หัวข้อเรื่อง
โจทย์ตัวอย่างเรื่องกระจก

โจทย์ตัวอย่างเรื่องการหักเห

โจทย์ตัวอย่างเรื่องเลนส์

โจทย์ตัวอย่างเรื่องแสงสี
สารสี และความสว่าง


หัวข้อย่อย
โจทย์ตัวอย่างเรื่องกระจก
 

      1.  กระจกทรงกลมเว้าในรูป มีรัศมีความโค้ง 4 เมตรวัตถุ OO’ ชิ้นหนึ่งสูง 5 เซนติเมตรถูกวางไว้หน้ากระจก 3 เมตรโดย ก) จงสร้างรูป และข)การคำนวณจงหาตำแหน่งและความสูงของภาพ II’
      ในรูป C คือ จุดศูนย์กลางความโค้งซึ่งอยู่ห่างจากกระจก 4 เมตรและ F คือ จุดโฟกัสซึ่งอยู่ห่างจากกระจก 2 เมตร
          


      ก) รังสีสองเส้นจากรังสีจาก O สามเส้นที่สะดวกต่อไปนี้จะให้ตำแหน่งของภาพ
1) รังสี OA ขนานแกนมุขสำคัญ เช่นเดียวกับรังสีขนานอื่นๆรังสีนี้จะสะท้อนผ่านจุดโฟกัส F ในทิศ AFA’
2) รังสี OB ซึ่งถูกลากให้เหมือนกับผ่านจุดศูนย์กลางความโค้งC รังสีนี้ตั้งฉากกับกระจกและสะท้อนกลับย้อนทางตัวเองในทิศ BCB’
3) รังสี OFD ซึงผ่านจุดโฟกัส F เช่นเดียวกับรังสีอื่นๆที่ผ่าน F รังสีนี้จะถูกสะท้อนขนานกับแกนมุขสำคัญในทิศทาง DD’
      จุดตัด I ของรังสีสะท้อนสองรังสีใดๆของรังสีเหล่านี้คือภาพของO ดังนั้น II’ แทนตำแหน่งและขนาดของภาพ OO’ภาพเป็นภาพจริง หัวกลับมีขนาดโตกว่าวัตถุและอยู่ห่างจากกระจกมากกว่าวัตถุข้อสังเกต ถ้าวัตถุอยู่ที่ II’ ภาพจะอยู่ที่ OO’ และจะเป็นภาพจริงหัวกลับและมีขนาดเล็กลง
      ข) โดยสมการกระจก จะได้ว่าหรือ s’=6 m
เป็นภาพจริง(เนื่องจากs’เป็นบวก) และอยู่ห่างจากกระจก 6 m นอกจากนั้น
       หรือความสูง(2)(5 cm)=0.10m



      2. วัตถุ OO’ ชิ้นหนึ่งอยู่ห่าง 25 cmจากกระจกทรงกลมเว้าที่มีรัศมี80 cm จงหาตำแหน่งและขนาดสัมพัทธ์ของภาพ II’ ของวัตถุ ก)โดยการสร้างภาพ ข)โดยการใช้สมการกระจก

          

      ก) รังสีสองเส้นจากรังสีจาก O สามเส้นที่สะดวกต่อไปนี้จะให้ตำแหน่งของภาพ
1)รังสี OA ขนานกับแกนมุขสำคัญจะถูกสะท้อนผ่านจุดโฟกัส F ซึ่งอยู่ห่าง 40 cm จากกระจก
2)รังสี OB ในแนวเดียวกับรัศมี COB เป็นรังสีที่ตั้งฉากกับกระจกและสะท้อนกลับย้อนทางตัวเองผ่านจุดศูนย์กลางของความโค้ง C
3)รังสี OD ซึ่งต่อผ่านทะลุ F จะถูกสะท้อนขนานกับแกน เนื่องจากความโ(้งมากของกระจกจาก A ไป D รังสีนี้ไม่เที่ยงตรงเท่ากับรังสีอีกสองเส้น
      รังสีสะท้อน( AA',BB’และDD’)ไม่ได้พบกันจริงๆแต่ดูเหมือนว่าออกมาจากจุดI หลังกระจก ดังนั้น II’ แทนตำแหน่งและขนาดสัมพัทธ์ของภาพของ OO’ ภาพเป็นเสมือนภาพเสมือน(หลังกระจก)หัวตั้งเป็นภาพขยาย
      ข) หรือหรือs’=-67 cm ภาพเป็นภาพเสมือน(เนื่องจากs’เป็นลบ)และอยู่หลังกระจก 66.7cm นอกจากนั้น
      



      3. ตามที่แสดงในรูป วัตถุชิ้นหนึ่งสูง 6 cmอยู่ที่ตำแหน่ง 30 cm หน้ากระจกทรงกลมนูนรัศมี 40 cm จงหาตำแหน่งและความสูงของภาพของวัตถุ ก) โดยการสร้างภาพ และ ข) โดยการใช้สมการกระจก
      
      ก) เลือกรังสีที่สะดวกจาก O สองรังสี
1)รังสี OA ขนานกับแกนมุขสำคัญถูกสะท้อนไปในทิศ AA’เหมือนกับว่ามันได้ผ่านจุดโฟกัส F
2)รังสี OB ซึ่งมีทิศพุ่งเข้าหาจุดศูนย์กลางของความโค้ง C เป็นรังสีที่ตั้งฉากกับกระจกและสะท้อนกลับย้อนทางตัวเอง
      รังสีที่สะท้อนกลับAA’และ BO ไม่ตัดกันที่ไหนเลย แต่ดูเหมือนว่าออกมาจากจุด I หลังกระจก II’จะแทนขนาดและตำแหน่งของภาพของ OO’
      ภาพทุกภาพที่เกิดจากกระจกนูนเป็นภาพเสมือน หัวตั้ง และมีขนาดเล็กลงตราบเท่าที่วัตถุอยู่หน้ากระจก(นั่นคือเป็นวัตถุจริง)
      ข)หรือ หรือ s’=-12 cm
ภาพเป็นภาพเสมือน(s’เป็นลบ)อยู่หลังกระจก 12cm นอกจากนั้น
      
หรือความสูงของภาพ= (0.4)(6.0cm)=2.4cm