คำนำ
ภาษามือไทย (ThSL) มีวิธภาษาหลากหลายที่ใช้กันอยู่ในกลุ่มคนหูหนวก*ต่าง ๆ
ทั้งในกรุงเทพฯ และ
จังหวัดต่าง ๆ
ทั่วประเทศไทย ThSL
ที่สอนโดยคนที่ได้ยินปกติในโรงเรียนสอนคนหูหนวกส่วนใหญ่ได้รับ
อิทธิพลจากภาษาไทยมาตรฐาน ในปัจจุบันยังไม่มี ภาษามือไทยมาตรฐาน
ที่สามารถใช้เป็นภาษามาตรฐาน
สื่อสารระหว่างคนหูหนวกกลุ่มต่าง
ๆ และคนที่ได้ยินปกติ
ในชีวิตประจำวันความสับสน
และการสื่อสาร
ไม่ตรงกับความหมาย
เป็นเหตุการณ์ปกติที่เกิดระหว่างคนหูหนวกที่ใช้ภาษามือไทยเป็นภาษาแม่และคนที่
ได้ยินปกติที่ใช้ภาษามือไทยเป็นภาษาที่สอง
พจนานุกรมดิจิตอลภาษามือไทยเป็นโครงการวิจัยที่ได้รับการสนับสนุนจากสถาบันวิจัยและพัฒนา
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นเครื่องมือเทคโนโลยีช่วย (Assistive
Technology (AT))
ซึ่งเป็นผลที่ได้จากการวิเคราะห์ภาษามือไทยในแนวภาษาศาสตร์
และจากความร่วมมือของผู้ใช้ภาษามือไทย
เป็นภาษาแม่
พจนานุกรมนี้ในฐานะสื่อสารสนเทศ
จะช่วยเสริมให้เกิดความเข้าใจในการสื่อสารระหว่าง
ผู้ใช้ภาษามือไทยเป็นภาษาแม่
ผู้ใช้ภาษามือไทยเป็นภาษาที่สอง และผู้พูดภาษาไทยปกติ
____________________________________________
* คนหูหนวก ในพจนานุกรมดิจิตอลภาษามือไทยนี้ หมายถึง
ผู้ที่บกพร่องทางการได้ยิน (คนหูหนวก / คนหูตึง) ที่ใช้ภาษามือ
เป็นภาษาแม่ หรือภาษาที่สอง
คำนำ คำชี้แจง สัญลักษณ์ อักษรย่อ รายการหมวดคำ แหล่งอ้างอิง แบบสะกดนิ้วมือไทย