ในอุตสาหกรรมการก่อสร้างเทคโนโลยีหนึ่งซึ่งเข้ามามีบทบาทเป็นอย่างยิ่ง ทั้งในกระบวนการประสานการข้อมูลการออกแบบอาคาร และการจำลองสถานการณ์ คือ แบบจำลองสารสนเทศอาคาร (Building Information Modeling, BIM) ซึ่งเป็นการรวมแนวคิดการออกแบบโดยใช้ตัวแปรระบุค่า (Parametric Design) ร่วมกับแนวคิดการสร้างแบบจำลองเชิงวัตถุ (Object oriented Modeling) เข้ากับกระบวนการออกแบบอาคารในปริภูมิสามมิติ
ข้อดีในการนำแบบจำลองสารสนเทศอาคาร มาใช้ในองค์กรคือช่วยลดความซ้ำซ้อน และลดความผิดพลาดในการสื่อสารระหว่างกระบวนการออกแบบ โดยผู้ซึ่งเกี่ยวข้องกับกระบวนการออกแบบในองค์กร ได้แก่ วิศวกรโยธา วิศวกรเครื่องกล สถาปนิก สามารถทำงานร่วมกันภายใต้แบบจำลองคอมพิวเตอร์ซึ่งใช้ฐานข้อมูลเดียวทำให้เห็นปัญหาหรือความขัดแย้งซึ่งอาจเกิดในระหว่างการก่อสร้างและระงับปัญหานั้นๆ ได้ก่อนที่จะเกิดความเสียหายจนยากที่จะแก้ไข จนถึงในระดับเอกสารจากการที่ใช้การสร้างแบบจำลองเชิงวัตถุร่วมกับระบบฐานข้อมูล
ปฏิสัมพันธ์ของ VR การจำลองสถานการณ์และผู้ใช้งาน
ซึ่งหากกระบวนการสร้างแบบจำลองได้ถูกต้องตามหลักการกระบวนการทางเอกสารการก่อสร้างสามารถเกิดขึ้นในลักษณะกึ่งอัตโนมัติและปราศจากความผิดพลาดจากปัจจัยมนุษย์ซึ่งประโยชน์จากการใช้งานแบบจำลองสารสนเทศอาคารสามารถสรุปได้ดังต่อไปนี้
- ช่วยให้เห็นภาพลักษณ์ของการออกแบบได้แม่นยำและชัดเจนตั้งแต่ระยะแรกของการออกแบบ
- สามารถปรับปรุงแบบจำลองที่มีการเปลี่ยนแปลงรายละเอียดเล็กน้อยได้อย่างอัตโนมัติ
- สามารถสร้างแบบก่อสร้าง 2 มิติที่มีความแม่นยำและสอดคล้องกับแบบจำลอง 3 มิติ ในทุกขั้นตอนการออกแบบ
- มีการประสานองค์ความรู้จากทุกฝ่ายได้ตั้งแต่ขั้นต้นของกระบวนการออกแบบ
- สามารถประเมินมูลค่าโครงการได้ระหว่างกระบวนการออกแบบ
- เพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงานและความยังยืน
เนื่องจากแบบจำลองสารสนเทศทางอาคารเป็นแบบจำลองซึ่งประกอบด้วยข้อมูลแบบพารามิเตอร์ทำให้สามารถถ่ายทอดข้อมูลทางกายภาพ ทั้งด้านขนาดของชิ้นส่วนองค์อาคาร สมบัติทางกล (Mechanical) และ สมบัติทางอุณหพลศาสตร์ (Thermodynamics) ของวัสดุ ทำให้แบบจำลองมีความพร้อมในการเข้าสู่กระบวนการจำลองสถานการณ์ได้อย่างกว้างขวาง อาทิเช่น การจำลองพฤติกรรมทางกลศาสตร์โครงสร้าง การจำลองสถานการณ์การใช้พลังงานของอาคาร การจำลองเชิงทัศนศาสตร์ (Visualization) และการจำลองเชิงสวนศาสตร์ (Acoustic)
การพัฒนาระบบฐานข้อมูลแบบจำลองชิ้นส่วนอาคารสำหรับระบบ BIM (ขั้นที่ 1) ได้รับทุนวิจัยจาก การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย
วิทยากรอบรมแบบจำลองสารสนเทศทางอาคาร ให้กับ AE49