คำชี้แจง

ท่ามือที่จัดแสดงไว้ในพจนานุกรมดิจิตอลภาษามือไทยนี้  ประกอบด้วย

•     ท่ามือไทยที่เป็นท่ามือยืมจากภาษามือต่างประเทศ  โดยจะกำกับ “(คำยืม)” ไว้

•     ท่ามือไทยดั้งเดิม  ซึ่งจัดทำไว้เพื่อบันทึกที่มาของท่ามือเพื่อประโยชน์ของ

     คนหูหนวกรุ่นหลัง และคนไทยที่ได้ยินปกติ  โดยจะกำกับ “(เดิม)” ไว้

•     ท่ามือไทยพ้องรูป  ที่ให้ความหมายมากกว่าหนึ่งความหมาย  เช่น ท่ามือ “ส้ม”

     เป็นได้ทั้งผลไม้ และสี

การจัดรายการคำศัพท์

1.    จัดตามหมวดคำในชั้นต้น  ได้แก่  คำนาม  คำกริยา ฯลฯ

2.    ในแต่ละหมวดคำ  จำแนกย่อยเป็นหมวดหมู่หรือแม่กลุ่มโดยเรียงตามลำดับ

      อักษรไทย เช่น  คำกริยา  แบ่งย่อยเป็น

-         คำกริยาคล้อยตาม

-         คำกริยาทั่วไป

-         คำกริยาบ่งอาณาบริเวณ

3.    ในแต่ละหมวดคำย่อยหรือแม่กลุ่ม  จัดคำศัพท์เรียงตามลำดับอักษรไทย 

      เช่น คำกริยาทั่วไป  จัดลำดับศัพท์ดังนี้

-         โกรธ

-         คิด

-         ชอบ

4.    คำศัพท์ภาษาไทยที่มีความหมายตรงกับท่ามือไทยมากกว่าหนึ่งท่ามือ 

     จัดลำดับท่ามือดังนี้

-         ท่ามือไทยกลาง คือ ท่ามือถิ่นกรุงเทพฯ และเป็นท่ามือที่นิยมใช้มากที่สุด

     จะด้รับการจัดลำดับก่อนท่ามือถิ่นอื่น ๆ

-         ท่ามือสมัยใหม่ที่ใช้สื่อสารในปัจจุบัน  จะได้รับการจัดลำดับก่อนท่ามือดั้งเดิม

-         ท่ามือยืมจากภาษามือต่างประเทศ  จะได้รับการจัดลำดับหลังท่ามือไทย

 

คำนำ    คำชี้แจง    สัญลักษณ์    อักษรย่อ    รายการหมวดคำ    แหล่งอ้างอิง    แบบสะกดนิ้วมือไทย

 

หน้าหลัก