Abstract
ความจริงเสมือนในระดับฝังตัวโดยสมบูรณ์คือปรากฏการณ์ซึ่งเกิดจากกระบวนการสังเคราะห์การกระตุ้นประสาทรับรู้ของร่างกายของสิ่งมีชีวิตการกระตุ้นที่สมจริงสามารถทำให้ระบบประสานส่งข้อมูลไปยังสมองจนเชื่อว่าประสบการณ์ที่เกิดขึ้นเป็นเรื่องจริง ปัจจุบันระบบความจริงเสมือนได้มีการพัฒนาเป็นอย่างมากจนสามารถสร้างประสบการณ์เสมือนจริงให้กับผู้ใช้ในระดับฝังตัวเต็ม ระบบดังกล่าวประกอบด้วยอุปกรณ์หลายชนิดได้แก่จอแสดงผลชนิดสวมศรีษะ ลู่เดินชนิดรอบทิศทาง หน่วยประมวลผลทางฟิสิกส์ และ ซอฟต์แวร์จำลองสถานะการณ์ ระบบดังกล่าวสามารถนำมาประยุกต์ใช้ในกระบวนการออกแบบระหว่างผู้ออกแบบเชิงเทคนิคและผู้ใช้ขั้นปลายในลักษณะการทำงานที่มีการประสานงานแบบเสมือนจริง อย่างไรก็ตามในการสร้างระบบดังกล่าวให้มีประสิทธิภาพนั้นมีตัวแปรที่เกี่ยวข้องซึ่งต้องศึกษาหลายประการด้วยกัน
ในงานวิจัยนี้ได้นำเสนอกระบวนศึกษาตัวแปรสภาวะแวดล้อมของระบบที่เหมาะสมในการสร้างระบบความจริงเสมือนชนิดสัมผัสเต็มโดยใช้การทดลองกับกลุ่มตัวอย่างและประมวลผลในเชิงคุณภาพและปริมาณ โดยมีกรณีศึกษาเป็นระบบอาคารเสมือนจริงซึ่งได้ข้อมูลจากแบบจำลองสารสนเทศอาคาร
การนำเสนอความก้าวหน้าของผลงานวิจัย Fully Immersive Virtual Reality วันที่ 4 พฤษภาคม 2559 ที่คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
ลู่เดินรอบทิศทาง Omni-direction Treadmill
การสร้าง Digital Avatar ของผู้ใช้งาน
ผลการศึกษา Level of Present
อ้างอิง
กระบวนการสื่อสารการออกแบบจากแบบจำลองสารสนเทศอาคารโดยใช้ระบบต้นแบบเสมือนจริง ศิรเดช สุริต การประชุมวิชาการวิศวกรรมโยธาแห่งชาติ ครั้งที่ 20, วันที่ 8-10 กรกฏาคม 2558 จ. ชลบุรี.
การใช้ ระบบ Fully Immersive VR ในการเรียน ในหลักสูตร วท.บ. เทคโนโลยีทางอาคาร คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ม.เกษตร