|
หน้าที่ของครอบครัว |
|
ครอบครัวเป็นสถาบันทางสังคมที่เล็กที่สุด
แต่สำคัญที่สุด เนื่องจากเป็นสถาบันแรกที่สามารถ
หล่อหลอมและพัฒนาบุคคลต่างๆในครอบครัวให้เป็นบุคคลอันพึงประสงค์ของสังคม
ซึ่งมีหน้าที่คือ |
|
|
|
หน้าที่สร้างสรรค์สมาชิก
ครอบครัวมีหน้าที่สร้างสมาชิกใหม่ขึ้นทดแทนษมาชิกเดิมที่จากไป
เพื่อสืบวงศ์ตระกูลต่อไป แต่ก็ต้องตั้งอยู่บนความสมดุลกับสังคมถ้ามากเกินไปก็จะทำให้เกดปัญหา
สังคมตามมา |
|
|
|
หน้าที่อบรมสั่งสอนระเบียบของสังคม
ครอบครัวเป็นสถาบันแรกที่มีหน้าที่และบทบาทใน
การอบรมสั่งสอนที่สำคัญที่สุด โดยมุ่งเน้นให้รู้จักค่านิยมพื้นฐานทางวัฒนธรรม
การพัฒนาบุคลิกภาพ ลักษณะนิสัย และการปรับตัวเข้ากับสังคม
|
|
|
|
หน้าที่ให้ความรักและความอบอุ่น
ครอบครัวเป็นแหล่งสำคัญในการให้ความรัก
ความอบอุ่นและกำลังใจแก่สมาชิกเพื่อให้สามารถต่อสู้และมีกำลังใจในการดำเนินชีวิตในสังคมได้ |
|
|
|
หน้าที่กำหนดสถานภาพ
เมื่ออยู่ในครอบครัว สมาชิกทุกคนจะมีสถานภาพที่ถูกกำหนดขึ้นโดยกำเนิด
เช่น เพศ เชื้อชาติ ศาสนา เชื้อชาติ สัญชาติ และสถานะในครอบครัวรวมถึงในวงสังคม
|
|
|
|
หน้าที่ปกป้องคุ้มครองหรือเลี้ยงดูผู้เยาว์
ครอบครัวจะทำหน้าที่ดูแลปกป้องและพัฒนาสมาชิก
ที่เกิดขึ้นใหม่ ทั้งในด้านร่างกาย จิตใจ และให้การศึกษา |
|
|
|
หน้าที่ทางเศรษฐกิจ
สมาชิกในครอบครัวทุกคนถือเป็นหน่วยการผลิตที่สำคัญ
ทุกคนจะต้อง
ทำงานและแบ่งผลผลิตซึ่งกันและกัน เช่น พ่อแม่จะทำมาหากินเพื่อเลี้ยงลูกในวันเด็ก
แต่พอในวัยหนุ่มสาวลูกก็จะทำมาหากินเพื่อเลี้ยงดูพ่อแม่ |
|
|
|
หน้าที่ทางการศึกษา
ครอบครัวเป็นแหล่งการศึกษาแห่งแรกของสมาชิก แต่เมื่อถึงวัย
ต้องรับการศึกษาในโรงเรียน ครอบครัวก็มีหน้าที่ต้องส่งสมาชิกเข้าเล่าเรียนศึกษา
โดยต้องให้
้การสนับสนุนในเรื่องการศึกษา เพื่อให้มีความรู้เพื่อที่สามารถจะประกอบอาชีพได้ในอนาคต |
|
|
|
หน้าที่ทางศาสนา
ครอบครัวต้องมีหน้าที่ในการปลูกฝังให้เลื่อมใสในศาสนาประจำชาติ
และส่งเสริมให้ปฏิบัติตนตามคำสั่งสอนของศาสนา เพื่อให้เป็นคนดีของสังคม |
|
|
|
|
|
|
หน้าที่ของสามีและภรรยา |
|
ในสภาพสังคมปัจจุบัน
สังคมและเศรษฐกิจได้มีการเปลี่ยนแปลงไปมาก ผู้ชายและผู้หญิง
จึงล้วนมีบทบาทที่เปลี่ยนแปลงไป จากเดิมที่ผู้ชายเป็นผู้นำครอบครัว
ก็เริ่มมีการปรับเปลี่ยน
ให้ผู้หญิงมีบทบาททัดเทียมกัน ดังนั้นสามีและภรรยาในยุคปัจจุบันจึงควรมีหน้าที่ๆสอดคล้อง
กับสถานการณ์คือ |
|
|
|
ให้การยกย่องซึ่งกันและกัน
ให้เกียรติกันตามฐานะอย่างเหมาะสม ดูแลเอาใจใส่
ช่วยเหลือซึ่งกันและกัน |
|
|
|
ไม่ดูหมิ่นเหยียดหยามทั้งวาจาและท่าทาง
ไม่ว่าต่อหน้าหรือลับหลัง ให้คำแนะนำ
ในการปรับปรุงตนเอง และร่วมกันแก้ไขข้อบกพร่องซึ่งกันและกัน |
|
|
|
ไม่ประพฤตินอกใจซึ่งกันและกัน
ควรมีความซื่อสัตย์และคุณความดีของกันและกัน
เพื่อรักษาครอบครัวให้มีความสุขและดำเนินชีวิตได้อย่างราบรื่น |
|
|
|
ช่วยกันในธุรกิจงานบ้าน
ช่วยดูแลทรัพย์สมบัติและกิจการงานบ้าน ควรรับผิดชอบภารกิจ
ที่ต้องใช้แรงงาน รวมถึงการช่วยดูแลบุตร |
|
|
|
ให้กำลังใจโดยของขวัญหรือของรางวัล
ให้ความสำคัญกับโอกาสพิเศษ เช่น วันเกิด
วันครบรอบแต่งงานหรือเทศกาลต่างๆ มีของฝากเมื่อเดินทางไปสถานที่อื่นๆ |
|
|
|
ร่วมกันจัดการงานบ้านเรือนให้เรียบร้อย
แบ่งภารกิจการงานบ้านให้สมาชิกทุกคน
ในครอบครัวมีงานเท่าเทียมกัน รวมถึงสร้างบรรยากาศในครอบครัวให้น่าอยู่ |
|
|
|
เอาใจใส่สงเคราะห์คนใกล้ชิด
เอาใจใส่สารทุกข์สุกดิบของคนในครอบครัว
รวมถึงญาติพี่น้องทั้งของฝ่าตนเองและฝ่ายภรรยาให้สม่ำเสมอเท่าเทียมกัน |
|
|
|
ช่วยกันรักษาสมบัติไว้ให้ดี
รู้จักการใช้สอยเงินทองอย่างประหยัด
ไม่ควรใช้จ่ายให้เกินฐานะ ไม่สร้างภาระหนี้สินโดยไม่จำเป็น
และหลีกเลี่ยงอบายมุขต่างๆ |
|
|
|
ไม่เกียจคร้านในกิจการทั้งปวง
ควรมีความขยันขันแข็งในการทำงานทั้งภายนอก
และภายในบ้าน เพื่อความเจริญก้าวหน้าในหน้าที่การงาน
เพื่อให้ฐานะครอบครัว
มีความมั่นคงมากยิ่งขึ้น |
|
|
|
|