เค้าโครงเนื้อหา  

  [..กลับไปหน้าหลัก..]

  6.1 การเชื่อมโยงข้อมูลไปยังแฟ้มเอกสารอื่น
6.2 การเชื่อมโยงข้อมูลไปยังเว็บไซต์
6.3 การเชื่อมโยงข้อมูลแบบอีเมลล์
6.4 การใช้รูปภาพเป็นจุดเชื่อมโยง
 
บทเรียน

หน่วยการเรียนที่ 1
ความรู้พื้นฐานทาง HTML

หน่วยการเรียนที่ 2
การจัดรูปแบบตัวอักษร

หน่วยการเรียนที่ 3
การจัดรูปแบบเอกสาร
หน่วยการเรียนที่ 4
การใส่รูปภาพ
หน่วยการเรียนที่ 5
การกำหนดพื้นหลัง
หน่วยการเรียนที่ 6
การเชื่อมโยงข้อมูล

หน่วยการเรียนที่ 7
การสร้างตาราง

หน่วยการเรียนที่ 8
การ Upload ข้อมูล

 

 
หน้าที่ 0/4
 next
 

การเชื่อมโยงข้อมูล (link)

จากการที่อินเทอร์เน็ตได้รับความนิยมอย่างกว้างขวางอยู่ทั่วโลกนั่น เป็นผลมาจากความสามารถในการเชื่อมโยงข้อมูล (link) จากข้อมูลหนึ่งไปยังอีกข้อมูลหนึ่งได้อย่างรวดเร็ว โดยสามารถเชื่อมโยงข้อความได้ทั้งจากภายในแฟ้มเอกสารข้อมูลของภายใน และแฟ้มเอกสารข้อมูลภายนอก

ข้อความที่ใช้เป็นตัวเชื่อมโยงข้อมูลนั้น จะมีตัวอักษรเป็นสีน้ำเงิน (หรือสีอื่นตามแต่ที่ผู้สร้างกำหนดขึ้นมา) เมื่อเลื่อนเมาส์ไปชี้ที่ข้อความซึ่งมีการเชื่อมโยง รูปแบบของตัวชี้จะเปลี่ยนจาก สัญลักษณ์ลูกศรไปเป็นรูปมือแทน

ประเภทของการเชื่อมโยง ใน HTML แบ่งการเชื่อมโยงออกเป็น 2 ประเภท ดังนี้

  • การเชื่อมโยงภายในเว็บไซต์

  • การเชื่อมโยงนอกเว็บไซต์
     

ตำแหน่งสำหรับคลิกเพื่อทำการเชื่อมโยงข้อมูล จะเรียกว่าจุดเชื่อมโยง หรือจุด Link ซึ่งใช้ได้ทั้งตัวอักษร ข้อความ หรือรูปภาพ

คำสั่งที่ใช้เชื่อมโยงข้อมูล คือ

    <a href=" ชื่อไฟล์ หรือ URL" >ข้อความหรือรูปภาพที่จุด Link</a>

       Attribute ที่ใช้ร่วมกับการสร้าง Link ซึ่งจะต้องนำมาวางต่อจากคำสั่งสร้าง link และใช้คำสั่ง target= คุณสมบัติด้านล่าง เช่น

     <a href=" ชื่อไฟล์" target=_blank>ข้อความหรือรูปภาพที่จุด Link</a>

    _blank   = เปิดหน้าเอกสารใหม่โดยที่หน้าเดิมยังคงอยู่
    _self      = เปิดหน้าใหม่โดยที่หน้าเดิมเปลี่ยนไปบางส่วน หากว่าใช้กับ เฟรม
    _parent = เปิดหน้าใหม่โดยที่หน้าเดิมเปลี่ยนไป
    _top      = เปิด file ที่หน้าเดิมโดยจะไปด้านบนสุดของหน้าเว็บเพจ

 

หมายเหตุ ใน tag คำสั่ง ไม่ต้องใส่ เครื่องหมาย  "...." ก็ได้

หน้าที่ 0/5
 next

กลับไปหน้าแรก I แนะนำรายวิชา I วิธีการเรียน I เนื้อหาบทเรียน I แบบฝึกหัด I ติดต่อผู้สอน