Heritage and Tourism Studio/Lab.

ทุ่งบัวแดงหน้าร้อน ท่องเที่ยวชุมชนบ้านคลองทราย-คลองจิก อยุธยา

📣บรรยากาศทุ่งบัวแดงยามหน้าร้อน เมษายน 2565 ณ แหล่งท่องเที่ยวชุมชนโอทอปนวัตวิถีบ้านคลองทราย-คลองจิก อยุธยา

พื้นที่บ้านคลองทราย คลองจิก มีสภาพเป็นพื้นที่ลุ่มต่ำรองรับน้ำในฤดูน้ำหลากในฝั่งอยุธยาตะวันออกผ่านคลองน้ำบัวหลวงที่ตั้งชื่อตาม “บัวหลวง” ที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติในคลองคลองน้ำบัวหลวงนี้ไหลผ่านชุมชนและพื้นที่เกษตรกรรมเหมาะสมกับการทำการเกษตร ทำให้พื้นที่ลุ่มรับน้ำแห่งนี้ยังเต็มไปด้วยทุ่งนาสลับกับที่พักอาศัยกระจายตัวตามริมคลองอยู่ แม้ว่าในระดับมหาภาคพื้นที่โดยรอบจะเปลี่ยนเป็นพื้นที่นิคมอุตสาหกรรมไปเกือบหมดแล้ว

สภาพทุ่งนาริมคลองน้ำบัวหลวงจะกลายเป็นทุ่งบัวแดงบานสะพรั่งเต็มที่ตั้งแต่ปลายเดือนตุลาคมจนถึงต้นเดือนธันวาคมของทุกปี ในอดีตบัวที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติเหล่านี้ต้องโดนกำจัดทิ้งเพื่อทำการเกษตรอย่างอื่น จากวัชพืชของท้องทุ่งกลายเป็นจุดหมายปลายทางในการท่องเที่ยวโดยเริ่มตั้งแต่ปี พ.ศ. 2561 ผ่านโครงการท่องเที่ยวชุมชนโอทอปนวัตวิถี โดยการนำทรัพยากรที่มีอยู่มาปรับใช้ในสภาวะสังคมร่วมสมัย

ในหน้าร้อนแม้จะไม่มีบัวแดงให้เห็นนัก แต่สภาพทุ่งนาที่เป็นภูมิทัศน์วัฒนธรรมที่สำคัญของจังหวัดพระนครศรีอยุธยาก็ยังงดงามเสมอ สะท้อนความเป็นอยู่ของสภาพแวดล้อมสรรค์สร้างตามฤดูกาล แสดงให้เห็นถึงความหลากหลายของวิถีชุมชนแบบร่วมสมัยที่ผสมผสานนำทรัพยาการที่มีอยู่มาปรับใช้ในยุคปัจจุบัน

ทุ่งบัวแดงหน้าร้อน 😀

Ban Khlong Sai- Khlong Chik is located alongside “Klong Nam Bua Luang” which is located on a low land lying in the floodplain of Ayutthaya. The “Klong Nam Bua Luang” Canal is named after the naturally grown “Bua Luang – (Indian Lotus, Sacred Lotus, Bean of India)” in the canal that flows through the community and its agricultural area. This made this area suitable for rice farming. This watershed area is filled with vast rice fields alternating with residence-traditional houses scattered along the canal. Although at the macro level, the surrounding area has almost completely changed into industrial estates.

The rice fields along the Nam Bua Luang canal have become the grandiose Bua Luang fields in full bloom from late October to early December every year. In the past, these lotuses were naturally grown and had to be removed for preparing other economic crops. From weeds of the fields became a tourist destination, the process started in 2018 through the OTOP Nawatwithi Community-Based Tourism Program by applying the locally available resources to the contemporary society. In the summer, although there are not many lotuses here, the rice field, which is the most important cultural landscape of Phra Nakhon Si Ayutthaya Province, is always beautiful. It reflects the existence of the seasonal built environment of man and of nature, snd demonstrates the diversity of contemporary traditional livelihood that combines the existing heritage resources in modern-day life.

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *