MENU
แนะนำรายวิชา
วิธีการเรียน
กิจกรรมการเรียน
ทรัพยากรการเรียน
แบบฝึกหัด
คณะผู้สอน
ติดต่อผู้สอน
   
SITE
 
  ความเข้าใจในชีวิตตนเอง ความเข้าใจผู้อื่น
   
 
ความเข้าใจในชีวิตตนเอง
 
                                          ศิริวรรณ เกษมศานต์กิดาการ
 
                                          เบญจมาศ กาญจนวิโรจน์
   
 
      มนุษย์ทุกคนไม่ว่ามั่งมีหรือยากจน เป็นเด็ก ผู้ใหญ่ หรือวัยชรา เป็นหญิงหรือชาย มีเชื้อชาติ
หรือศาสนาใด ต่างก็ต้องเผชิญกับปัญหาต่างๆที่ทยอยเข้ามาในชีวิตตลอดเวลา มากบ้าง น้อยบ้าง
บางปัญหาก็สามารถแก้ไขลุล่วงได้ด้วยดีบางปัญหาก็ไม่สามารถแก้ไขได้ ก็ยิ่งทับถมเพิ่มพูน
ก็ให้เกิดความทุกข์ยากลำบาก
   
      ปัญหาของมนุษย์ส่วนใหญ่คือการที่ไม่สามารถทำใจให้สงบยามเผชิญปัญหาและความผันผวนที่
เกิดขึ้นในชีวิตได้ ซึ่งหนทางหนึ่งที่จะช่วยให้เราเกิดความสงบนิ่งและไม่หวั่นไหวยามเผชิญปัญหา
ก็คือการใช้หลักความจริงเข้าแก้ไขปัญหา ดังนั้นมนุษย์เราจึงจำเป็นต้องรู้เท่าทันความเป็นจริงของ
ชีวิตจึงจะสามารถดำเนินชีวิตได้อย่างสงบ ซึ่งเป็นหัวใจอันหนึ่งของศิลปะการดำเนินชีวิต
   
 
  การรู้เท่าทันความจริงแห่งชีวิต
      หลายคนมักคิดว่าตนเองรู้จักชีวิตของตนเองดีอยู่แล้ว รู้ว่าเป็นคนสวย ร่ำรวย เรียนเก่ง
นิสัยดี ฐานะดี นี่คือสิ่งที่คนทั่วไปคิดว่าเป็นความเข้าใจชีวิตของตน แท้จริงแล้วเป็นเพียง
ความเข้าใจแค่เพียงด้านเดียวหรืออาจเรียกได้ว่าเปลือกนอกของชีวิต
   
      การรู้จักชีวิตที่แท้จริงคือการรู้จักตัวเองที่สอดคล้องกับความจริงแห่งชีวิต อย่างที่เรียกว่า
รู้จักด้านบวกและด้านลบของตัวเอง เพื่อที่จะดำเนินชีวิตอย่างไม่ประมาท ไม่หลงมัวเมาไปกับ
ความสุขทางโลก     ต้องยอมรับความจริงว่าเราต้องเสียชีวิตไม่วันใดก็วันหนึ่งในการ ดำเนินชีวิต
นั้นต้องมีสมหวัง ผิดหวัง ทุกข์บ้าง สุขบ้าง จึงต้องใช้สติสัมปชัญญะควบคุมตัวเอง ไม่หลงมัวเมาไปตามกิเลสซึ่งความสุขที่ได้รับนั้นเป็นเพียงชั่วครั้งชั่วคราวไม่ใช่ความสุขที่แท้จริง
 
  การรู้เท่าทัน
     การรู้เท่าทันนั้นมีหลายระดับ นักจิตวิทยาและจิตแพทย์หัวก้าวหน้าของโลกตะวันตกต่างเชื่อว่า
มนุษย์มีศักยภาพอันสูงส่งที่จะค้นพบตัวเอง นั่นคือสามารถพัฒนาการจากการรู้ไม่เท่ากัน เป็น
การ รู้เท่าทันกันในระดับต่ำ ไปเป็นการรู้เท่าทันในระดับสูงจนถึงระดับสูงสุด
   
 

   คนที่รู้เท่าทันในระดับต่ำนั้นคือคนที่ใช้คำ”ขอโทษ” อย่างพร่ำเพรื่อ เมื่อเขาล่วงล้ำคนอื่นก็จะขอโทษ โดยคิดว่าคำขอโทษจะทำให้เขาทำอะไรก็ได้ที่คิดอยากทำและไม่รู้สึกว่าเป็นการกระทำที่ผิด ส่วนคนที่รู้เท่าทันในระดับต่ำและสูงคือผู้ที่ระดับความรู้เท่าทันแปรเปลี่ยนตลอดเวลาตามเหตุผล
จะมีการลังเลใจโดยบางครั้งอาจทำถูกหรือบางครั้งอาจทำผิดได้ ส่วนผู้ที่มีความรู้เท่าทัน
ู้อยู่ในระดับสูงจะมีทัศนะต่อตัวเองอย่างสมดุล คนพวกนี้จะไม่วกวนอยู่กับความล้มเหลว
และในขณะเดียวกันก็จะไม่หยิ่งผยองในความสามารถของตน เป็นผู้ที่ใช้เหตุผล
และชอบปรับปรุงความสามารถของตน เป็นคนรู้จักผ่อนหนักผ่อนเบาและรับผิดชอบต่องาน
และมีคุณธรรม การรู้จักตนเองก็จะทำให้การปฏิบัติต่อผู้อื่นเป็นไปอย่างสมเหตุสมผลและสร้างสรรค์

   
 
  การดำเนินชีวิตอย่างมีอุดมคติ
     อุดมคติของชีวิตคือจุดมุ่งหมายสูงสุดที่มนุษย์ปรารถนาซึ่งท้ายที่สุดหรือจุดมุ่งหมายสูงสุด
ก็คือความสุข ความสุขจึงเป็นอุดมคติของชีวิต แต่ความสุขของแต่ละคนมีความแตกต่างกัน ดังนั้นอุดมคติของชีวิตคนแต่ละคนจึงแตกต่างกันไปซึ่งมีนักปรัชญาหลายสำนักให้ให้มุมมอง
เกี่ยวกับอุดมคติไว้เช่น อุดมคติคือ ความสุขของฉันคนเดียว การทำตามใจตนเองนั่นคือความสุข
ความสุขทางโลก ความสุขทางใจ ความสุขทางปัญญา ความสุขอยู่ที่การประมาณตน ความสุข
อยู่ที่การไม่ต้องการอะไร ความสุขอยู่ที่ความพอใจในสิ่งที่มี เสรีภาพคืออุดมคติ
ิของชีวิต จะเห็นได้ว่าความสุขของคนแต่ละกลุ่มแต่ละแนวคิดจะมีความแตกต่างกันออกไป
ดังนั้นอุดมคติของคนแต่ละคนจึงแตกต่างกันออกไปด้วย
   
 
  แนวทางการพัฒนาตนเองเพื่อความสุขในชีวิต
     การดำเนินชีวิตเปรียบเหมือนการขับรถยนต์ การที่จะไปสู่เป้าหมายได้อย่างถูกต้อง ปลอดภัยและ
ทันเวลาได้นั้น ผู้ขับขี่จะต้องรู้เส้นทาง วิธีขับและดูแลบำรุงรักษารถ นอกจากนี้ในการขับรถไม่ใช่แต่มี
รถเราเพียงคันเดียว แต่ยังมีรถคันอื่นใช้ถนนร่วมกับเราด้วย ดังนั้นจึงจำเป็นต้องรู้กฎจราจรซึ่งเป็นข้อตกลง
ในสังคม ก็จะช่วยให้การขับรถเต็มไปด้วยความรื่นรมย์และปลอดภัยซึ่งก็เปรียบเสมือนกับการดำเนินชีวิต
ที่จะต้องมีปัจจัยประกอบที่จะช่วยดำเนินชีวิตได้อย่างราบรื่นและมีความสุขซึ่งการดำเนินชีวิตนั้น
จำเป็นต้องมีเป้าหมายและแนวทางดำเนินชีวิตที่ชัดเจน ศึกษาแนวทางที่จะก้าวไปสู่เป้าหมาย
โดยเลือกให้เหมาะกับสภาพชีวิตและวัยตนเองให้มากที่สุด และต้องรู้จักองค์ประกอบของชีวิต
วิธีดำเนินชีวิต สภาพชีวิตตนและฝึกทักษะการดำเนินชีวิต เช่น ต้องรู้จักการดูแลตนเอง
การพักผ่อน การแก้ไขปัญหา ต้องรู้จักหยุดจักพอเมื่อก้าวถึงเป้าหมาย
   
     นอกจากนี้การที่จะก้าวไปสู่เป้าหมายชีวิตได้อย่างราบรื่นนั้น ตัวบุคคลก็จำเป็นจะต้องมีคุณสมบัต
ิประกอบที่จะช่วยเสริมและสนับสนุนให้ก้าวไปสู่เป้าหมายได้คือการมีสุขภาพที่ดี การมีความรู้ที่ดี
การมีการงานที่ดี การมีความประพฤติดี การมีจิตใจดี และการมีสิ่งแวดล้อมที่ดีควบคู่ไปด้วยเช่นกัน
   
  เทคนิคการพัฒนาชีวิตอย่างยั่งยืน
     พระธรรมปิฏก ได้นำเสนอแนวทางการพัฒนาตนเพื่อความสุขในชีวิต ซึ่งการพัฒนาตน
ในแนวนี้จะควบคู่ไปกับการพัฒนาความสุขด้วย เป็นความสุขทั้งของตนเอง ผู้อื่นและคนหมู่มาก และจะเป็นผลดีแก่ทั้งตนเอง ผู้อื่นและสิ่งแวดล้อม โดยท่านเรียกการพัฒนาแบบนี้ว่าการพัฒนาอย่างยั่งยืน ซึ่งผู้ที่ผ่านกระบวนการพัฒนาตามแนวนี้จะเป็นผู้ที่มีคุณสมบัติเป็นที่พึงปรารถนาในสังคมยุคปัจจุบันด้วย อีกทั้งจะเป็นคนดี คนเก่งและมีความสุข โดยเทคนิคการพัฒนาตนจะประกอบด้วยขั้นตอนต่างๆคือ
   
 
  การปลุกจิตสำนึกการเรียนรู้และการฝึกฝนพัฒนาตน(ใฝ่รู้สู้สิ่งยาก)
  มีศีลและปฏิบัติตามกฏเกณฑ์ของสังคม
  ฝึกฝนเพิ่มความมีอิสระจากวัตถุภายนอก
  ฝึกการบริจาค การให้ การเสียสละ การสงเคราะห์
  รู้เท่าทันความรู้สึกและแรงจูงใจภายในของตนและฝึกฝนพัฒนาให้เป็นแรงจูงใจใฝ่ดีสร้างสรรค์
  ปรุงแต่งจิตของตนให้มีกำลัง มีความสุข และความดีงามด้วยสมาธิ
  ฝึกฝนพัฒนาปัญญาในระดับสูงให้รู้เข้าใจความจริงของโลกและชีวิต เพื่อความเป็น
  อิสระเหนือความทุกข์ทั้งปวง
     
 
 
  ความเข้าใจในชีวิตตนเอง ความเข้าใจผู้อื่น
 
 
 
 
 
     
 
บทนำ Iบทที่ 1 I บทที่ 2 I บทที่ 3 I บทที่ 4 I บทที่ 5 I บทที่ 6I บทสรุป
กลับไปหน้าแรก I แนะนำรายวิชา I วิธีการเรียน I กิจกรรมการเรียน I แบบฝึกหัด I ติดต่อผู้สอน