|
|
|
การเลือกคู่ครอง |
|
กาญจนา
ลุศนันทน์ |
|
|
|
|
|
ครอบครัวเป็นสถาบันหลักในการพัฒนาคุณภาพชีวิตของบุคคลตั้งแต่เกิดจนกระทั่งตาย
และในการดำเนินชีวิตนั้นก็มีปัจจัยต่างๆที่มีผลต่อการดำเนินชีวิตให้ราบรื่นและมีความสุข
เช่น การเลือกคู่ครองการรู้จักหน้าที่ของสามี ภรรยา บิดา
มารดา บุตร ตลอดจนการจัดการ
ทรัพยากรครอบครัว การแก้ไขวิกฤตปัญหาในครอบครัว ปัจจัยเหล่านี้จำเป็นต้องมีศาสตร์
และศิลปะในการจัดการ เมื่อครอบครัวมีความสุขสังคมจะมีคุณภาพ
และศิลปะการดำเนินชีวิต
ในครอบครัวจะเป็นศิลปะการดำเนินชีวิตในสังคมด้วย |
|
|
|
การเลือกคู่ครอง |
|
หญิงชายที่เจริญเติบโตจนถึงวัยหนุ่มสาว
จะเริ่มมีความสนใจและพึงพอใจต่อเพศตรงข้าม
ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นที่จะนำไปสู่การพัมนาความสัมพันธ์เชิงชู้สาว
และเมื่อความพึงพอใจทวีขึ้นจนถึง
ระดับที่กลายเป็นความรัก ก็ยิ่งเป็นสิ่งเร่งเร้าใจให้เกิดความผูกพันกับอีกฝ่ายมากขึ้นจนถึงการอยาก
ใช้ชีวิตร่วมกัน และการมีครอบครัวเป็นของตนเองนั้น ถือได้ว่าเป็นเวลาสำคัญของชีวิตที่
จะต้องตัดสินใจเลือกคนที่ดีที่สุดและเหมาะสมกับเรามากที่สุด |
|
|
|
|
|
หลักเกณฑ์ในการเลือกคู่ครอง |
|
ในการเลือกคู่ครองนั้นมีเกณฑ์สำคัญที่ใช้กันอยู่ใน
2 ด่านคือ เกณฑ์ทางสังคม
และเกณฑ์ทางจิตวิทยา |
|
|
|
|
เกณฑ์ทางด้านสังคมก็คือการใช้ลักษณะสภาพแวดล้อมทางสังคมเป็นกรอบกำหนดในการ
เลือกคู่ครอง โดยยึดหลักว่าการมีสภาพแวดล้อมหรือลักษณะที่คล้ายคลึงกันจะทำให้ปรับตัว
เข้ากันได้ง่าย เช่น ผู้ที่มีเชื้อชาติ ศาสนา การศึกษา
ฐานะทางเศรษฐกิจ พื้นฐานทางสังคม
วัย สุขภาพใกล้เคียงกันก็ย่อมจะสามารถปรับตัวเข้ากันได้ดีกว่าผู้ที่มีลักษณะดังกล่าว
แตกต่างกัน |
|
|
|
เกณฑ์ด้านจิตวิทยา
ก็ได้แก่ บุคลิกภาพและพฤติกรรม ถ้าคนสองคนมีทัศนคติ
ค่านิยม อุดมการณ์ในทิศทางเดียวกัน มีพฤติกรรมการแสดงออกที่เหมาะสม
มีวุฒิภาวะทางอารมณ์ ก็สามารถทำให้ การดำเนินชีวิตร่วมกันราบรื่นได้
ส่วนด้าน
ความพึงพอใจก็ได้แก่การสามารถตอบสนองความต้องการทั้งด้านร่างกายและจิตใจ
ของกันและกันได้ ยอมรับและเข้าใจซึ่งกันและกัน ก็จะทำให้เกิดความสุขในการดำเนินชีวิตได้
ซึ่งเกณฑ์ทั้ง 2 ด้านนี้สามารถนำไปใช้ประกอบในการเลือกคู่ครองได้ |
|
|
|
|
|