุปแนวคิดและทฤษฎีเกี่ยวกับการสื่อสาร
ในการทำงาน มนุษยสัมพันธ์ในการทำงาน การแก้ไขข้อขัดแย้งในการทำงานและ
จรรยาบรรณในการทำงาน โดยใช้ข้อมูลของแต่ละคนที่ได้สรุปมาแล้วหรือใช้ข้อมูล
จากแหล่งอื่นๆรวมถึงประสบการณ์ส่วนตัว โดยร่วมกันสรุปให้เป็นแนวคิดของกลุ่ม
    (ให้นิสิตนัดเวลาเพื่ออภิปรายกันในห้องสนทนาหรือเวบบอร์ดของกลุ่มก็ได้ตามสะดวก)
     
    3. งานชิ้นนี้จะให้นิสิตได้ลองศึกษาสถานการณ์สมมุติที่ผู้สอนกำหนดให้ โดยให้ผู้เรียน
แต่ละคนลองสวมบทบาทเป็นบุคคลในสถานการณ์ที่กำหนดให้ในที่ทำงาน โดยที่ทุกคน
ต้องทำงานร่วมกัน ซึ่งบุคลิกของแต่ละคนจะสามารถทำให้เกิดปัญหาในการทำงาน
ร่วมกันได้ เมื่อสวมบทบาทตามบุคลิกดังกล่าวลองดูว่าจะเกิดปัญหาอะไรขึ้น และร่วมกัน
แก้ปัญหาหรือหาทางออกได้อย่างไร
     
    สถานการณ์ที่กำหนดให้
    ในสถานการณ์นี้จะประกอบด้วยบุคคล 5 คนคือ
   
   
  1. สมศักดิ์ เป็นคนเจ้าอารมณ์ฉุนเฉียว ชอบเอาแต่ใจตนเองเป็นหลัก
  2. สมชาย เป็นคนที่ไม่มีความคิดเป็นของตนเอง ใครว่าอย่างไรก็มักจะคล้อยตาม
    ไปเสียทุกเรื่อง
  3. สมรักษ์ เป็นคนที่จบการศึกษาจากต่างประเทศ มีความมั่นใจในตัวเองสูง
    มักยึดถือความคิดเห็นของตนเป็นหลัก
  4. สมพงษ์ เป็นคนชอบก่อกวน ชอบพูดจายุแหย่ให้คนเข้าใจผิดกัน
  5. สมภพ เป็นคนปรานีปรานอม และชอบแก้ไขปัญหาข้อขัดแย้งที่เกิดขึ้นในที่ทำงาน
     
       ให้นิสิตเลือกสวมบทบาทเป็นบุคคล 5 คนนี้ ตามความสมัครใจของตนเองและกลุ่ม
จากนั้นสมมุติว่ากลุ่มอยู่ในบริษัทแห่งหนึ่งและกำลังอยู่ในสถานการณ์การประชุมเกี่ยวกับ
การหาทางแก้ไขปัญหาเรื่อง ความล้มเหลวในการทำงานร่วมกันของพนักงาน
ซึ่งที่ประชุมจะต้องหาทางแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นให้ได้ โดยในการแก้ปัญหานี้นิสิต
สามารถอ้างอิงแนวคิดแนวคิด ทฤษฎีและประสบการณ์ส่วนตัวประกอบได้ เช่น
ประสบการณ์จากการที่ได้เคยทำงานกลุ่มกับเพื่อนๆหรือเคยฝึกงานในหน่วยงานอื่น
โดยให้กลุ่มตั้งบุคคลใดบุคคลหนึ่งเป็นประธานในที่ประชุมตามความคิดเห็นของกลุ่ม
จากนั้นให้ดำเนินการประชุมผ่านทางห้องสนทนาที่กำหนดไว้ให้
        นิสิตควรนัดเวลาที่เหมาะสมในการทำกิจกรรมกลุ่มเพื่อให้สมาชิกทุกคน
ในกลุ่มสามารถทำกิจกรรมพร้อมกันได้
     
 

 
บทนำ Iบทที่ 1 I บทที่ 2 I บทที่ 3 I บทที่ 4 I บทที่ 5 I บทที่ 6 I บทสรุป
กลับไปหน้าแรก I แนะนำรายวิชา I วิธีการเรียน I กิจกรรมการเรียน I แบบฝึกหัด I ติดต่อผู้สอน