MENU
แนะนำรายวิชา
วิธีการเรียน
กิจกรรมการเรียน
ทรัพยากรการเรียน
แบบฝึกหัด
คณะผู้สอน
ติดต่อผู้สอน
   
SITE
 
  หลักและทฤษฏีการสื่อสาร การสื่อสารระหว่างบุคคล
   
 
การสื่อสารระหว่างบุคคล
 
                              กมลรัฐ อินทรทัศน์
 
 พรทิพย์ เย็นจะบก
 
  องค์ประกอบพื้นฐานในการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล
      หลักพื้นฐานในการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลก็คือเพื่อความประทับใจร่วมกัน ความรักใคร่
ความชอบพอกัน เป็นมิตรกัน เป็นหนทางที่นำไปสู่มิตรภาพ การใช้ชีวิตร่วมกัน ตลอดจนการทำงาน
ร่วมกันโดยความสัมพันธ์ของบุคคลเกิดจากองค์ประกอบ 3 ประการคือ
 
 
     ความใกล้ชิด การที่บุคคลอยู่ใกล้ชิดกันจะก่อให้เกิดความสัมพันธ์มากกว่าบุคคลที่อยู่ห่างไกลกัน
     ความเหมือนกันหรือความคล้ายกัน ซึ่งโดยทฤษฏีแล้วมนุษย์มีแนวโน้มที่จะสร้างความสัมพันธ์
และมีความชอบพอกับคนที่มีความเหมือนหรือคล้ายกับตัวเอง
     สถานการณ์เป็นอีกตัวแปรหนึ่งที่ทำให้มนุษย์  เกิดความสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน เช่นการมีโอกาสได้
แลกเปลี่ยนความรู้สึกที่ดีร่วมกัน การมีโอกาสได้ปรับตัวเข้ากับบุคคลอื่น ความกระตือรือร้น
ในการที่จะพบปะกับผู้อื่น การถูกแยกตัวออกจากสังคมนานๆ และการเติมเต็มความต้องการ
ของกันและกัน
   
 
  บทบาทหน้าที่ของการสื่อสารระหว่างบุคคล
      โดยทั่วไปแล้วการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพในการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลนั้น
จะหมายถึงความใกล้ชิด ความสัมพันธ์ และความสอดคล้องกันของผู้ส่งสาร แหล่งข้อมูลกับผู้รับสาร
อันนำไปสู่ความหมายที่ร่วมกันสมบูรณ์แบบ ดังนั้นการสื่อสารระหว่างบุคคลจึงมีขึ้นเพื่อ
 
     
     การสร้างความเข้าใจร่วมกัน ก็คือการสื่อสารที่ทุ่งเน้นให้ผู้ที่สื่อสารเข้าใจเนื้อหาหรือข้อมูล
ร่วมกันอย่างถูกต้อง ลักษณะเช่นการสื่อสารภายในองค์การเพื่อการปฏิบัติงานร่วมกัน
 
     การสื่อสารเพื่อสร้างความชื่นชอบ การสื่อสารโดยทั่วไปมิใช่มุ่งเฉพาะสื่สารแต่ข้อมูล
ข่าวสารเท่านั้น การมีอารมณ์ร่วมและความพึงพอใจ จะช่วยสร้างสัมพันธภาพและ
ความรู้สึกชื่นชอบในการสื่อสารซึ่งกันและกัน
 
     การสื่อสารเพื่อสร้างอิทธิพลต่อการมีทัศนคติร่วมกัน ความล้มเหลวในการสื่อสารบางครั้งเกิด
จากความไม่เข้าใจในความคิดและทัศนคติที่แตกต่างกัน ดังนั้นการจะสร้างความเข้าใจร่วมกัน
ให้ตรงกันจึงจะทำให้สามารถดำเนินชีวิตอยู่ร่วมกันได้
 
     การสื่อสารเพื่อยกระดับความสัมพันธ์ ปัจจัยที่สำคัญอีกประการหนึ่งที่สามารถส่งผลต่อ
ความสำเร็จในการสื่อสารก็คือความรู้สึกที่ดีต่อกัน ดังนั้นการสื่อสารเพื่อสร้างความสัมพันธ
์ระหว่างกันจะช่วยให้การสื่อสารในครั้งต่อๆไปมีประสิทธิภาพมากขึ้น
 
     การสื่อสารเพื่อทำให้เกิดการกระทำตามความต้องการ ในการสื่อสาร วัตถุประสงค์อันหนึ่งที่มัก
จะเกิดตามขึ้นมาก็คือการสร้างความมุ่งหมายร่วมกันเพื่อให้เกิดความคิดเห็นร่วมกัน
และการกระทำร่วมกันในสิ่งที่ต้องการ
 
     
 
  การสื่อสารเพื่อความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล
      โดยทั่วไปมนุษย์เราจะสื่อสารเพื่อสร้างความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลก็ต่อเมื่อ มีบรรยากาศของ
ความไว้ใจกัน ความเข้าใจกัน โดยความสัมพันธ์ของมนุษย์สามารแบ่งได้เป็น 2 ประเภทก็คือ
ความสัมพันธ์ด้านกายภาพ(Physical Relationship) เช่นการอาศัยอยู่ในพื้นที่เดียวกัน กลุ่มเดียวกัน
หรือที่ทำงานเดียวกัน อีกประเภทหนึ่งก็คือความสัมพันธ์ด้านสภาพแวดล้อมทางสังคมและจิตใจ
(Climate or Social-Psychological Relationship) โดยความสัมพันธ์จะพัฒนาขึ้นได
้จะ ต้องประกอบด้วยองค์ประกอบคือ
 
 
     สภาพแวดล้อมทางสังคมและจิตใจ การสร้างบรรยากาศของการสื่อสารให้เอื้อและสนับสนุน
ผู้ที่เกี่ยวข้องกับการสื่อสารจะช่วยเกิดการสร้างความสัมพันธ์ที่ดีขึ้น เช่นการเป็นเพื่อนเก่ากัน
การเคยพบปะกันมาก่อน เคยทำงานงานร่วมกัน หรือแม้กระทั่งการเข้าอกเข้าใจกัน
     ระยะเวลา ในการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างกันเวลาจะเป็นองค์ประกอบ ที่ทำให้เกิด
ความสัมพันธ์เพิ่มมากขึ้น ยิ่งเวลานานขึ้น ก็จะทำให้เกิดความเข้าใจร่วมกัน ไว้วางใจซึ่งกันและกัน
     การแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารร่วมกัน การแลกเปลี่ยนข่าวสารของมนุษย์เพื่อสร้างความสัมพันธ์
์ระหว่างกัน สามารถแบ่งได้เป็น 2 แบบคือ แลกเปลี่ยนข้อมูลกันในแนวกว้าง(Breadth)
และแนวลึก(Depth) ในแนวกว้างนั้นจะเป็นการแลกเปลี่ยนข้อมูลทั่วๆไปในระดับผิวเผิน
เช่นเพิ่งรู้จักกันก็จะคุยกันในหัวข้อที่หลากหลายออกกี่ยวกับดินฟ้าอากาศ อาหาร การท่องเที่ยว
แต่ถ้าเป็นแนวลึกก็จะเป็นเรื่องที่เป็นส่วนตัวมากขึ้น อาจเกี่ยวกับครอบครัวและหน้าที่การงาน
ซึ่งจะเกิดการสื่อสารขึ้นในแบบใดนั้นก็ขึ้นอยู่กับว่าผู้สื่อสารมีความตั้งใจที่จะให้เกิดความสัมพันธ์
ขึ้นในระดับใด
     การไว้วางใจซึ่งกันและกัน การที่บุคคลมีความไว้ใจ รู้สึกปลอดภัย สบายใจ ต่อบุคคลใดบุคคลหนึ่ง
ก็มีแนวโน้มที่ทำให้เกิดความสัมพันธ์ได้ง่ายขึ้น
     ความรักและการควบคุมซึ่งกันและกัน ความรัก ความเกลียด การควบคุม การชี้นำ
การช่วยเหลือกัน การร่วมมือกัน สามารถส่งผลให้เกิดความสัมพันธ์ได้ใน 2 แบบคือ
การพึ่งพาซึ่งกันและกัน คือทั้งสองฝ่ายได้รับการตอบสนองจุดมุ่งหมายร่วมกันจากความสัมพันธ์และ
ได้รับผลประโยชน์ทั้งคู่ ในอีกแบบก็คือความสัมพันธ์แบบถาวร โดยการสื่อสารที่เกิดขึ้นบ่อยๆ
จะช่วยสร้างความสัมพันธ์ที่เกิดให้ยืนยาวขึ้น
   
 
  พลวัตของความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล
  ในการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล ก็จะมีการเปลี่ยนแปลงความสัมพันธ์เกิดขึ้น
ซึ่งโดยเหตุผลทั่วไป ก็จะมีอยู่ 3 ขั้นตอนคือ
 
 
     ขั้นการเริ่มสร้างความสัมพันธ์ ถือเป็นขั้นตอนแรกของการสร้างความสัมพันธ์เพื่อที่จะสร้าง
ความคุ้นเคยก่อนนำไปสู่ความสัมพันธ์ที่ลึกซึ้งต่อไป ซึ่งก็จะเป็นการพูดคุยหรือสนทนา
ในเรื่องสัพเพเหระทั่วๆไป
     ขั้นการรักษาความสัมพันธ์ให้ยืนยาว หลังจากที่เกิดความสัมพันธ์ขึ้นแรกก็จะก้าวเข้าสู่ขั้นของ
การรักษาความสัมพันธ์นั้นไว้ เพื่อให้เกิดความยั่งยืนและสมบูรณ์แบบ ซึ่งเป็นขั้นตอนที่ทำได้ยาก
และต้องใช้ความพยายาม และมักจะต้องสร้างความสมดุลระหว่างบุคคลให้เกิดขึ้น เพื่อให้เข้าใจ
ซึ่งกันและกัน และยังต้องใช้การเติมเต็มความคาดหวังซึ่งกันและกันทำให้เกิดความรู้สึกทางบวก
ต่อกันและกัน ก็จะรู้สึกมีความคุ้มค่าที่ได้มีความสัมพันธ์กัน
     ขั้นหยุดหรือเลิกความสัมพันธ์ที่มีต่อกัน ขั้นตอนนี้นับเป็นขั้นถดถอยหลังจากที่เกิดความสัมพันธ์
ในขั้นสูงสุดแล้ว โดยจะเป็นการยุติความสัมพันธ์ แบ่งออกได้เป็น 2 ลักษณะคือ การบอกหยุด
ความสัมพันธ์ โดยทางตรง(Directness) ซึ่งเป็นการให้เหตุผลโดยตรงและอาจทำให้เป็นการ
ทำร้ายจิตใจอีกฝ่ายหนึ่งได้ อีกลักษณะหนึ่งคือการบอกหยุดความสัมพันธ์โดยทางอ้อม
(Indirectness)เป็นการให้เหตุผลทางอ้อม เพื่อเลี่ยงการทำร้ายความรู้สึกของอีกฝ่ายหนึ่ง
   
 
  ลักษณะการสื่อสารเพื่อสร้างความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล
 
   
การเริ่มสร้างความสัมพันธ์
  ในการสร้างความสัมพันธ์กับผู้อื่นนั้น มีขั้นตอนที่เกี่ยวข้องอยู่หลายประการที่จะสามารถช่วย
ให้เกิดความสัมพันธ์ เช่น การมีทัศนคติที่ดีต่อตัวเราเองเข้าใจตัวเอง การใช้ภาษาที่ดีทั้งคำพูด
และกริยาการแสดงออก ความมั่นใจในการเริ่มต้นสนทนา การจดจำชื่อและให้ความสำคัญคู่สนทนา
การเป็นผู้ฟังที่ดี การเปิดเผยตัวเองเพื่อให้ผู้อื่นรู้จักตัวตนของเรา
   
  การสานต่อความสัมพันธ์
  หลังจากที่เกิดความสัมพันธ์ขึ้นแล้ว ควรจะต้องรักษาความสัมพันธ์นั้นไว้ ซึ่งก็ก็มีหลายวิธีการ
ที่ควรทำเช่น การสนใจเอาใจใส่ซึ่งกันและกัน เห็นอกเห็นใจกัน การให้อภัยซึ่งกันและกัน
ยอมรับข้อบกพร่องของอีกฝ่ายหนึ่ง เคารพสิทธิหน้าที่ และการให้ความรักความเอื้ออาทร ก็สามารถ
ช่วยให้รักษาความสัมพันธ์ไว้ได้
   
  ลักษณะการสื่อสารเพื่อถนอมความสัมพันธ์ให้ยืนยาว
  การถนอมความสัมพันธ์ให้ยืนยาวเป็นสิ่งที่ทำได้ไม่ยาก หากแต่ว่าควรต้องเข้าใจและเห็นความสำคัญ
เช่นรู้จักมีเวลาให้แก่กันและกัน มองกันในแง่ดี มีอารมณ์ขันบ้าง รักษาสัญญาและชมคนอื่นให้เป็น
การไม่วิพากษ์วิจารณ์คนอื่น เข้าใจความเป็นจริงของชีวิต ก็เป็นหนทางที่ช่วยถนอมความสัมพันธ์ได้
 
   
 
  หลักและทฤษฏีการสื่อสาร การสื่อสารระหว่างบุคคล
 
 
 
 
 
     
 
บทนำ Iบทที่ 1 I บทที่ 2 I บทที่ 3 I บทที่ 4 I บทที่ 5 I บทที่ 6I บทสรุป
กลับไปหน้าแรก I แนะนำรายวิชา I วิธีการเรียน I กิจกรรมการเรียน I แบบฝึกหัด I ติดต่อผู้สอน