หัวข้อเรื่อง
กฏการหักเห

มุมวิกฤติและ
การสะท้อนกลับหมด


เลนส์

เลนส์เว้า

เลนส์นูน

สรุปภาพจากเลนส์

ลึกจริงลึกปรากฎ

หัวข้อย่อย
 
เลนส์บาง
การเกิดภาพของเลนส์บาง –เลนส์บางเมื่อแสงเดินทางผ่านเลนส์จะหักเหน้อยมาก เราจึงคิดเสมือนว่าไม่มีการหักเห
เลนส์เว้า
เลนส์เว้า คือเลนส์ที่มีความหนาขอบเลนส์มากกว่าความหนาตรงกลางอาจทำด้วยแก้วหรือพลาสติกก็ได้ มีหลายชนิด

ในตัวกลางหนึ่งๆความยาวโฟกัสของเลนส์เว้ามีค่าเดียวไม่ว่าจะทำ ด้านใดของเลนส์รับแสงก็ตามแต่เมื่อวางเลนส์เว้าไว้ในตัวกลาง ชนิดต่างกัน ความยาวของโฟกัสของเลนส์เว้าจะเปลี่ยนไปด้วย คือ ถ้าตัวกลางมีดรรชนีหักเหมากความยาวโฟกัสของเลนส์จะ มากถ้าตัวกลางมีดรรชนีหักเหน้อยความยาวโฟกัสของเลนส์ จะมีค่าน้อย เช่น วางเลนส์ในน้ำจะมีความยาวโฟกัสมากกว่า เมื่อวางในอากาศ หน้าที่ของเลนส์เว้า-ทำหน้าที่กระจาย(แสงคล้ายกระจกนูน)

ส่วนประกอบของเลนส์เว้า ตามภาพดานล่าง
F1 และ F2 คือ จุดโฟกัสอยู่ด้านหน้าและหลังของเลนส์
เส้นที่ลากผ่านเลนส์ในแนวจุดโฟกัสทั้ง2 ( F1และF2 ) คือ แกนมุขสำคัญ
Cหรือ2Fเป็นจุดศูนย์กลางความโค้งของผิวทั้ง2เลนส์เว้า
O คือ ตำแหน่งของวัตถุ วางไว้หน้าเลนส์ I คือ ตำแหน่งของภาพที่เกิดจากวัตถุ

 ในกรณีที่รังสีตกขนานแนวแกนมุขสำคัญ รังสีจะเบนออกแต่เมื่อต่อแนวรังสีเสมือนจะผ่านจุดโฟกัสหน้าเลนส์ ( ตามภาพคือ รังสีเส้นที่ 1)
     กรณีแนวรังสีตกกระทบผ่านจุดศูนย์กลางเลนส์ แนวรังสีหักเหจะอยู่แนวเดียวกับรังสีตกกระทบ ( ตามภาพคือ รังสีเส้นที่ 2 )
     กรณีที่แนวรังสีตกกระทบผ่านจุดโฟกัสพอดี แนวรังสีหักเหจะขนานแกนมุขสำคัญ ( ตามภาพคือ รังสีเส้นที่ 3 )

      ลองดูการเกิด ภาพจากเลนส์เว้า ในกรณีต่างๆ