|
|
|
วัฎจักรครอบครัว |
|
กาญจนา
ลุศนันทน์ |
|
ญาดา อรุณเวช |
|
|
|
|
การศึกษาวัฎจักรครอบครัวเป็นอีกวิธีการหนึ่งที่จะทำให้เราเข้าใจชีวิตครอบครัว
และสามารถอธิบายพฤติกรรมครอบครัว และคาดการได้ว่า
ชีวิตอนาคตของครอบครัว
จะเป็นเช่นไร เพื่อให้เราสามารถรับกับสถานการณ์ที่จะเกิดขึ้นในอนาคตได้
โดยสามารถแบ่งได้ 7 ขั้นตอนคือ |
|
|
|
ครอบครัวเริ่มต้น
อยู่ในระยะเริ่มต้นของการสมรส มีการศึกษาลักษณะอุปนิสัยใจคอ
ซึ่งกันและกัน ร่วมกันวางแผนการใช้จ่ายเพื่อสร้างครอบครัวให้เกดความมั่นคง
เป็นช่วงที่คู่สมรสรู้สึกพึงพอใจในชีวิตมากที่สุด |
|
|
|
ครอบครัวมีลูกเล็ก
อยู่ในช่วงของการมีบุตรคนแรกจนกระทั่งถึงคนสุดท้อง
ครอบครัวจะเริ่มมีความสับสนวุ่นวายในการจัดการเพื่อเลี้ยงดูสมาชิกใหม่
ทำให้สามีและ
ภรรยามีเวลาอยู่ด้วยกันน้อยลง เนื่องจากทุ่มเทเวลาส่วนใหญ่ให้กับการดูแลบุตร
ความพึงพอใจในชีวิตจะเริ่มลดลง |
|
|
|
ครอบครัวมีลูกวัยก่อนเรียน
เป็นช่วงที่ลูกเริ่มโตขึ้น ภาระในการเลี้ยงดูมีเพิ่มมากขึ้น
ต้องใช้เวลาในการดูแลบุตรเพิ่มมากขึ้น ระยะนี้จะทำให้สามีภรรายาเกิดความอ่อนหล้า
เครียดและเบื่อหน่าย อาจนำมาซึ่งความขัดแย้งกันได้ |
|
|
|
ครอบครัวมีลูกวัยเรียน
เป็นช่วงที่บุตรเริ่มเข้าสู่โรงเรียนเพื่อพัฒนาทักษะทางด้าน
ร่างกายและจิตใจ สามีและภรรยาจะมีโอกาสอยู่ร่วมกันมากขึ้น
และต้องทำงานมากขึ้น
เนื่องจากจะมีภาระค่าใช้จ่ายในการเล่าเรียนของบุตรเกิดขึ้น |
|
|
|
ครอบครัวมีลูกวัยรุ่น
เป็นช่วงที่บุตรเริ่มมีการเปลี่ยนแปลงอย่างมากทั้งทางร่างกายและ
จิตใจ เริ่มเป็นตัวของตัวเอง มีอารมณ์รุนแรงและติดเพื่อน
บิดาและมารดาจึงต้องมีการ
ปรับตัวให้เข้ากับลูก และเข้าใจตัวลูกมากที่สุดจึงจะผ่านช่วงนี้ไปได้อย่างราบรื่น |
|
|
|
ครอบครัวเริ่มแยก
เป็นช่วงที่บุตรจบการศึกษา เริ่มต้นชีวิตการทำงานและอาจอาจมี
ครอบครัว จะเป็นการแยกตัวออกจากครอบครัว ทำให้ครอบครัวเดิมมีขนาดเล็กลง
และเน้นไปที่การให้การสนับสนุนช่วยเหลือบุตรเพื่อให้มีงานทำเพื่อก้าวสู่ความสำเร็จ |
|
|
|
ครอบครัววัยกลางคน
เป็นช่วงที่บุตรทุกคนเริ่มมีงานทำ และบิดามารดาลดภาระ
การดูแลบุตรน้อยลง เริ่มมีเวลาในการพักผ่อนมากขึ้น
และเริ่มมีบุตรหลานให้เลี้ยงดู
แต่บางครั้งก็จะเกิดความเงียบเหงาเนื่องจากบุตรจะแยกตัวออกไปอยู่เป็นครอบครัวใหม่ |
|
|
|
ครอบครัววัยเกษียณ
ช่วงนี้เป็นช่วงที่ยุติการทำงานประจำใช้เวลาส่วนใหญ่อยู่บ้าน
อาจมีกิจกรรมสังคมในหมู่คนรู่นเดียวกัน เช่นการทำบุญ
การท่องเที่ยว และเป็นช่วงของการ
มีโรคภัยไข้เจ็บค่อนข้างมาก ต้องการให้ลูกหลานอยู่ดูแลเอาอกเอาใจ
และจะเกิด
ความหว้าเหว่ค่อนข้างมาก มักยึดศาสนาเป็นที่พึ่งทางใจ |
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
การจัดการทรัพยากรครอบครัว |
|
|
|
|
การดำเนินชีวิตครอบครัวในปัจจุบันมีความลำบากมากขึ้น
เนื่องจาสภาวะทางเศรษฐกิจ
และสังคมเปลี่ยนแปลงไป ต้องอาศัยการจัดการทรัพยากรครอบครัวอย่างชาญฉลาดจึงจะ
ทำให้การดำเนินชีวิตครอบครัวอยู่รอดและบรรลุเป้าหมาย |
|
|
|
ความสำคัญของการจัดการทรัพยากรครอบครัว
จะช่วยให้ครอบครัวปรับตัวได้ตาม
สภาวะแวดล้อม ครอบครัวเกิดความมั่นคง |
|
|
|
หลักการจัดการ
การจัดการครอบครัวจะต้องมีการวางแผนกำหนดการใช้ทรัพยากร
ให้เหมาะสม ควบคุมการใช้ทรัพยากรอย่างฉลาดเหมาะกับสถานการณ์
และต้องมีการ
ประเมินผลเพื่อดูข้อดีข้อเสียที่เกิดขึ้น |
|
|
|
องค์ประกอบที่สำคัญต่อการจัดการครอบครัวได้แก่
มาตรฐานการครองชีพ ฐานะ
ทางเศรษฐกิจ บทบาทสมาชิกในครอบครัว รายได้ของครอบครัว
ขนาดของครอบครัว
วัฏจักรครอบครัว และการหารายได้เสริม |
|
|
|
การจัดการเวลา
จะต้องคำนึงถึงเวลาในการทำงานและผลตอบแทน เวลาเกี่ยวกับ
เรื่องส่วนตัว และต้องมีการจัดเวลาให้เหมาะสมเช่น
สิ่งใดต้องทำก่อนสิ่งใดต้องทำหลัง
เวลาในการทำกิจกรรม นอกจากนี้อาจใช้เทคโนโลยีเข้ามาช่วยด้วยก็ได้ |
|
|
|
การจัดการแรงงาน
ในครอบครัวจำเป็นต้องใช้ทรัพยากรทุกอย่างของสมาชิกในครอบครัว
อันได้แก่ ความรู้ความชำนาญ ทัศนคติ ความสามารถส่วนบุคคล
และแรงงานมาผสมผสานกัน
เพื่อทำงาน จึงจะทำให้กิจกรรมของครอบครัวดำเนินไปได้ด้วยดี |
|
|
|
การจัดการเงินทองของครอบครัว
เงินถือว่าเป็นทรัพยากรที่มีความสำคัญ และเป็นปัจจัย
ในการดำเนินชีวิตของครอบครัว ดังนั้นจึงต้องมีการจัดการให้เหมาะสมรู้จักการใช้และ
ห ลีกเลี่ยงความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้น |
|
|
|
|
|
|
|
|
การแก้ปัญหาครอบครัว |
|
การอยู่ร่วมกันร่วมกันของคนเป็นครอบครัว
ทำให้เกิดกิจกรรมต่างๆเกิดขึ้นมากมาย
สิ่งหนึ่งที่ไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ก็คือปัญหา สุดแท้แต่ว่าจะหนักหรือเบาและแก้ไขได้โดยวิถีทางใด
|
|
|
|
สาเหตุปัญหาครอบครัวมักจะเกิดจาก
ปัญหาด้านเศรษฐกิจ พฤติกรรมของสามีและ
ภรรยาในทางที่ไม่ดี การสูญเสียของบุคคลในครอบครัว การปรับตัว
เรื่องของญาติพี่น้อง
ความคาดหวังในตัวของกันและกันสูงเกินไป และปัญหาจากบุตร |
|
|
|
การป้องกันปัญหาครอบครัวเป็นวิธีที่ดีที่สุดคือทำให้ปัญหาไม่เกิดขึ้น
ซึ่งจะช่วยให้การ
ดำเนินชีวิตของครอบครัวเป็นไปอย่างราบรื่นเช่นการให้ความสำคัญกับการเลือกคู่ครองต้อง
ทำอย่างรอบคอบ การปรับตัวให้เข้ากับสิ่งแวดล้อม ปรับตัวเอง
รู้จักควบคุมอารมณ์
ทำกิจกรรมที่สร้างความสัมพันธ์อันดีร่วมกัน ใช้บุตรเป็นเครื่องช่วยรักษาความสัมพันธ์ให้ยืนยาว
ตัดสินใจให้รอบครอบก่อนทำการหย่าร้าง |
|
|
|
แนวทางการแก้ปัญหาครอบครัว
เมื่อปัญหาครอบครัวเกิดขึ้นแล้วก็ต้องหาหนทางในการแก้ไข
ให้ลุล่วง ซึ่งวิธีการในการแก้ปัญหาก็มีหลากหลายออกไป เช่น
การยอมรับปัญหาและพร้อม
เผชิญกับปัญหา การยอมรับความช่วยเหลือจากบุคคลอื่นและพร้อมจะขอความช่วยเหลือจากผู้อื่น
เตรียมพร้อมรับปัญหาต่างๆที่เกิดขึ้นโดยไม่คาดหมาย |
|
|
|
การดำเนินชีวิตของคนโสด
|
|
ความสมบูรณ์ของการดำเนินชีวิตมิใช่ขึ้นอยู่กับการดำเนินชีวิตคู่แต่เพียงอย่างเดียว
แต่การใช้ชีวิตด้วยการอยู่คนเดียวหรือเป็นคนโสดโดยอยู่กับครอบครัวเดิมนั้นก็เป็นชีวิตที่มีความสุข
ในอีกแนวทางหนึ่ง ในระยะหลังทั้งชายและหญิงมีแนวโน้มในการครองตัวเป็นโสดค่อนข้างสูง
การอยู่เป็นโสดอาจกล่าวได้ดังนี้ |
|
|
|
สาเหตุของการเป็นโสดส่วนใหญ่เกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ
บางคนตั้งใจอยู่ป็นโสดเพราะพอใจ
กับการอยู่อย่างไม่มีภาระ การมีมาตรฐานในการเลือกคู่ครองสูงเกินไปจนหาคนถูกใจไม่ได้
การที่ไม่เป็นที่หมายปองของใครเนื่องจากปัญหาด้านบุคลิกภาพ
และสาเหตุอื่นเช่นการถูกกีดขวาง
ในเรื่องความรัก |
|
|
|
ชีวิตโสดมีทั้งข้อดีและข้อเสียปะปนกันไปสุดแท้แต่ว่าบุคคลเราจะมีความต้องอย่างไร |
|
|
|
|
ข้อดี |
ข้อเสีย |
|
มีอิสระทั้งกายและใจ |
หว้าเหว่ในบางครั้ง |
|
มีภาระความรับผิดชอบน้อย |
คาดคู่คิดคู่ปรึกษา |
|
ดูแลตนเองได้มากขึ้น |
ขาดผู้สนับสนุนความคิด |
|
มีเวลาทำกิจกรรมที่ตนเองต้องการ |
ขาดคนช่วยตัดสินใจ |
|
ภูมิใจในการพึ่งตนเอง |
ความกังวลในบั้นปลายชีวิต |
|
มีอิสระทางการเงิน |
|
|
|
|
|
|
|
|
การปรับตัวเพื่อการดำเนินชีวิตของคนโสด
ชายโสดหรือหญิงโสดจำเป็นต้องมีการปรับตัวในด้นต่างๆ
เพื่อให้เกิดแนวทางในการดำเนินชีวิตที่ดีเช่น ทำกิจกรรมอื่นๆเพื่อชดเชยกิจกรรมทางเพศ
การให้การ
อุปถัมภ์ดูแลผู้ที่ด้อยกว่าหรือให้การสงเคราะห์ผู้ด้อยโอกาสเพื่อชดเชยด้านบทบาทการเป็นพ่อแม่
การมีเพื่อนหรือสังคมที่เหมาะสมกับความชอบหรือความถนัดของตนเอง
การปรับตัวและใช้เวลาว่าง
ให้เป็นประโยชน์ต่อสังคมและกิจกรรมสารธารณะ |
|
|
|
แต่สิ่งสำคัญประการหนีงก็คือ
คนโสดจะต้องตระหนักว่า การเป็นโสดมิใช่การขาดความรักหรือการ
ถูกท้องทิ้ง แต่เป็นการเลือกทางเดินชีวิตที่เหมาะสมและตรงกับความต้องการของตนเอง |
|
|
|
|
|
การสร้างมิตรภาพในสังคม |
|
มิตรภาพหรือความเป็นเพื่อน
ถือว่าเป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้ในสังคม การดำเนินชีวิตในสังคมจะดำเนินอยู่ได้จะต้องมีมิตรภาพเป็นสื่อประสานให้คงอยู่ไว้
มิตรภาพเป็นสิ่งผูกพันจิตใจของคนไว้ได้อย่างมั่นคงและยั่งยืนกว่า
ทรัพย์สมบัติใดๆ |
|
การรู้จักการยอมรับจะเป็นบันไดขั้นแรกที่นำไปสู่การสร้างความสัมพันธ์
หากเกิดการยอมรับซึ่งกันและกันได้ในด้านบุคลิกภาพนิสัยใจคอ
ตลอดจนความประพฤติต่างๆ มิตรภาพก็จะเกิดขึ้น มีคำกล่าวว่าอย่าลังเลใจ
ที่จะเป็นเพื่อนใคร การยิ้มแย้มแจ่มใสเป็นการลงทุนสำหรับมิตรภาพที่ถูกที่สุด
แต่ได้ผลคุ้มค่าที่สุด |
|
การรักษาความความสัมพันธ์ที่ดีและมิตรภาพไวนั้น
จะต้องไม่ลืมว่าเราต้อง
เป็นทั้งผู้ให้และผู้รับ ซึ่งจะต้องสลับสับเปลี่ยนกันไปในปริมณพอๆกัน
ตราบใดที่ยังต้องการให้มิตรภาพคงอยู่ได้ด้วยดี คงไม่มีใครต้องการ
เป็นผู้ให้ตลอดไป และคงไม่มีใครสุขใจกับการเป็นผู้รับแต่เพียงฝ่ายเดียว
มิตรภาพจะคงอยู่ได้ตราบใดก็ตามที่การเป็นผู้ให้และผู้รับมีสัดส่วน
ที่พอเหมาะกัน |
|
|
|
|