MENU
แนะนำรายวิชา
วิธีการเรียน
กิจกรรมการเรียน
ทรัพยากรการเรียน
แบบฝึกหัด
คณะผู้สอน
ติดต่อผู้สอน
SITE
ความเข้าใจในชีวิตตนเอง
ความเข้าใจผู้อื่น
ความเข้าใจผู้อื่น
ชุษณา ก้อนจันเทศ
ความเข้าใจเกี่ยวกับพฤติกรรมมนุษย์
การที่มนุษย์พยายามที่จะทำความเข้าใจพฤติกรรมตนเองนั้นเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นมานานแล้ว
โดยในทางจิตวิทยาก็ได้มีการศึกษาเก็บรวบรวมข้อมูลพฤติกรรม ตัวอย่างเช่น ผู้ที่มีรูปร่างอ้วนกลมจะชอบ
ความสะดวกสบาย ผู้ที่มีรูปร่างกล้ามเนื้อปรากฏชัดจะชอบผจญภัยและความท้าทาย ส่วนผู้ที่มีรูปร่างผอมบาง
จะเป็นคนเจ้าระเบียบไม่ชอบเข้าสังคม แต่ก็ไม่ค่อยได้รับความเชื่อถือกันมากเพราะไม่มีหลักเกณฑ์ที่แน่นอน
นักจิตวิทยาพบว่าการพิจารณาสาเหตุของพฤติกรรมมนุษย์โดยที่พิจารณาจากรูปลักษณ์ภายนอกแล้วสันนิษฐาน
ไปถึงความรู้สึกข้างในนั้นไม่สามารถเป็นจริงได้เสมอไป การทำความเข้าใจด้านจิตใจและพฤติกรรมมนุษย์
จำเป็นต้องใช้แนวคิด ทฤษฏีที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาบุคลิกภาพซึ่งเป็นผลรวมของพฤติกรรมมนุษย์มาช่วย
ในการศึกษาอันได้แก่ พฤติกรรมมนุษย์ตามทฤษฏีจิตวิเคราะห์ พฤติกรรมมนุษย์ตามทฤษฏีลักษณะนิสัย
พฤติกรรมมนุษย์ตามทฤษฏีการเรียนรู้ พฤติกรรมมนุษย์ตามทฤษฏีมนุษยนิยม
พฤติกรรมมนุษย์ตามทฤษฏีจิตวิเคราะห์
ซิกมันด์ ฟรอยด์ เป็นนักจิตวิเคราะห์ที่มีชื่อเสียง โดยอธิบายพฤติกรรมมนุษย์ว่าเป็นผลมาจาก
จิตไร้สำนึก(Unconcious) และทฤษฏีนี้ก็มีประโยชน์มากในการค้นหาถึงแรงจูงใจภายในที่ส่งผล
ต่อพฤติกรรมมนุษย์
ฟรอยด์อธิบายถึงกระบวนการทำงานของจิตไว้ 3 แบบคือ จิตสำนึก(Unconcious
)เป็นภาวะที่คนมีการรู้สึกตัวและมีสติในการควบคุมตนเองเพื่อแสดงพฤติกรรมต่างๆ จิตกึ่งสำนึก
(Proconcious)เป็นภาวะที่ไม่รู้สึกตัวหรือมีสติเต็มที่ในการควบคุมตนเองแต่สามารถนำไปสู่
การ
ควบคุมตนเองได้
เช่นการรู้สึกงัวเงียขณะตื่นนอนแต่เวลาผ่านไปสักพักก็สามารถควบคุมตนเองได้
จิตไร้สำนึก(Unconcious)เป็นภาวะที่คนไม่รู้สึกตัวหรือไม่มีสติว่าควรทำอะไร ซึ่งฟรอยด์เชื่อว่าภาวะจิตใจ
ระดับนี้เป็นสิ่งที่สำคัญต่อพฤติกรรมมนุษย์
จึงได้ใช้วิธีการศึกษาพฤติกรรมมนุษย
์
ด้วยการวิเคราะห์ความฝัน เขาเชื่อว่าสาเหตุการฝันของคนเกิดจากความปรารถนาที่จะแสดงออกในสิ่งที่ตนเองไม่สามารถแสดงออกได้
โดยตรงในภาวะที่มีสติ ดังนั้นความฝันจึงเป็นข้อบ่งชี้ถึงสิ่งมนุษย์เก็บไว้ในจิตไร้สำนึก และฟรอยด์ก็ได้ใช้วิธีการที่เรียกว่าการแสดงออกอย่างอิสระในการบำบัดรักษาคนไข้โดยให้ระบายสิ่งที่ในจิต
ไร้สำนึกออกมาแล้วทำการวิเคราะห์เพื่อหาวิธีการในการรักษาต่อไป
ฟรอยด์ได้อธิบายถึงองค์ประกอบหลักที่เป็นโครงสร้างของจิตมนุษย์ที่มีผลต่อพฤติกรรมต่างๆ
ตลอดเวลาอันได้แก่ Id หรือสัญชาติญาณดิบของมนุษย์ เป็นการแสดงความพึงพอใจความต้องการโดย
ไม่คำนึงถึงความถูกต้องมักมีพลังสูงในวัยเด็ก เช่น การร้องไห้ รังแกผู้อื่น Egoเป็นการคิดไตร่ตรอง
อย่างมีเหตุผลใช้กฎแห่งความเป็นจริง เช่นการปฏิบัติตามกฎหรือระเบียบแทนที่จะทำตามใจตนเองทั้งหมด
และสุดท้ายคือ Superego คือมโนธรรม การสำนึกถึงความรู้จักผิด ชอบ ชั่ว ดี ซึ่งในตัวคนเราจะ
ประกอบด้วยพลังทั้ง 3 ส่วนนี้ สุดแต่ว่าในช่วงใดจะมีพลังชนิดใดสูงหรือต่ำซึ่งจะส่งผลต่อพฤติกรรม
ที่แสดงออกมา
พฤติกรรมมนุษย์ตามทฤษฏีลักษณะนิสัย
เอช. เจ ไอเซงค์ นักจิตวิทยาชาวอังกฤษได้ศึกษาลักษณะนิสัยของมนุษย์โดยใช้การวิเคราะห์จากสถิติ
ได้แบ่งลักษณะนิสัยของคนออกเป็น 4 แบบคือ
แบบแสดงตัวและอารมณ์มั่นคง
(Extroverted-Stable) มีลักษณะชอบเข้าสังคม ช่างพูด เป็นมิตร
มีชีวิตชีวา ไม่กังวล เป็นผู้นำ
แบบแสดงตัวและอารมณ์หวั่นไหว
(Extroverted-Unstable) มีลักษณะกระตือรือร้น มองโลกในแง่ดี
โลเล ตื่นเต้น ก้าวร้าว ไม่สงบ ใจน้อย
แบบเก็บตัวและอารมณ์มั่นคง
(Introverted-Stable)มีลักษณะสงบ อารมณ์มั่นคง น่าเชื่อถือ
ควบคุมตนเองได้ สันโดษ เจ้าความคิด ระมัดระวัง ไม่แสดงปฏิกิริยาโต้ตอบ
แบบเก็บตัวและอารมณ์หวั่นไหว
(Introverted-Unstable)มีลักษณะเงียบ ไม่เข้าสังคม เก็บตัว
มองโลกแง่ร้าย ขรึม ไม่ยืดหยุ่น
โดยเมื่อพิจารณาแล้วไม่มีลักษณะนิสัยแบบใดที่ดีที่สุด แต่ละแบบล้วนมีจุดเด่นจุดด้อยในตัวเองดังนั้นถ้า
เรารู้ตัวว่าเป็นแบบใดก็ควรจะต้องมีการปรับปรุงตัวเองเพื่อให้บุคลิกภาพที่ดีขึ้น
พฤติกรรมมนุษย์ตามทฤษฏีการเรียนรู้
ทฤษฎีการเรียนรู้มีด้วยกันอยู่หลายทฤษฏี แต่ที่เป็นที่รู้จักกันดีก็คือ การเรียนรู้แบบเชื่อมโยงสิ่งเร้าของ
อีวาน พาฟลอฟ และการเรียนรู้แบบลงมือกระทำของ บี.เอฟ.สกินเนอร์
การเรียนรู้แบบเชื่อมโยงสิ่งเร้าของ อีวาน พาฟลอฟนั้น ไม่ได้ใช้ในการวิเคราะห์พฤติกรรมมนุษย์เพีย
งอย่างเดียวแต่จะใช้สร้างพฤติกรรมที่ต้องการด้วย เช่น ในสมัยหนึ่งผู้นำคอมมิวนิสต์ต้องการปลูกฝัง
ความรักความศรัทธาในผู้นำให้แก่เด็กๆ เขารู้ว่าในสภาพปกติเด็กเห็นรูปผู้นำก็จะไม่รู้สึกใดๆ
แต่ทุกครั้งที่เด็กจะรับประทานอาหารกลางวัน เด็กจะต้องมองรูปผู้นำและสวดสรรเสริญผู้นำก่อน
นั่นหมายถึงเด็กได้รับการวางเงื่อนไข โดยใช้รูปผู้นำเป็นสิ่งเร้า ต่อมาเด็กเห็นรูปผู้นำที่ไหน
เมื่อนึกถึงก็จะเกิดความศรัทธาถึงแม้ว่าจะไม่ได้อยู่ในช่วงของการรับประทานอาหาร
การเรียนรู้แบบลงมือกระทำของ บี.เอฟ.สกินเนอร์ โดยเขาเชื่อว่าพฤติกรรมมนุษย์จะเกิดขึ้นได้จากการ
เสริมแรง(Reinforcement) โดยได้อธิบายว่าหากต้องการให้เกิดการเรียนรู้ในพฤติกรรมใด ก็จะต้องให้การ
เสริมแรงในพฤติกรรมนั้น การเสริมแรงทางบวกโดยสิ่งให้สิ่งเร้าที่สร้างความพึงพอใจเช่นเมื่อเด็กอนุบาล
สามารถแสดงพฤติกรรมหรือตอบคำถามได้ถูกต้องครูก็ให้คำชมเชยหรือให้ดาวเพื่อสร้างความพึงพอใจ
ให้กับเด็กหรือการเสริมแรงทางลบเป็นการให้สิ่งเร้าที่ไม่พึงพอใจ เช่นเมื่อเด็กพูดจาหยาบคาย ครูก็อาจ
ทำหน้าบึ้งหรือไม่พูดกับเด็ก ก็จะช่วยให้เด็กไม่พูดหยาบคายอีก แต่ก็มีข้อแนะนำว่าควรหลีกเลี่ยง
การใช้การลงโทษเพราะจะทำให้เด็กเกิดพฤติกรรมต่อต้านและไม่สามารถลดพฤติกรรมที่ไม่ต้องการได้
พฤติกรรมมนุษย์ตามทฤษฏีมนุษยนิยม
อับราฮัม มาสโลว์ เชื่อว่าโดยธรรมชาติแล้วมนุษย์ใฝ่ดี ปรารถนาจะใช้พลังความรู้ ความสามารถเพื่อนำตัวเอง
ไปสู่ชีวิตที่เจริญสมความปรารถนา ดังนั้นพฤติกรรมต่างๆของมนุษย์จึงเป็นผลมาจากการพยายามที่
ี่จะตอบสนองความต้องการตามลำดับขั้นอันได้แก่
ความต้องการทางร่างกาย เป็นความต้องการเพื่อความอยู่รอดของชีวิต เช่น ต้องการอาหาร น้ำ
ความอบอุ่น การพักผ่อน
ความต้องการความปลอดภัย เป็นความต้องการที่จะปกป้องตนเองให้ปลอดภัยจากสิ่งแวดล้อม
เช่นต้องการการรักษาความปลอดภัยในที่อยู่อาศัย ทรัพย์สินและชีวิต
ความต้องการความรักและความต้องการเป็นเจ้าของ เป็นความต้องการที่ต้องการเป็นที่รักของผู้อื่น
เช่นต้องการความเข้าใจ การยอมรับ การดูแล และในขณะเดียวกันก็ต้องแสดงความรักต่อผู้อื่น
เช่น การแสดงความห่วงใย การช่วยเหลือ การเสียสละ
ความต้องการภาคภูมิใจ เกียรติยศและศักดิ์ศรี เป็นการพยายามเพื่อให้ได้มาซึ่งสถานภาพทางสังคม
หรือรางวัลที่แสดงถึงความสำเร็จในในหน้าที่การงาน เช่นการได้รับการเลื่อนตำแหน่งหน้าที่การงาน
การได้เลื่อนขั้นเงินเดือน
ความต้องการที่จะตระหนักถึงความสามารถสูงสุดที่แท้จริงของตนเอง ซึ่งเมื่อค้นพบแล้ว
ว่าตนเองมีความสามารถหรือศักยภาพในด้านใด ก็จะพยามยามพาตนเองให้ให้ก้าวไป
สู่เป้าหมายอันนั้น เช่นการก้าวไปเป็นนักแสดงหรือนักกีฬาที่มีชื่อเสียงระดับโลก
จากทฤษฏีต่างๆที่กล่าวมาทำให้เข้าใจถึงธรรมชาติของมนุษย์ได้ส่วนหนึ่ง แนวคิดของแต่ละ
ทฤษฏีไม่สามารถอธิบายคำตอบได้ในทุกพฤติกรรม ดังนั้นการที่จะรู้พฤติกรรมของมนุษย์ได้
ในทุกด้านจึงจำเป็นต้องศึกษาทฤษฏีที่เกี่ยวข้องดังที่กล่าวมา
การอยู่ร่วมกับผู้อื่น
จากที่ได้ทราบแล้วว่าพฤติกรรมมนุษย์เป็นสิ่งที่ซับซ้อน มนุษย์มีศักยภาพที่จะพัฒนาตนเอง มนุษย์สามารถ
เปลี่ยนแปลงได้โดยอาศัยเวลาในการเรียนรู้ จุดมุ่งหมายที่สำคัญในการทำความเข้าใจกับพฤติกรรมมนุษย์ก็คือ การพยายามที่จะปรับเปลี่ยนและพัฒนารูปแบบพฤติกรรมทั้งของตนเองและของผู้อื่นซึ่งอยู่ร่วมกับเราในสังคม
ให้เป็นไปในทิศทางที่เหมาะสม การอยู่ในสังคมจำเป็นต้องใช้การเรียนรู้ซึ่งกันและกัน เพราะในชีวิตประจำวัน
มนุษย์นั้นไม่ได้อยู่เพียงคนเดียว แต่ต้องมีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่นซึ่งเป็นสิ่งแวดล้อม เมื่อมนุษย์อยู่ร่วมกันเป็นกลุ่ม
กลุ่มจะมีอิทธิพลทำให้ เกิดพฤติกรรมหลายๆด้านขึ้นอันได้แก่
ปทัสถานของกลุ่ม คือเกิดข้อตกลงว่าพฤติกรรมใดเป็นที่ยอมรับหรือไม่เป็นที่ยอมรับของกลุ่ม
เช่นการแต่งชุดดำไปงานศพ การเคารพธงชาติเวลา 8.00 น.
แรงบีบคั้นภายในกลุ่ม คือสถานการณ์ที่ทำให้คนส่วนใหญ่ต้องทำตามปทัสถานของ กลุ่ม
เช่นแรงบีบคั้นที่เป็นการตำหนิติเตียนผู้ที่มีความคิดเห็นขัดแย้งกับกลุ่มหรือ การชื่นชมผู้ที่มี
ความคิดเห็นคล้อยตามความคิดเห็นของกลุ่ม
การแก้ปัญหาในกลุ่ม ภายในกลุ่มจะเกิดการปะทะสังสรรค์และเป็นผลทำให้มีปัญหา
ต่างๆตามมา การแก้ปัญหาจึงเป็นพฤติกรรมที่เกิดขึ้นในกลุ่ม โดยทำให้เกิดการระดมสมอง
เพื่อคิดแก้ไขปัญหา
การกล้าเสี่ยงในการตัดสินใจ หากการตัดสินใจใดเป็นการตัดสินใจร่วมกันของกลุ่มแล้ว
สมาชิกของกลุ่มก็มีแนวโน้มว่าจะรับว่าตนเองมีส่วนในการตัดสินใจนั้น ในอีกทางหนึ่งก็คือเป็น
การเฉลี่ยความรับผิดชอบกันหลายๆคน
การอยู่ร่วมกับผู้อื่นอย่างมีความสุข
เมื่อเข้าใจพฤติกรรมมนุษย์ และเข้าใจพฤติกรรมกลุ่มแล้ว ก็จะทำให้เข้าใจพฤติกรรมที่มนุษย์แต่ละ
คนแสดงออกทั้งโดยส่วนตัวและขณะอยู่ในกลุ่ม ซึ่งในชีวิตประจำวันของเราต้องมีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น
และพยายามทำความเข้าใจพฤติกรรมที่เกิดขึ้นระหว่างเขาและเราตลอดเวลา วิธีการที่จะทำให้เราเข้าใจ
ผู้อื่นมากยิ่งขึ้นและสามารถอยู่ร่วมกันได้อย่างมีความสุขก็คือ
การยอมรับในความแตกต่างของมนุษย์ มนุษย์ทุกคนมีความเป็นเอกลักษณ์ของตนเองและ
มีความแตกต่างกันทั้งสถานภาพ ภูมิหลัง ค่านิยม การอบรมเลี้ยงดูจากครอบครัว
หากเรายอมรับเราต้องหลักการข้อนี้ได้ เราก็จะคาดหวังจากผู้อื่นให้เป็นอย่างที่ใจเราต้องการน้อยลง
การยอมรับในความสามารถของมนุษย์ มนุษย์ทุกคนพยายามที่จะพัฒนาตนเองให้สู่สิ่งที่ดี
ขึ้นเสมอ แต่บางครั้งขาดโอกาส ความรู้และแรงกระตุ้น ดังนั้นหากมีการให้โอกาสกับเขาได้
แสดงความคิดเห็นในการตัดสินใจของกลุ่ม กระตุ้นให้เกิดการเรียนรู้ ก็จะทำให้กลุ่มได้ประโยชน์จาก
เขาและมีความรู้สึกที่ดีร่วมกัน
การยอมรับในศักดิ์ศรีและความเท่าเทียมของมนุษย์ มนุษย์ทุกคนมีความภาคภูมิใจ
ในตนเองเป็นพื้นฐาน ดังนั้นหากจะให้เกิดความเปลี่ยนแปลงความคิดและการกระทำใดๆก็ตาม
ก็จะต้องเริ่มต้นขึ้นจากความต้องการของคนๆนั้นเป็นสำคัญโดยเขาต้องตระหนักและเกิดจากการ
ตัดสินใจด้วยตนเอง
ดังนั้นหากต้องการให้ความสัมพันธ์ระหว่างเราและผู้อื่นเป็นไปด้วยดี ควรเริ่มต้นจากการ
ยอมรับในศักดิ์ศรี ไม่ใช้คำพูดหรือกริยาในอันที่จะลดคุณค่าและศักดิ์ศรีของผู้อื่น
<<
PREVIOUS
ความเข้าใจในชีวิตตนเอง
ความเข้าใจผู้อื่น
บทนำ
I
บทที่ 1
I
บทที่ 2
I
บทที่ 3
I
บทที่ 4
I
บทที่ 5
I
บทที่ 6
I
บทสรุป
กลับไปหน้าแรก
I
แนะนำรายวิชา
I
วิธีการเรียน
I
กิจกรรมการเรียน
I
แบบฝึกหัด
I
ติดต่อผู้สอน