หัวข้อเรื่อง
กฏการหักเห

มุมวิกฤติและ
การสะท้อนกลับหมด


เลนส์

เลนส์เว้า

เลนส์นูน

สรุปภาพจากเลนส์

ลึกจริงลึกปรากฎ

หัวข้อย่อย
 
เลนส์นูน

     เป็นตัวกลางโปร่งใสอาจทำด้วยแก้วหรือพลาสติกก็ได้โดยความหนาแน่นตรงกลางของเลนส์นูนจะมากกว่าความหนาที่ขอบมีหลายชนิดตามรูป
     ในตัวกลางหนึ่งความยาวโฟกัสของเลนส์นูนจะมีเพียงค่าเดียวไม่ว่าในด้านใดรับแสงก็ตาม แต่เมื่อวางเลนส์นูนในตัวกลางต่างชนิดกัน ความยาวโฟกัสของเลนส์นูนจะเปลี่ยนไปด้วยคือตัวกลางที่มีดรรชนีหักเหมากความยาวโฟกัสของเลนส์จะมีค่ามาก ถ้าตัวกลางที่มีดรรชนีหักเหน้อยความยาวโฟกัส ของเลนส์นูนจะมีค่าน้อย ( เหมือนกับกรณีของเลนส์เว้า ) สำหรับส่วนประกอบของเลนส์นูนก็เช่นเดียวกับเลนส์เว้า



ในกรณีที่แนวรังสีตกขนานแกนมุขสำคัญแนวรังสีหักเหจริงจะผ่านจุดโฟกัสหลังเลนส์พอดี(รังสีเส้นที่1)
  กรณีแนวรังสีตกกระทบผ่านจุดศูนย์กลางเลนส์แนวรังสีหักเหจะอยู่แนวเดียวกับรังสีตกกระทบ(รังสีเส้นที่2)
  กรณีแนวรังสีตกกระทบผ่านจุดโฟกัสแนวรังสีจะหักเหขนานแกนมุขสำคัญ(รังสีเส้นที่3)
     การหาตำแหน่งชนิดและลักษณะภาพจากสูตรคำนวณ
 สูตรความยาวโฟกัส 
 โดย   โฟกัส f เป็น + สำหรับเลนส์นูน  -สำหรับเลนส์เว้า
        ระยะวัตถุ s เป็น+ ทั้งเลนส์นูนและเลนส์เว้า
        ระยะภาพ s’เป็น+สำหรับภาพจริง  เป็น-สำหรับภาพเสมือน
  สูตรกำลังขยาย
หมายเหตุ การคิดเครื่องหมายบวกลบของเลนส์เว้าจะเหมือนกับกระจกนูน และเลนส์นูนจะเหมือนกระจกเว้า

       ลองดูการเกิด ภาพจากเลนส์นูน ในกรณีต่างๆและพิจารณาเปรียบเทียบกับเลนส์เว้า