|
หลักและทฤษฏีการสื่อสาร |
|
กมลรัฐ
อินทรทัศน์ |
|
พรทิพย์
เย็นจะบก |
|
|
|
การสื่อสาร |
|
ชีวิตเป็นเรื่องของการเรียนรู้และสิ่งหนึ่งที่สำคัญและต้องมีการเรียนรู้คือ
ความสัมพันธ์
หรือ มนุษยสัมพันธ์ เพราะทุกสิ่งทุกอย่างในโลกนี้มักเป็นบทเรียนของกันและกัน
ถ้าไม่ใส่ใจ
เรียนรู้ซึ่งกันและกันก็จะอยู่ในโลกนี้ด้วยความยากลำบาก
เพราะชีวิตจะมีคุณค่าและ
รู้สึกมีความสุขเมื่อได้แสดงออกอย่างที่รู้สึก มีโอกาสเรียนรู้เรื่องราวและสิ่งใหม่ๆ
ตามที่เราต้องการ |
|
|
|
ดังนั้นความสำเร็จของมนุษย์ในการดำรงชีวิตทั่วไป
จึงมักมีข้อกำหนดไว้อย่างกว้างๆว่า
เราจะต้องเข้ากับคนที่เราติดต่อด้วยให้ได้ และต้องเข้าให้ได้ดี
ด้วยการเรียนรู้ที่จะสร้าง
ความสัมพันธ์ร่วมกัน โดยอาศัยวิธีการสื่อสารและหลักจิตวิทยา
ความสัมพันธ์ระหว่าง
มนุษย์โดยทั่วไปมักถูกมองว่าเป็นเรื่องของศิลปะ(Arts)
มากกว่าศาสตร์(Science)
ซึ่งก็หมายความว่า การเรียนรู้เกี่ยวกับความสัมพันธ์ของบุคคลแต่เพียงอย่างเดียว
โดยขาดศาสตร์ของการสื่อสาร ย่อมขาดศิลปะในการนำไปปรับใช้ในชีวิตจริงให้
ประสบความสำเร็จได้ |
|
|
|
ความหมายของการสื่อสาร |
|
ได้มีนักวิชาการหลายท่านให้ความหมายของการสื่อสารไว้ในหลายแง่มุม
เช่น |
|
|
|
|
|
จอร์จ
เอ มิลเลอร์ |
: เป็นการถ่ายทอดข่าวสารจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่ง |
|
จอร์จ
เกิร์บเนอร์ |
:
เป็นการแสดงกริยาสัมพันธ์ทางสังคมโดยใช้สัญลักษณ์และระบบสาร |
|
วิลเบอร์
ชแรมส์ |
:
เป็นการมีความเข้าใจร่วมกันต่อเครื่องหมายที่แสดงข่าวสาร |
|
|
|
|
|
ซึ่งสามารถสรุปให้เข้าใจได้ง่ายๆคือ
การถ่ายทอดข้อมูลข่าวสารจากบุคคลฝ่ายหนึ่งที่
เรียกว่าผู้ส่งสารไปยังยังบุคคลอีกฝ่ายหนึ่งที่เรียกว่าผู้รับสารโดยผ่านช่องทางในการสื่อสาร |
|
|
|
โดยมีองค์ประกอบที่สำคัญคือ
ผู้ส่งสาร(Sender) สาร(Message)
ช่องทาง(Channel) และตัวผู้รับสาร(Reciever) ซึ่งมักเรียกกันว่า
SMCR |
|
|
|
|
|
วัตถุประสงค์ของการสื่อสาร |
|
การสื่อสารในชีวิตของแต่ละบุคคลนั้นล้วนมีวัตถุประสงค์ที่แตกต่างกันออกไป
และส่งผลต่อการดำเนินชีวิตได้คือ ทำให้ไม่รู้สึกโดดเดี่ยว
ทำให้ทราบการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น
สร้างความสัมพันธ์ทางสังคม ทำให้เกิดการแสดงออก ทำให้เกิดการพักผ่อนหย่อนใจ
ทำให้เกิดการเรียนรู้ ทำให้เกิดกำลังใจ(หาภาพประกอบแต่ละประเภท) |
|
|
|
|
|
ประเภทของการสื่อสาร |
|
|
การสื่อสารภายในบุคคล(Intrapersonal
Communication) |
|
การคิดหรือจินตนาการกับตัวเอง
เป็นการคิดไตร่ตรองกับตัวเอง
ก่อนที่จะมีการสื่อสาร ประเภทอื่นต่อไป |
|
การสื่อสารระหว่างบุคคล(Interpersonal
Communication) |
|
การที่บุคคลตั้งแต่
2 คนขึ้นไปมาทำการสื่อสารกันอย่างมีวัตถุประสงค์
เช่นการพูดคุย ปรึกษาหารือในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง |
|
การสื่อสารกลุ่มย่อย(Small-group)
Communication) |
|
การสื่อสารที่มีบุคคลร่วมกันทำการสื่อสารเพื่อทำกิจกรรมร่วมกันแต่จำนวน
ไม่เกิน 25 คนเช่นชั้นเรียนขนาดเล็ก ห้องประชุมขนาดเล็ก |
|
การสื่อสารกลุ่มใหญ่(Large-group
Communication) |
|
การสื่อสารระหว่างคนจำนวนมาก
เช่นภายในห้องประชุมใหญ่ โรงภาพยนตร์
โรงละคร ชั้นเรียนขนาดใหญ่ |
|
การสื่อสารในองค์กร(Organization
Communication) |
|
การสื่อสารระหว่างสมาชิกภายในหน่วยงาน
เพื่อปฏิบัติงานให้สำเร็จลุล่วง
เช่นการสื่อสารระหว่าเพื่อนร่วมงาน เจ้านายกับลูกน้อง |
|
การสื่อสารมวลชน(Mass Communication) |
|
การสื่อสารกับคนจำนวนมากในหลายๆพื้นที่พร้อมกัน
โดยใช้สื่อมวลชน
เช่น หนังสือพิมพ์ นิตยสาร วิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์เป็นสื่อกลาง
เหมาะสำหรับการส่งข่าวสารไปยังผู้คนจำนวนมากๆในเวลาเดียวกัน |
|
การสื่อสารระหว่างประเทศ(International
Communication) |
|
การสื่อสารระหว่างบุคคลที่มีความแตกต่างกันใน
เชื้อชาติ ภาษา วัฒนธรรม
การเมืองและสังคม เช่นการสื่อสารทางการทูต การสื่อสารเจรจาต่อรองเพื่อการทำธุรกิจ |
|
|
|
|
|
|
ประสิทธิภาพของการสื่อสาร |
|
ตามองค์ประกอบของการสื่อสาร
ทำให้เห็นว่ามีปัจจัยหลายประการที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพ
ของการสื่อสารได้ ดังนั้นจึงควรต้องทำความเข้าใจเกี่ยวกับองค์ประกอบต่างเพื่อช่วย
ในการวางแผนการสื่อสาร โดยสามารถศึกษาได้จากแบบจำลองการสื่อสารของเบอร์โล |
|
|
|
|
|
จากแนวคิดของเบอร์โล
ได้พูดถึงองค์ประกอบต่างไว้ดังนี้ |
|
|
|
ผู้ส่งสาร
และผู้รับสาร (Sender and Receiver)ในตัวผู้ส่งสารและผู้รับสารเองก็มีองค์ประกอบ
ที่สามารถช่วยให้การสื่อสารประสบความสำเร็จได้ อันได้แก่
ทักษะในการสื่อสาร
(Communication skill)อันประกอบด้วยการพูด การฟัง การอ่าน
การเขียนและยังรวมถึง
การแสดงออกทางท่าทางและกริยาต่างเช่นการใช้สายตา การยิ้ม
ท่าทางประกอบ และสัญลักษณ์ต่าง
การฝึกฝนทักษะการสื่อสาร และรู้จักเลือกใช้ทักษะจะช่วยส่งผลให้ประสบความสำเร็จในการสื่อสาร
ได้ทางหนึ่ง ถัดมาก็คือทัศนคติ(Attitude)การมีที่ดีทัศนคติที่ดีต่อการสื่อสาร
ไม่ว่าจะเป็นต่อตนเอง
ต่อเรื่องที่ทำการสื่อสาร หรือแม้กระทั่งต่อช่องทางและตัวผู้รับสารและในทางกลับกันทัศนคติของ
ผู้รับสารที่มีต่อองค์ประกอบต่างๆก็สามารทำให้การสื่อสารมีประสิทธิภาพได้
ในทางตรงกันข้ามหากว่า
มีทัศนคติที่ไม่ดีแล้วก็ย่อมทำให้เกิดความล้มเหลวได้เช่นกัน
นอกจากนี้ความรู้(Knowledge)ของตัวผู้ส่งสารและผู้รับสารเองก็มีผลต่อการสื่อสาร
ทั้งความรู้ในเนื้อหาที่จะสื่อสารถ้าไม่รู้จริงก็ไม่สามารถสื่อสารให้ชัดเจนหรือทำให้ผู้รับสาร
เข้าใจได้ ผู้รับสารเองหากขาดความรู้ก็ไม่สามารถทำความเข้าใจตัวสารได้
อีกด้านหนึ่งก็คือ
ความรู้ในกระบวนการสื่อสาร ถ้าไม่รู้ในส่วนนี้ก็ไม่สามารถวางแผนทำการสื่อสาร
ให้สำเร็จได้เช่นกัน ในด้านสุดท้ายก็คือ สถานภาพทางสังคมและวัฒนธรรม
(Social and Culture) สถานภาพของตัวเองในสังคมเช่นตำแหน่งหรือหน้าที่การงาน
จะมามีส่วนกำหนดเนื้อหาและวิธีการในการสื่อสาร ด้านวัฒนธรรมความเชื่อ
ค่านิยม วิถีทางในการดำเนินชีวิตก็จะมีส่วนในการกำหนดทัศนคติ
ระบบความคิด ภาษา
การแสดงออกในการสื่อสารด้วยเช่นกัน เช่นสังคมและวัฒนธรรมของเอเชียและยุโรป
ทำให้มีรูปแบบการสื่อสารที่ต่างกัน หรือแม้กระทั่งสังคมเมืองกับสังคมชนบท
ก็มีความแตกต่างกัน |
|
|
|
สาร(Message)
ตัวสารก็คือ เนื้อหา ข้อมูล หรือความคิดที่ถูกถ่ายทอดไปยังผู้รับสาร
ซึ่งก็จะมีองค์ประกอบอยู่คือ การเข้ารหัส(Code) จะเป็นกลุ่มของสัญลักษณ์ที่ถูกสร้างขึ้น
เพื่อใช้สื่อความหมาย เนื้อหา (Content) ก็คือเนื้อหาสาระที่ถูกถ่ายทอดไปยังผู้รับสาร
และอีกส่วนหนึ่งก็คือ การจัดสาร(Treatment) เป็นการเรียบเรียงรหัส
และเนื้อหาให้ถูกต้อง
เหมาะสม ได้ใจความ |
|
|
|
ช่องทาง(Channel)
ช่องทางและสื่อจะเป็นตัวเชื่อมผู้ส่งสารและผู้รับสารเข้าด้วยกัน
การเลือใช้สื่อสามารถเป็นตัวลดหรืเพิ่มประสิทธิภาพการสื่อสารได้
ในการเลือกสื่อต้องพิจารณา
ถึงความสามารของสื่อในการนำสารไปสู่ประสาทสัมผัศหรือช่องทางในการรับสาร
ซึ่งก็ได้แก่
การเห็น การได้ยิน การสัมผัส การได้กลิ่น การลิ้มรส |
|
|
|
|