MENU
แนะนำรายวิชา
วิธีการเรียน
กิจกรรมการเรียน
ทรัพยากรการเรียน
แบบฝึกหัด
คณะผู้สอน
ติดต่อผู้สอน
   
SITE
 
  การคิดวิเคราะห์ด้วยเหตุผล ทักษะการคิดแบบใหม่ ความคิดสร้างสรรค์
   
 
การคิดวิเคราะห์ด้วยเหตุผล
 
 อ.รามิญ กาญจันดา
   
  มนุษย์กับการคิด
         มนุษย์ใช้การคิดเป็นเครื่องมือในการพิจารณาสิ่งต่างๆที่เป็นปัญหาสำหรับการดำรงชีวิตของตน
และใช้ความคิดที่เป็นผลได้จากการคิดมาเป็นข้อมูลในการพิจารณาเชื่อมโยงความสัมพันธ์ของสิ่งต่างๆ
ที่อยู่รอบตัวมนุษย์ให้เกิดเป็นระบบที่มนุษย์สามารถเข้าใจและมั่นใจได้ว่าสภาวการณ์ต่างๆที่เป็นอยู่
ไม่อาจเป็นอันตรายต่อการดำรงชีวิตของตนเอง
   
     การคิดคือการที่มนุษย์พยายามที่จะจัดข้อมูลที่ได้รับมาให้เป็นระบบและมีระเบียบ โดยทั้งนี้เพื่อให้ตนเอง
ได้รับประโยชน์ คือการมีความรู้ ความเข้าใจ ความมั่นใจและสามารถนำไปใช้ประกอบการดำรงชีวิตได้
และที่สำคัญการคิดจะทำให้มนุษย์สามารถมีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งต่างๆได้อย่างมั่นใจ

   
     โดยทั่วไปมนุษย์มีวิธีการสื่อความคิดของตนเองใน 4 ลักษณะคือ การเสนอความคิดในเชิงพรรณนาเพื่อ
แสดงอารมณ์และความรู้สึกเน้นการใช้คำที่เร้าอารมณ์และความรู้สึกการเสนอความคิดในเชิงบรรยายเพื่อให้
ผู้ฟังเกิดมโนภาพตามข้อเท็จจริงเป็นการเล่าเรื่องตามความเป็นจริง การเสนอความคิดเชิงอธิบายเพื่อให้ผู้อ่าน
เกิดความเข้าใจนอกเหนือจากการรับรู้เพียงข้อเท็จจริงเป็นการขยายเรื่องให้เข้าใจได้มากขึ้น การเสนอความคิด
เชิงชวนให้เชื่อเพื่อให้ผู้ฟังเกิดความเชื่อถือและยอมรับ เป็นการอ้างข้อความเพื่อยืนยัน ใช้คำที่เร้าอารมณ์
์และข้อเท็จจริงผสมกัน
 
   
   การใช้เหตุผลกับการอ้างเหตุผล
     การใช้เหตุผล(Reasoning) กับการอ้างเหตุผล(Argument) เป็นกระบวนการของการคิดที่ต่อเนื่องกัน
โดยการให้เหตุผลเป็นการคิดเพื่อพยายามอธิบายเหตุการณ์บางอย่างโดยข้อมูลประกอบ ส่วนการอ้างเหตุผล
นั้นเป็นการนำเอาข้อมูลอื่นๆมาเพิ่มเติมเพื่อยืนยันและพิสูจน์ความเป็นจริงให้น่าเชื่อถือมากขึ้น
ดังตัวอย่าง
   
 
  โจ : ส้มตำร้านปากซอยอร่อยจริงๆ
  ก้อง : นายรู้ได้อย่างไร
  โจ : ก็ฉันเคยไปกินมาหลายครั้งแล้วนี่
   
  ส้มตำที่ร้านปากซอยอร่อย(เป็นข้อสรุป)
  เพราะฉันเคยไปกินมาหลายครั้ง(เป็นข้ออ้างที่ใช้ยืนยันสนับสนุนข้อสรุป)
   
   
  การอ้างเหตุผลที่ดี
  การอ้างเหตุผลที่ดี(Good argument) จะช่วยความคิดของเราที่นำเสนอนั้นได้รับการยอมรับได้ง่ายขึ้น
การอ้างเหตุผลที่ดีนั้นจำเป็นต้องหาหลักฐานที่ดีและเหมาะสมมาสนับสนุนความคิดโดยหลักฐานที่ดีนั้น
จะต้องมีความสัมพันธ์กับข้อสรุป
   
  การอ้างเหตุผลแบบนิรนัย(Deductive argument) เป็นการอ้างเหตุผลจากข้ออ้างที่เป็นความจริง
  อย่างแน่นอนตายตัวที่เรียกว่าความจริงทั่วไปมาสนับสนุนหรือยืนยันความเป็นจริงของข้อสรุปที่มีลักษณะ
เป็นความจริงเฉพาะ
   
 
  ถ้าอ้างว่า : คนทุกคนต้องตาย (ข้ออ้างที่เป็นความจริงทั่วไป)
  ข้อเท็จจริง : นายแดงเป็นคน
  ยืนยันได้ว่า : นายแดงต้องตาย (ข้ออ้างที่ยืนยันได้)
   
   
  การอ้างเหตุผลแบบอุปนัย(Inductive argument) เป็นการอ้างเหตุผลที่ข้ออ้างได้หลักฐานมาจาก
ข้อเท็จจริง(Fact)ที่ถือว่าเป็นความจริงเฉพาะที่ได้มาจากความจริงบางส่วน แล้วนำไป
สนับสนุนข้อสรุปส่วนที่เป็นความจริงทั่วไป(Truth)ที่ถือว่าเป็นความจริง ของสิ่งทั้งหมด
แต่ข้อสรุปส่วนมากจะเป็นข้อสรุปที่มีน้ำหนักเกินข้ออ้างอยู่มาก
   
   
  ข้ออ้างทั้งหมดเป็นจริง :                 กา เท่าที่เห็นมาเป็นสีดำ
  ข้ออ้างทั้งหมดที่มีความเป็นไปได้สูง :  กา ทั้งหมดเป็นสีดำ
   
  หรือ
   
  คนไทยส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ
  สมศักดิ์เป็นคนไทย
  ดังนั้นสมศักดิ์นับถือศาสนาพุทธ
   
 
   
  ข้อบกพร่องในการอ้างเหตุผล
  จากการอ้างเหตุ 2 แบบในข้างต้นนั้น ใช่ว่าทุกคนจะอ้างเหตุผลได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม เพื่อให้สามารถ
อ้างหตุผลได้อย่างถูกต้อง จึงจำเป็นต้องทราบถึงลักษณะข้อบกพร่องที่จะเกิดขึ้นเมื่อมีการอ้างเหตุผลจริงๆ
โดยข้อบกพร่องส่วนใหญ่ที่พบคือ
   
      การอ้างเหตุผลบกพร่องเพราะการเข้าใจข้อเท็จจริงคาดเคลื่อน ส่วนใหญ่เกิดจากการใช้ภาษา
ที่บกพร่องไม่สามารถ สื่อความหมายของข้อเท็จจริงที่ตนเองต้องการระบุถึงได้อย่างชัดเจน เป็นผลให้ผู้ฟังเกิด
ความเข้าใจผิดต่อข้อเท็จจริงที่ผู้พูดต้องการสื่อและทำให้ไม่ลงลงรอยกันในการยอมรับเหตุผล มักเกดขึ้นจาก
การใช้คำพูดกำกวม การเสริมเติมแต่งหรือดัดแปลงคำพูดที่เกินความจริง
   
     การอ้างเหตุผลบกพร่องเพราะเนื้อหาของเหตุผลบกพร่อง มักเกิดขึ้นเมื่ออ้างหตุผลแบบอุปนัย
ส่วนใหญ่จะเป็นการไม่สามารถหาเนื้อหาของเหตุผลที่มีปริมารมากพอที่จะทำให้ข้ออ้างมีน้ำหนักอย่างเพียงพอ
เช่นเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ผลิตผลิตจากโรงงานนี้จะมีค่าประหยัดไฟเบอร์5 เพราะจากการทดสอบเครื่องใช้ไฟฟ้า
จำนวน 2 เครื่องที่ผลิตจากโรงงาน ข้อสรุปของการอ้างเหตุผลนี้มีโอกาสผิดได้มากเพราะโรงงานนี้ผลิต
เครื่องไฟฟ้าจำนวน 3 ล้านเครื่อง แต่มีการทดสอบเพียง 2 เครื่องเท่านั้น
   
     การอ้างเหตุผลบกพร่องเพราะวิธีการอ้างบกพร่อง เป็นข้อบกพร่องที่มักเกิดขึ้นในการอ้างเหตุผลแบบ
นิรนัยโดยอ้างเหตุผลผิดรูปแบบของเกณฑ์การอ้างเหตุผลเช่น “ ถ้าฝนตก ดังนั้นวันนั้นถนนเปียก
เมื่อวานฝนไม่ตกดังนั้นเมื่อวานถนนไม่เปียก”
   
     การอ้างเหตุผลบกพร่องเพราะการทิ้งเหตุผล เกิดขึ้นเพราะผู้อ้างไม่พยายามนำเอาหลักฐานที่แท้จริง
มายืนยันหรือสนับสนุนข้อสรุปของตน แต่จะนำสิ่งที่ไม่ใช่เหตุผลมาใช้เสมือนว่าเป็นเหตุผล ซึ่งหากพิจารณา
เหตุผลที่นำมาอ้างอย่างแท้จริงแล้วจะพบว่าไม่ใช่ ผู้อ้างมักจะใช้สิ่งที่สามารถโน้มน้าวให้ผู้ฟังเกิดอารมณ์
คล้อยตามและมักสรุปโดยไม่คำนึงถึงเหตุผลที่แท้จริง เช่นการใช้อำนาจเข้าข่ม การขอความเห็นใจ
การอ้างคนส่วนมากการอ้างความเป็นพวกเดียวกัน
 
   
  ข้อจำกัดของระบบการคิดแบบเดิม
      การคิดแบบนิรนัยและการคิดแบบอุปนัยเป็นระบบการคิดที่มนุษย์ใช้กันมานานแล้ว และการคิดทั้ง 2 ระบบนี้
ี้มีทั้งข้อดีและข้อเสีย ในด้านดีมนุษย์ได้พัฒนาศักยภาพตนเองให้มีศักยภาพเหนือสิ่งต่างด้วยการคิด ส่วนในด้าน
ที่ไม่ดี ก็คือมนุษย์ถูกกักขังอยู่กับการคิดทั้ง 2 แบบนี้ ทำให้มนุษย์ไม่สามามารถพัฒนาระบบการคิดใหม่ๆ
ขึ้นมาทดแทนได้ ในขณะที่สภาพแวดล้อมของโลกปัจจุบันได้เปลี่ยนแปลงไปอย่างมากเกินกว่าที่
ี่ระบบการคิดแบบเดิมๆจะสามารถรับกับปัญหาใหม่ๆที่เกิดขึ้นได้
 
 NEXT >>
 
  การคิดวิเคราะห์ด้วยเหตุผล ทักษะการคิดแบบใหม่ ความคิดสร้างสรรค์
 
 
 
 
 
     
 
บทนำ Iบทที่ 1 I บทที่ 2 I บทที่ 3 I บทที่ 4 I บทที่ 5 I บทที่ 6I บทสรุป
กลับไปหน้าแรก I แนะนำรายวิชา I วิธีการเรียน I กิจกรรมการเรียน I แบบฝึกหัด I ติดต่อผู้สอน