MENU
แนะนำรายวิชา
วิธีการเรียน
กิจกรรมการเรียน
ทรัพยากรการเรียน
แบบฝึกหัด
คณะผู้สอน
ติดต่อผู้สอน
   
SITE
 
 
   
 
การพัฒนาบุคลิกภาพและการแต่งกาย
 
                                                    กรรณีย์ ถาวรสุข
   
 
  บุคลิกภาพ
  บุคลิกภาพในทางสังคมหมายถึง ภาพของแต่ละบุคคลที่ปรากฏในด้านการแต่งกาย ท่วงทีกริยา
การแสดงออก ที่จะทำให้ผู้พบเห็นเกิดความประทับใจทั้งในด้านบวกหรือด้านลบ ผู้ที่ปรากฏกายอย่างดี
ทั้งด้านการแต่งกายและมารยาทสังคมอันดี จะเป็นที่ประทับใจใคร่คบหาษมาคมนิยมชมชื่น
บุคลิกภาพเป็นสิ่งที่ที่สามารถพัฒนาได้ด้วยการฝึกฝน เช่น การฝึกท่วงทีกริยาที่ดูดี แต่งกาย
ให้เหมาะสมกับกาละเทศะ การมีมารยาทสังคมที่ดี
   
 
  การเสริมสร้างบุคลิกภาพ
  การเสริมสร้างบุคลิกภาพสามารถพัฒนาได้ ตั้งแต่การเคลื่อนไหว การทรงตัว การพูด
ความสะอาดหมดจด ความนึกคิดที่ดี ซึ่งสามารถฝึกฝนได้ดังนี้
 
 
  การนั่ง ควรนั่งไหล่ตรง หลังตรง วางมือในที่อันควร
  การยืน ควรยืนตัวตรง อกผายไหล่ผึ่ง ขาตรง เท้าชิด หรือเบี่ยงเล็กน้อย
  การเดินและการเคลื่อนไหว ควรเดินตัวตรง ศีรษะตั้งตรง แกว่งแขนเล็กน้อย
  การหยิบของที่พื้น ควรย่อตัวลงหยิบ ไม่ใช่ก้มตัวลงหยิบ
  การพูด ควรพูดด้วยจังหวะที่ดี ใช้น้ำเสียงที่จริงใจ ให้ความรู้สึกเป็นมิตร
  การแสดงสีหน้า ควรแสดงสีหน้าปกติ ไม่แสดงความยินดี โกรธ หรือเย็นชาจนเกินไป
  การคิด ควรคิดแต่สิ่งที่ดี ไม่หมกมุ่นอยู่กับความทุกข์
  การรักษาสุขภาพและความสะอาด ควรรักษาน้ำหนักให้เหมาะสมกับความสูง
รักษาสุขภาพกายและจิตให้ดีอยู่เสมอ รักษาความสะอาดของร่างกาย สุขภาพที่ดี
จะส่งผลให้บุคลิกภาพดีด้วยเช่นกัน
   
 
  การแต่งกายให้เหมาะสมกับกาละและเทศะ
  การแต่งกายให้เหมาะสมกับกาละและเทศะหมายถึง การใช้เสื้อผ้ารวมถึงเครื่องประดับตกแต่ง
ร่างกายตั้งแต่ศีรษะจรดเท้า โดยให้เหมาะสมกับกาละคือเหมาะสมกับเวลากลางวัน กลางคืน
งานเลี้ยงต่างๆ และเหมาะสมกับเทศะคือเหมาะสมกับสถานที่เช่น สถานที่ราชการ โรงเรียน
โรงภาพยนตร์ เป็นต้น
   
  ความสำคัญของการแต่งกาย
  ความสำคัญของการแต่งกายก็มีด้วยกันอยู่หลายประการ เช่นเพื่อป้องกันอันตราย เห็นได้จากการ
ใส่เสื้อผ้าเพื่อป้องกันความหนาว การใส่เสื้อแขนยาวเพื่อป้องกันแสงแดด หรือแต่งกายเพื่อดึงดูด
ความสนใจและความสวยงาม แต่งกายเพื่อแสดงฐานะทางสังคม เช่นเครื่องแบบนักศึกษา ข้าราชตำรวจ หรือการแต่งกายด้วยเสื้อผ้าและเครื่องประดับราคาแพงก็สามารถบ่งบอกถึงฐานะทางสังคมได้เช่นกัน
นอกจากนี้การแต่งกายยังบ่งบอกถึงขนบธรรมเนียมและความสุภาพ ซึ่งแต่ละท้องถิ่นก็มีลักษณะ
แบบแผนของตนเอง อย่างเช่นธรรมเนียมตะวันตกถ้าเป็นงานพิธีการจะต้องแต่งกายครบเครื่อง
สวมถุงน่อง รองเท้า หมวก ถุงมือ แต่ถ้าป็นธรรมเนียมไทยเราจะไม่สวมหมวก
   
 
  ประเภทของการแต่งกาย
   
 
  โอกาสปกติ การแต่งกายในโอกาสปกติ ได้แก่การไปทำงาน ประชุม สอบสัมภาษณ์
  ควรแต่งกายสุภาพเรียบร้อยตามสมัยนิยมเหมาะกับสถานที่และสภาพอากาศ
   
  โอกาสพิเศษ
   
 
  งานทั่วไป ถ้าในบัตรเชิญกำหนดว่าแต่งกายตามสบาย casual dress หรือ
casual clothes สุภาพบุรุษสามารถสวมเสื้อเชิตผูกเนคไท ชุดพระราชทานหรือ
ใส่เสื้อเชิตสวมสูททับโดยไม่ต้องผูกเนคไท ส่วนสุภาพสตรีแต่งกายเรียบร้อยม
ีเครื่องประดับบ้างเล็กน้อย
   
  งานเลี้ยงตอนค่ำ มักเขียนไว้ในบัตรเชิญว่า Dinner การแต่งกายควรหรูหราขึ้น
สุภาพบุรุษใส่เสื้อเชิตผูกเนคไทสวมสูททับ สุภาพสตรีสวมกระโปรงตามสมัยนิยม
หรือสวมกระโปรงยาวที่ดูหรูหรา ถ้าเป็นงานเลี้ยงรับรองหรือ cocktail สามารถ
สวมกระโปรงฟูได้เพราะเป็นการยืนรับประทาน
   
  งานราตรีสโมสร มักกำหนดว่าเป็น Formal even wear สุภาพบุรุษจะแต่งกายครบ
เครื่องเต็มยศ ประกอบด้วยสูท กางเกง เสื้อเชิต เสื้อแค่เอว ผ้าคาดเอว โบว์ไท รองเท้าสีดำ
ส่วนสุภาพสตรีสวมชุดยาวเปิดไหล่ หรือเสื้อแขนยาวมีการตกแต่งหรูหรา
หรืออาจใช้ชุดไทยจักรี ชุดไทยบรมพิมาน
   
  งานพิธีการ เช่นงานพระราชทานปริญญาบัตร งานพระราชพิธี งานที่เป็นทางการ
การแต่งกายต้องเป็นไปตามกำหนด เช่นชุดปกติขาว ชุดสากล ชุดไทยต่างๆ สุภาพสตร
ีไม่ควรสวมกระโปรงสั้นหรือยาวเกินไป
   
  งานทำบุญที่วัด ควรแต่งกายสุภาพมิดชิด สีสันไม่ฉูดฉาด เหมาะกับรูปร่างและผิวพรรณ
ในกรณีของงานศพสุภาพบุรุษควรใส่ชุดสูทสีเข้ม สวมเชิ้ตขาว เนคไทสีดำ
รองเท้าถุงเท้าสีดำ ถ้าเป็นพิธีพระราชทานเพลิงศพ ข้าราชการใส่ชุดปกติขาวสวมแขนทุกข์
สุภาพสตรีสวมชุดดำแบบสุภาพ ไม่ควรมีลวดลาย
   
   
   
  เครื่องแต่งกายมาตรฐานสุภาพสตรี
 
เสื้อผ้า(Garment) เสื้อผ้าสุภาพสตรีที่เป็นมาตรฐานได้แก่
   
  Basic suit เป็นชุดคนละชิ้น แบบเรียบ ตัดเย็บดี สวมใส่ได้รูป สีเบสิค
ใช้ผ้าทำกระดุม ใช้อุปกรณ์ประกอบการแต่งกายได้หลายแบบ
   
  Basic dress เป็นชุดติดกันแบบเรียบๆ มีรายละเอียดหรูกว่า Basic suit ใช้ได้หลายโอกาส
ใช้ได้กับเครื่องประดับหลากหลาย
   
  Suit dress เป็นเสื้อสองชั้น ข้างในเป็นชุดติดกัน (Dress) และมีเสื้อนอก(Jacket)สวมทับ
กลางวันใช้เป็นสูท กลางคืนถอดสูทออกไปงานเลี้ยงได้
   
เครื่องประกอบการแต่งกาย(Accessories)
   
  กระเป๋าถือ อาจทำจากผ้าหรือหนัง ควรเลือกสีกลางๆ เพราะสามารถใช้เข้ากับชุดและ
รองเท้าได้หลากหลาย
   
  รองเท้า ควรมีอย่างน้อยสองคู่ เช่นดำกับน้ำตาลหรือครีม เพื่อเลือกใส่ให้เข้ากับชุด
ถ้าเป็นไปได้ควรมีรองเท้าห้าคู่ขึ้นไปคือ รองเท้าส้นแบนเช่น รองเท้าผ้าใบ รองเท้าแตะ
รองเท้ามีส้นปานกลางสองคู่สำหรับใส่ทำงาน และรองเท้าแบบเรียบแต่หรูสำหรับใส่ไปงาน
ควรเลือกใช้รองเท้าให้เหมาะสมกับกาลเทศะ เช่นเวลาไปทำงาน ประชุมควรใส่รองเท้าหุ้มส้น
ส้นเตี้ย แบบเรียบๆเวลาเล่นกีฬาควรใส่รองเท้ากีฬา รองเท้าหุ้มส้นที่มีพื้นยางเพื่อป้องกันการลื่น
ในโอกาสพิเศษหรืองานเลี้ยงควรสวมรองเท้าส้นสูงแบบเรียบหรู เวลาเลือซื้อรองเท้านอกจาก
ความสวยงามแล้วควรคำนึงถึงความสบายในการสวมใส่ด้วย
   
  หมวก ในประเทศไทยเราส่วนใหญ่การสวมหมวกเพื่อป้องกันแดดและลม ดังนั้นการม
ีหมวกหนึ่งหรือสองใบก็เป็นการเพียงพอ ควรเลือกสีกลางๆเช่น เทาหรือสีเนื้อเพราะสามารถใส
่ได้ทุกโอกาส
   
  ถุงเท้า ควรสวมเมื่อใส่ไปในงานที่เป็นทางการหรือพิธีการ และขณะเล่นกีฬา ควรเลือกสีกลางๆ
ทำจากวัสดุที่นุ่มใส่สบาย
   
  เข็มขัด ควรเลือกสีให้เหมาะกับเสื้อผ้าและรองเท้า
   
  เครื่องประดับ(Jewelry) จะมีสองลักษณะคือ Costume jewelry คือเครื่องประดับที่ออกแบบเพื่อให้ สวมเข้าชุดกับเสื้อผ้าทำจากวัสดุที่มีราคาไม่มาก
และFine jewelry ทำจากวัสดุที่มีราคาจำพวก ทองและอัญมณีที่มีราคา
   
 
   
  เครื่องแต่งกายมาตรฐานสุภาพบุรุษ
 
   
เสื้อผ้าสุภาพบุรุษ
   
  สูท ประกอบด้วยเสื้อนอกและกางเกงสีเดียวกัน บางครั้งมีเสื้อกั๊กประกอบด้วย สูทจะเปลี่ยนไป
ตามแฟชั่น บางครั้งปกใหญ่หรือปกเล็ก ตัวสั้นหรือตัวยาว กระเป๋าตรงหรือเฉียง กะดุมแถวเดียว
หรือสองแถว ควรเลือกตามสมัยนิยม
   
  กางเกง มีด้วยกันหลายแบบเช่น ขาตรง ขาบาน ขาแคบ เป้าตึงและเป้าหย่อน
ควรเลือกใช้ตามสมัยเช่นกัน
   
  สูทในงานพิธีการ(Formal Evening Wear) บางครั้งเรียกว่า Black Tie ประกอบด้วย
เสื้อสีดำปกแบะทำจากผ้าต่วน หรือ ทักซีโด และเชิ้ตแขนยาว ผูกโบว์ไทสีดำ และถ้าเป็น
งานพิธีการมากๆ จะสวมเสื้อนอกที่มีด้านหลังยาว
   
  เบลเซอร์ (Blazer) เป็นเสื้อนอกที่ใช้สวมทับเสื้อเชิ้ต แต่ไม่จำเป็นต้องใช้ร่วมกับกางเกงสีเดียวกัน
หรือผ้าชนิดเดียวกัน
   
เสื้อผ้าและเครื่องประกอบการแต่งกาย
   
  เสื้อเชิ้ต มีด้วยกันหลายแบบ Dress shirt เป็นเชิ้ตทั่วไปแต่ค่อนข้างเป็นทางการ มักผูกเนคไท
ประกอบ Work shirt เป็นเชิ้ตสำหรับใส่ทางการไม่ต้องผูกเนคไท สำหรับใส่ทำงานที่ต้อง
ใช้แรงงาน Sport shirt เป็นผ้ายืดหรือผ้าทอสีพื้นและลายทางรวมถึงเสื้อโปโลที่สวมทางศีรษะ
Formal shirt เป็นเชิ้ตใช้กับงานพิธีการมักเป็นสีพื้นและจับพลีทที่อก
   
  รองเท้า ควรมีอย่างน้อยสองคู่สำหรับใส่ไปทำงาน ควรเป็นสีดำหรือน้ำตาลแบบเรียบร้อย
เลือกใส่ให้เหมาะสมกับเสื้อผ้า จะเป็นแบบสวมหรือผูกเชือกก็ได้ แต่ถ้าเป็นการแต่งเครื่องแบบ
เต็มยศควรเลือกใช้รองเท้าผูกเชือกสีดำ ในยามพักผ่อนควรใช้รองเท้าสาน ส่วนในการเล่นกีฬา
ควรใช้รองเท้าผ้าใบ
   
  ถุงเท้า ควรเป็นสีเดียวกับรองเท้า หรือใช้ถุงเท้าสีเข้มกับรองเท้าดำ ส่วนรองเท้าสีน้ำตาล
สามารถใช้สีเนื้อได้ ไม่ควรใช้ถุงเท้าสีสดจนเกินไป ในงานศพควรใช้รองเท้าดำและถุงเท้าดำ
เท่านั้น
   
  ผ้าเช็ดหน้า ควรเลือกสีกลางๆ เช่น ดำ เทา น้ำเงิน น้ำตาล ครีม น้ำเงิน เพราะเข้ากับเสื้อผ้าได้ทุกสี
   
 
   
 
NEXT >>
 
 
 
 
 
 
     
 
บทนำ Iบทที่ 1 I บทที่ 2 I บทที่ 3 I บทที่ 4 I บทที่ 5 I บทที่ 6 I บทสรุป
กลับไปหน้าแรก I แนะนำรายวิชา I วิธีการเรียน I กิจกรรมการเรียน I แบบฝึกหัด I ติดต่อผู้สอน