ในการวิจัยครั้งนี้ ใช้วิธีการวิจัยเป็นการวิจัยเชิงทดลองแบบมีส่วนร่วมระหว่างนักวิจัยและเกษตรกร เพื่อเรียนรู้การยอมรับของเกษตรกรในการใช้ถ่านชีวภาพปรับปรุงดินเพื่อการเกษตร การทดลองในครั้งนี้ประกอบไปด้วย
 
1. การทดลองในภาคสนาม ใช้ถ่านชีวภาพปลูกผักคะน้า
2. การตรวจสอบคุณสมบัติของดินและถ่านชีวภาพในห้องปฏิบัติการ
3. การอบรม ถ่ายทอดความรู้เรื่องถ่านชีวภาพให้แก่เกษตรกร
4. การสัมมนาร่วมกับเจ้าหน้าที่เทศบาลตำบลเมืองบัว
5. การจัดทำคู่มือการผลิตและการใช้ถ่านชีวภาพในการเกษตร
6. การพัฒนาเวปไซด์เพื่อนำเสนอผลการวิจัย
7. การสำรวจความคิดเห็นของผู้เข้าร่วมกิจกรรม
 
ผลการวิจัยทั้งหมดสืบค้นได้จากเล่มวิทยานิพนธ์ของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (หลังตุลาคม 2555) ในเวปไซด์นี้ จะนำเสนอเฉพาะเรื่องต่อไปนี้
 
1. การทดลองในภาคสนาม ใช้ถ่านชีวภาพปลูกผักคะน้า
2. การอบรม ถ่ายทอดความรู้เรื่องถ่านชีวภาพให้แก่เกษตรกร
3. การสัมมนาร่วมกับเจ้าหน้าที่เทศบาลตำบลเมืองบัว
4. การจัดทำคู่มือการผลิตและการใช้ถ่านชีวภาพในการเกษตร
 
อ่านต่อ...    
 

ภายใต้วิทยานิพนธ์ "การพัฒนาการเรียนรู้ การประยุกต์ถ่านชีวภาพในการปรับปรุงดินเพื่อการเกษตร"

สาขาภูมิศาสตร์การวางแผนพัฒนา คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

โดย น.ส.ศิริลักษณ์ ศิริสิงห์      ภายใต้ความดูแลของ รศ.ดร.อรสา สุกสว่าง