เค้าโครงเนื้อหา  

  [..กลับไปหน้าหลัก..]

  4.1 การใส่รูปภา
4.2 คุณสมบัติการนำเสนอรูปภาพ

 

 
บทเรียน

หน่วยการเรียนที่ 1
ความรู้พื้นฐานทาง HTML

หน่วยการเรียนที่ 2
การจัดรูปแบบตัวอักษร

หน่วยการเรียนที่ 3
การจัดรูปแบบเอกสาร
หน่วยการเรียนที่ 4
การใส่รูปภาพ
หน่วยการเรียนที่ 5
การกำหนดพื้นหลัง
หน่วยการเรียนที่ 6
การเชื่อมโยงข้อมูล

หน่วยการเรียนที่ 7
การสร้างตาราง

หน่วยการเรียนที่ 8
การ Upload ข้อมูล

 

 
หน้าที่ 0/2
  next
 

การใส่รูปภาพ (IMAGES)

การใส่ภาพภายในเว็บเพจ เป็นส่วนดึงดูดของเว็บให้ดูดีมีสาระมากขึ้น เพิ่มความสวยงาม ดึงดูดความสนใจให้กับผู้ที่ผ่านที่เข้าชม เข้าศึกษา นอกจากจะช่วยให้ผู้ชมได้เห็นภาพจริงไม่ต้องจินตนาการแล้ว ยังมีส่วนช่วยให้เกิดความตื่นตาตื่นใจได้มากกว่าหน้าเว็บเพจที่มีแต่ข้อความล้วน ภาพที่ดีเพียงหนึ่งภาพสามารถแทนคำพูดได้มากกว่าพันคำ

       ภาพที่นำมาใช้ในการนำเสนอผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ด้วยเอกสาร HTML นั้นจะต้องเป็นภาพที่มีขนาดเล็กเพื่อให้สามารถแสดงผลได้เร็ว ที่นิยมใช้อยู่ 3 รูปแบบ คือ

  • ไฟล์ GIF (CompuServe Graphics Interchange Format) มีนามสกุล .gif เป็นไฟล์ชนิด บิตแมบ 8 บิตสี เก็บค่าสีสูงสุดได้ 256 สี เป็นไฟล์แบบบีบย่อขนาด ใช้แสดงผลพวกภาพ การ์ตูน หรือกราฟิกที่มีสีสันไม่มาก และภาพชนิดเคลื่อนไหวที่มีความละเอียดไม่มากนัก

It great!
  • ไฟล์ JPEG หรือ JPG (Joint Photographic Experts Group) มีนามสกุล .jpg เป็นไฟล์ที่ พัฒนาเพื่อใช้งานกับภาพที่มีสีสันสดใสและความละเอียดสูงมาก สามารถเก็บภาพได้ 24 บิตสี แสดงสีได้ถึง 16.7 ล้านสี เป็นไฟล์ที่ผ่านกระบวนการบีบอัดข้อมูลในอัตรา 10:1 ใน การแสดงผลในเว็บเพจ ไฟล์ *.jpg จะแสดงผลช้ากว่าไฟล์ *.gif ในขนาดไฟล์ที่เท่ากัน ดังนั้นจึงนิยมใช้ไฟล์ *.jpg ในภาพขนาดใหญ่ ถ้าเป็นภาพขนาดเล็กจะใช้ไฟล์ชนิด *.gif มากกว่า
  • ไฟล์ PNG (Portable Network Graphic) เป็นไฟล์ที่พัฒนาขึ้นมาโดยนำเอาคุณสมบัติที่ดีเด่นของไฟล์ GIF และ JPG มารวมกัน กล่าวคือสนับสนุนจำนวนบิตสีได้ถึง 24 บิต เหมือนกับภาพแบบ JPG ในขณะที่การบีบอัดไฟล์ใช้การทำงานแบบ GIF การแสดงผลในแบบ Interlace และยังสามารถทำภาพโปร่งใสได

 

หน้าที่ 0/2
 next

กลับไปหน้าแรก I แนะนำรายวิชา I วิธีการเรียน I เนื้อหาบทเรียน I แบบฝึกหัด I ติดต่อผู้สอน