ค่าลงทะเบียน 24000 บาท / คน ระยะเวลาในการอบรม 2 วัน
ค่าลงทะเบียนรวมค่า
- อุปกรณ์สร้าง 3D Printer 1 ชุด อบรมเสร็จแล้วนำกลับได้เลย
- เอกสารประกอบการสอน
- ค่าอาหารกลางวัน และ อาหารว่าง วันละ 2 มื้อ ทั้ง 2 วัน
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ คุณเพ็ญศรี 091-726-8233
วันเสาร์ที่ 1 ตุลาคม 2559
09:00 – 10:00 หลักการทำงานของเครื่องพิมพ์ 3 มิติ
10:00 – 12:00 ปฏิบัติการสร้างเครื่องพิมพ์ 3 มิติ ชนิด xyz ช่วงที่ 1: Moving part
13:00 – 14:30 ปฏิบัติการสร้างเครื่องพิมพ์ 3 มิติ ชนิด xyz ช่วงที่ 2: Controller – Extruder และ Hot bed
14:30 – 16:00 ปฏิบัติการสร้างเครื่องพิมพ์ 3 มิติ ชนิด xyz และการตั้งค่าใช้งานเบื้องต้น
- ผู้เข้าอบรมต้องชำระค่าลงทะเบียนภายในวันที่ 15 กันยายน 2559
- ผู้เข้าอบรมต้องนำ Notebook มาเอง โดยมี Spec ขั้นต่ำที่แนะนำคือ
- ระบบปฏิบัติการ Windows
- ความเร็วหน่วยประมวลผล (processor) ไม่น้อยกว่า 2 GHz
- หน่วยความจำ (RAM) ไม่น้อยกว่า 8 GB .
- พื้นที่ว่างใน Hard-disk ไม่น้อยกว่า 700 MB
- การ์ดแสดงผล รองรับ OpenGL version 2.0 หรือมากกว่า.
- 3 button, scroll-wheel mouse.
- ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางหัวฉีด 0.4 mm (รองรับขนาด 0.2 mm) ความร้อนสูงสุด 280 องศาเซลเซียส
- ความละเอียด
- แกน x – y ความละเอียด 0.01 mm
- แกน z ความละเอียด 0.2 mm
- หัวฉีด 50 steps/mm
- ปริมาตรการพิมพ์ 200 mm x 200 mm x 180 mm (โดยประมาณ)
- การพิมพ์ : STL, G-Code
- วัสดุ : PLA, ABS, Nylon, Poly-carbonate
โดยผู้เข้าอบรมจะได้รับ SD Card 8 GB และ Filament 500 gram 2 ม้วน ต่อท่าน
ตัวอย่างการใช้งาน 3D Printer
สถานที่ฝึกอบรม
ศูนย์ประชุมมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (Kasetsart University Convention Center)
อาคารวิทยบริการ สำนักส่งเสริมและฝึกอบรม มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
ตำแหน่งสถานที่ใน Google Map
เครื่องพิมพ์ชนิด xyz เป็นเครื่องพิมพ์ซึ่งได้รับความนิยมเป็นอย่างสูงเนื่องจากให้พื้นที่การพิมพ์ที่มีขนาดใหญ่และมีความแม่นยำสูง จึงได้มีผู้เผยแพร่รูปแบบการสร้างเครื่องพิมพ์ 3 มิติชนิด xyz ออกมาเป็นจำนวนมากอย่างไรก็ตามในการที่จะสร้างเครื่องพิมพ์ 3 มิติด้วยตนเองนั้นมีองค์ประกอบที่สำคัญด้วยกัน 3 ประการคือ
- ความเข้าใจถึงการทำงานทางฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ของเครื่องพิมพ์ 3 มิติ
- ความชำนาญในการตั้งค่าระบบของเครื่องพิมพ์ 3 มิติเพื่อเพิ่มคุณภาพการพิมพ์
- ความสามารถในการสร้างแบบจำลอง 3 มิติในคอมพิวเตอร์และการนำส่งไปยังเครื่องพิมพ์
จากองค์ประกอบทั้งหมดที่กล่าวมาข้างต้นเพื่อให้เกิดประโยชน์ในวงกว้างกับผู้ที่สนใจในการใช้งานเครื่องพิมพ์ 3 มิติ ความรู้พื้นฐานที่จำเป็นจึงมีความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง จากประสบการณ์การใช้งานเครื่องพิมพ์ 3 มิติของผม ผมได้เล็งเห็นความสำคัญณจุดนี้จึงได้จัดการอบรมเชิงปฏิบัติการโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการการสร้างและใช้งานเครื่องพิมพ์ 3 มิติ ขึ้นมาเพื่อให้ความรู้กับ บุคลากร นิสิต และ บุคคลภายนอกทั่วไป ให้สามารถสร้างเครื่องพิมพ์ 3 มิติใช้งานตามความต้องการได้ มีความสามารถในการตั้งค่าการใช้งานเครื่องพิมพ์ 3 มิติ และมีความรู้พื้นฐานในการสร้างแบบจำลอง 3 มิติเพื่อการพิมพ์ในเครื่องพิมพ์ 3 มิติได้ โดยการอบรมแบ่งเนื้อหาออกเป็น 2 ส่วนคือการสร้างเครื่องพิมพ์ 3 มิติด้วยตนเอง และ ปฏิบัติการสร้างแบบจำลองและทำต้นแบบเร่งด่วน และมีการเสริมด้วยเนื้อหาการบรรยายในหัวข้อ การสร้างมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจโดยการใช้งานเครื่องพิมพ์ 3 มิติโดยโครงการอบรมใช้ระยะเวลาทั้งสิ้น 12 ชั่วโมง และมีโครงการต่อเนื่องซึ่งเกี่ยวข้องกับการสร้างแบบจำลองขั้นสูงให้ผู้ที่สนใจในระดับสูงได้ศึกษาหาความรู้ในลำดับต่อไป อันจะทำให้เกิดความเข้มแข็งทางด้านการวิจัยและส่งเสริมคุณค่าทางเศรษฐกิจดิจิตอลของประเทศอย่างเป็นวงกว้างในลำดับต่อไป
ดร.ศิรเดช สุริต
01.06.16