การผลิตถ่านชีวภาพสำหรับใช้เพื่อปรับปรุงความสมบูรณ์ของดิน เริ่มมาอย่างน้อย 2500 ปีที่แล้ว ในบริเวณที่ราบลุ่มอะเมซอน โดยคนพื้นเมืองชาวอินเดียในแถบนั้นได้ผลิตถ่านแล้วใส่ลงในแปลงดินขนาด 1-80 เฮกตาร์ เรียกบริเวณนี้ว่า เทอรา เปรตา (Terra Preta) ซึ่งเป็นคำที่มาจากภาษาโปตุเกส แปลว่าดินสีดำ ปัจจุบันยังมีความอุดมสมบูรณ์อยู่แม้ว่าจะไม่ได้ใช้ปุ๋ยเคมีเลยก็ตาม และพื้นที่นี้เป็นพื้นที่ในโลกที่เป็นที่รู้กันดีว่าเป็นดินที่มีความอุดมสมบูรณ์ (Biocharinfo, 2009) ในปี 2001 ได้มีการเผยแพร่ผลงานวิจัยเกี่ยวกับดินสีดำนี้
 

จากรูป คือหน้าตัดชั้นดินลึก 1 เมตร เปรียบเทียบระหว่าง


(1) ดินในลุ่มน้ำอะเมซอน เป็นดินที่มีความอุดม

สมบูรณ์ต่ำ

 

(2) ดินใน Terra Preta ดินที่มีความอุดมสมบูรณ์สูง

 
ที่มา: http://biochar.info/biochar.terra-preta.cfml
 

ภายใต้วิทยานิพนธ์ "การพัฒนาการเรียนรู้ การประยุกต์ถ่านชีวภาพในการปรับปรุงดินเพื่อการเกษตร"

สาขาภูมิศาสตร์การวางแผนพัฒนา คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

โดย น.ส.ศิริลักษณ์ ศิริสิงห์      ภายใต้ความดูแลของ รศ.ดร.อรสา สุกสว่าง