การทดลองในภาคสนาม ใช้ถ่านชีวภาพปลูกผักคะน้า
 
     การทำแปลงทดลอง แบ่งเป็น 2 ชุด ในแต่ละชุดมี 6 แปลงทดลอง
     ชุดแปลงทดลองแรกเพื่อใช้เป็นแปลงสาธิตสำหรับจูงใจให้เกษตรกรทั่วไปเข้าร่วมกิจกรรมในการทดลองชุดที่ 2 การทดลองชุดนี้เป็นการศึกษาร่วมกันระหว่างนักวิจัยและเกษตรกรเจ้าของสถานที่ทดลองเพียงรายเดียว
     ชุดแปลงทดลองที่ 2 เป็นชุดใช้จัดอบรมเพื่อถ่ายทอดความรู้ให้แก่เกษตรกรพร้อมกับการทดลองปฏิบัติจริงในแปลงทดลองเป็นการศึกษาร่วมกันระหว่างนักวิจัยและเกษตรกรที่เข้าร่วมการอบรมโดยมีเจ้าของสถานที่ทดลองเป็นผู้ช่วยวิทยากรในการถ่ายทอดความรู้
     แผนการทดลองทั้ง 2 ชุด ประกอบไปด้วยการทดลองเหมือนกันทั้งหมด คือสร้างเรือนทดลองและกางมุ้งไนล่อนล้อมรอบ ประกอบไปด้วยแปลงทดลอง 6 แปลง ขนาดแปลง 1 เมตร x 2 เมตร กำหนดใช้ปุ๋ยหมัก 7 กิโลกรัมในแปลง 100 ส่วนโดยน้ำหนัก โดยแต่ละแปลงมีสัดส่วนการใช้ปุ๋ยหมักและถ่านชีวภาพ ดังนี้
 
     แปลงที่ 1  เป็นแปลงควบคุม (ไม่ใช้ปุ๋ยหมักและถ่านชีวภาพ)

     แปลงที่ 2  ใส่ปุ๋ยหมักอย่างเดียว 100 ส่วนโดยน้ำหนัก  (7 กก. : 0 กก.)

     แปลงที่ 3  ใช้ปุ๋ยหมักต่อถ่านชีวภาพในอัตราส่วน 75:25   (5.25 กก. : 1.75 กก.)

     แปลงที่ 4  ใช้ปุ๋ยหมักต่อถ่านชีวภาพในอัตราส่วน 50:50   (3.50 กก. : 3.50 กก.)

     แปลงที่ 5  ใช้ปุ๋ยหมักต่อถ่านชีวภาพในอัตราส่วน 25:75   (1.75 กก. : 5.25 กก.)

     แปลงที่ 6  ใช้ถ่านชีวภาพอย่างเดียว 100 ส่วนโดยน้ำหนัก   (0 กก. : 7 กก.)

 
คลิกเพื่อขยายภาพ คลิกเพื่อขยายภาพ
ผลการทดลองชุดแปลงที่ 1 ผลการทดลองชุดแปลงที่ 1
 
อ่านต่อ...    
 

ภายใต้วิทยานิพนธ์ "การพัฒนาการเรียนรู้ การประยุกต์ถ่านชีวภาพในการปรับปรุงดินเพื่อการเกษตร"

สาขาภูมิศาสตร์การวางแผนพัฒนา คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

โดย น.ส.ศิริลักษณ์ ศิริสิงห์      ภายใต้ความดูแลของ รศ.ดร.อรสา สุกสว่าง