|
|
|
มารยาทสังคม |
|
อัจฉรา
นวจินดา |
|
|
|
|
|
|
|
บุคลิกภาพของบุคคลนอกจากจะแสดงออกทางการแต่งกายแล้ว
ยังสามารถเห็นได้โดยท่วงที
กริยามารยาทอีกด้วย บุคคลที่มีกริยามารยาทดีจะมีโอกาสได้รับความนิยมชมชอบและ
ชื่นชมจากบุคคลรอบข้าง |
|
|
|
|
|
|
|
ความสำคัญของมารยาท
|
|
|
|
คำว่ามารยาทหมายถึงกริยาวาจาที่เรียบร้อย
เทียบกับคำภาษาอังกฤษได้ว่า Ettiquette ซึ่งหมายรวมถึง
การแสดงออกทางกาย วาจาและใจ ถ้าไปในทางที่สุภาพเรียบร้อย
ก็ถือว่ามีมารยาทดี การมีมารยาทดี
ีเปรียบเสมือนมีอาภรณ์ประดับกายที่งดงาม เป็นที่ชื่นชนและยอมรับของบุคคลรอบข้าง
ผู้ที่มีมารยาทดี
มักประสบความสำเร็จในชีวิตและหน้าที่การงาน เนื่องจากได้รับการยอมรับและเชื่อถือทางสังคม
การมีมารยาทดีจึงเปรียบเสมือนในเบิกทางไปสู่ความสำเร็จ บุคคลทั่วไปจึงควรเรียนรู้ความมีมารยาท
เพื่อให้สามารถดำรงชีวิตในสังคมได้อย่างมีความสุข |
|
|
|
|
|
|
|
มารยาททางกาย
|
|
|
|
ได้แก่การแสดงออกทางกายที่ผู้อื่นสามารถมองเห็นได้เช่นการยืน
การเดิน การนั่ง การทำความเคารพ
และเคลื่อนไหวร่างกาย |
|
|
|
การยืนต่อหน้าผู้ใหญ่หรือเฉพาะพระพักตร์ควรยืนตรง
ขาชิด ส้นเท้าชิด ปลายเท้าห่างกันได้
มือควรปล่อยตรงไว้ด้านข้างหรือประสานกันไว้ |
|
|
|
การเดินกับผู้ใหญ่ควรเดินเยื้องหลัง
อย่าก้าวล้ำหน้า แกว่งแขนตามสบาย ถ้าเป็นการเดินในขบวนพิธี
ให้เดินแบบสุภาพสำรวม ไม่พูดคุยโดยไม่มีความจำเป็น การเดินผ่านผู้ใหญ่ควรค้อมตัวลง
แต่ถ้าผู้ใหญ่นั่งอยู่กับพื้นให้คลานผ่านไป แต่ถ้าผู้ใหญ่นั่งบนเก้าอี้ให้ใช้การคุกเข่าแล้วเดินเข่าผ่านไป |
|
|
|
การนั่งเก้าอี้ต่อหน้าผู้ใหญ่
ควรสำรวมนั่งตัวตรง ไม่พิงพนัก มือวางประสานกัน ปลายเท้าเผยเล็กน้อย
|
|
|
|
การลุกจากเก้าอี้
ให้ย่อตัวขึ้นแล้วเอี้ยวตัวจับพนักเก้าอี้เลื่อนไปด้านหลังแล้วจึงลุกขึ้น
อย่าใช้ขาดันเก้าอี้ไปด้านหลัง |
|
|
|
การแสดงความเคารพด้วยการไหว้
จะมีอยู่ด้วยกันหลายแบบและหลายระดับ ดังนั้นจึงควร
รู้จักเลือกใช้ให้ถูกต้อง เช่นการไหว้พระ ควรพนมมือให้นิ้วหัวแม่มือจรดคิ้วและปลายนิ้วชี้
แนบหน้าผากจรดตีนผมแล้วค้อมตัวลงส่วนหญิงย่อตัวลง ส่วนการไหว้ผู้ใหญ่ให้ปลายนิ้วหัวแม่มือจรด
ปลายจมูกและปลายนิ้วชี้จรดคิ้วแล้วค้อมตัวลงส่วนหญิงย่อตัวลง
การไหว้ผู้มีฐานะเสมอกันใช้การ
ประนมมือให้นิ้วหัวแม่มือจรดปลายคาง ปลายนี้วชี้จรดปลายจมูกไม่ต้องค้อมตัวและย่อตัว
ส่วนการรับไหว้นั้นถ้ารับไหว้ผู้มีอายุน้อยกว่าให้ประนมมืออยู่ระดับอกให้ปลายนิ้วชี้อยู่ตรงปลายคาง
แล้วก้มหน้าเล็กน้อย |
|
|
|
การแสดงความเคารพด้วยการกราบ
การกราบสามารถทำได้ทั้งขณะนั่งและขณะยืน เช่นการกราบ
พระพุทธรูปหรือพระภิกษุ ต้องให้ใบหน้าก้มลงแตะหลังมือที่แบคว่ำลงบนพื้นหรือฐานรองรับ
การกราบฆราวาสที่มีเกียรติสูงให้ใบหน้าก้มแตะสันมือที่ฐานรองรับ
การกราบเบญจางคประดิษฐ์
ต้องให้หน้าผาก มือ เข่า จรดพื้น ด้วยการนั่งคุกเข่าปลายเท้าตั้ง
ประนมมือระดับอก แล้วก้มลงกราบ
ให้หน้าผากจรดพื้นโดยแบมือออก |
|
|
|
การแสดงความเคารพด้วยการกราบถวายบังคมเป็นการแสดงความเคารพต่อบูรพกษัตริย์ทั้งในโอกาส
ที่เป็นพิธีการและไม่เป็นพิธีการ เริ่มด้วยกราบการนั่งประนมมือคุกเข่ากราบมือตั้งหนึ่งครั้ง
จากนั้น
ประนมมือไว้ที่อก เหยียดแขนตรงออกไปเบื้องหน้าระดับอก ศีรษะโน้มลงขนานกับแขน
ตัวโน้มไปตามไปตามศีรษะ วาดวงแขนให้นิ้วหัวแม่มือที่ประนมอยู่มาจรดกลางหน้าผากที่เงย
ขึ้นจนหงาย ลำตัวเอนไปเบื้องหลังเล็กน้อย แล้ววาดวงแขนกลับมาประนมมือที่อกลำตัวตั้งตรง
ทำจนครบสามครั้ง |
|
|
|
การแสดงความเคารพผู้เสียชีวิต
ในลำดับแรกกราบพระพุทธรูปด้วยท่าเบญจางคประดิษฐ์สามครั้ง
แล้วหันมากราบศพโดยนั่งพับเพียบหรือนั่งราบแล้วกราบให้สันมือตั้งหนึ่งครั้ง |
|
|
|
|
|
มารยาทในการเคลื่อนไหว
|
|
ก็คือกริยาอาการ
อริยาบถการเคลื่อนไหวของร่างกายส่วนต่างๆ ซึ่งจะต้องมีความสำรวมไม่เป็นการ
รบกวนหรือก่อความรำคาญให้กับผู้อื่น เช่นการโยกตัวไปมาขณะชมการแสดง
การรับส่งสิ่งของ
ผ่านหน้าผู้อื่น การใช้เท้าแกว่งไปมาต่อหน้าผู้อื่น |
|
|
|
มารยาททางกายเฉพาะด้าน
|
|
คือการแสดงออกทางกายที่เป็นความสุภาพ
เช่น การยืนตรงเคารพธงชาติ หรือยืนตรงเมื่อ
ได้ยินเพลงสรรเสริญพระบารมี การยืนตรงให้เกียรติเมื่อประธานเดินเข้าห้องประชุม
การเคาะ
ประตูก่อนเข้าห้องผู้อื่น ควรนั่งเมื่อได้รับการเชื้อเชิญ
การไม่เปิดปิดประตูเสียงดัง
การเสียสละให้สุภาพสตรี เด็ก และคนชราเข้าลิฟท์หรือขึ้นรถก่อน
การล้วง แคะ แกะ เการ่างกาย
ต่อหน้าสาธารณชน การไม่สูบบุหรี่ในที่สาธารณะ |
|
|
|
|
|
มารยาททางวาจา |
|
มารยาททางวาจาก็คือบุลิกภาพที่ปรากฏในสังคมที่เกี่ยวกับการใช้ถ้อยคำสำเนียงต่อบุคคลทั่วไป
เช่นการใช้ถ้อยคำที่สุภาพ ไม่พูดเหยียดหยามผู้อื่น การใช้ว่าคำว่ากรุณาเมื่อต้องการความ
ช่วยเหลือจากผู้อื่น การกล่าวคำขอโทษเมื่อทำผิดพลาด การกล่าวคำขอบคุณเมื่อได้รับความช่วยเหลือ
ไม่ส่งเสียงดังก่อความรำคาญ ไม่พูดจาโอ้อวดตนเอง ใช้สำเนียงการพูดที่นุ่มนวลเป็นกันเอง
ฝึกใช้คำราชาศัพท์และใช้เมื่อโอกาสเหมาะสม |
|
|
|
|
|
มารยาทในการแนะนำ |
|
การแนะนำตัวและการแนะนำให้ผู้อื่นรู้จักกันถือเป็นมารยาททางสังคมแบบหนึ่ง
ดังนั้นจึงควรทราบ
วิธีการแนะนำที่เหมาะสม เช่น เมื่อต้องการแนะนำบุรุษแก่สตรีที่มีวัยอาวุโสใกล้เคียงกัน
ควรใช้ว่า
คุณคัทลิยาคะ อนุญาตให้ดิฉันแนะนำ ร้อยตำรวจโทพิชิต ปราบไพรพาล
สารวัตรประจำสถานี
ตำรวจบางเขน แก่คุณคะ และแนะนำให้ฝ่ายบุรุษรู้จักฝ่ายสตรี
คุณคัทลิยา ราชาวดี ประชาสัมพันธ์
์ของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ |
|
|
|
การแนะนำสตรีต่อสตรี
การแนะนำบุคคลเพศเดียวกันให้รู้จักกัน ต้องยึดถือความอาวุโสเป็นสำคัญ
เช่นแนะนำเพื่อนให้รู้จักมารดา จะต้องแนะนำว่า เจี๊ยบจ๋า
นี่คุณแม่ของเรา จากนั้นจึงแนะนำให้คุณแม่รู้จัก
เจี๊ยบว่าเป็นเพื่อนที่มหาวิทยาลัย คือแนะนำให้ผู้น้อยรู้จักผู้ใหญ่ก่อน |
|
|
|
การแนะนำบุรุษแก่บุรุษ
ก็ใช้หลักการเดียวกันคือแนะนำให้ผู้น้อยรู้จักผู้ใหญ่ก่อน
หรือถ้าอายุใกล้เคียงกัน
ก็แนะนำกลางๆเช่น ขออนุญาตแนะนำให้คุณสองคนรู้จักกัน คุณสมบูรณ์
พูนสุข ประธานบริษัท
อุดมสมบูรณ์ คุณสดใส สว่างจ้า ผู้จัดการบริษัทแสงสว่างเรืองรองจำกัด |
|
|
|
|
|
มารยาทในการสนทนา |
|
การสนทนาที่มีมารยาทมีหลักดังนี้
ในกรณีที่เพิ่งรู้จักกันไม่ควรถามถึงเรื่องส่วนตัว ควรเป็นทั้งผู้พูด
และผู้ฟัง ไม่พูดถึงแต่เรื่องส่วนตัวของตนเอง อย่าบ่นเรื่องเคราะห์กรรมและความต่ำต้อยของตนเอง
เพราะจะทำให้ผู้อื่นดูถูกได้ อย่าอวดร่ำรวยหรือความมีอำนาจเพราะเป็นการข่มผู้อื่น
ไม่พูดถึงเรื่อง
ในครอบครัวให้ผู้อื่นฟัง ไม่ควรพูดว่าเกลียดหรือรักชอบใคร
ไม่นำปมด้อยของผู้อื่นมาล้อเลียน
ไม่พูดจาสัปดนหรือลามก ไม่ตำหนิติเตียนพ่อแม่หรือผู้ที่ควรเคารพ
ไม่ปฏิเสธความหวังดีของผู้รู้จัก
และไม่พูดขัดคอผู้อื่นจนเกินควร |
|
|
|
|
|
มารยาทในการใช้โทรศัพท์ |
|
การใช้โทรศัพท์ถือเป็นการสื่อสารที่ใช้กันมากในทุกวันนี้
ทั้งเพื่อเรื่องส่วนตัวและเรื่องการทำงาน
ดังนั้นจึงต้องมีมารยาทในการใช้งาน เนื่องจากการใช้โทรศัพท์คู่สนทนาไม่สามารถเห็นหน้าตากันได้
ดังนั้นการใช้น้ำเสียงควรต้องมีความชัดเจน ใช้คำพูดนุ่มนวลสุภาพน่าฟัง
จัดระเบียบเนื้อหาที่จะ
พูดก่อนใช้โทรศัพท์ ถ้ารับโทรศัพท์ที่ต่อผิดเข้ามาควรรับคำขอโทษโดยสุภาพและเห็นใจ
ควรเริ่มต้น
ทักทายด้วยความสุภาพและเป็นมิตรไม่ว่าคู่สนทนาจะเป็นผู้อาวุโสหรือผู้น้อย
ถ้าผู้ติดต่อด้วยไม่อยู่ควร
แจ้งชื่อและเบอร์โทรศัพท์เพื่อการติดต่อกลับหรือฝากข้อความไว้
หากจำเป็นต้องยุติการสนทนาควร
ขอภัยคู่สนทนาก่อน การใช้โทรศัพท์สาธารณะควรรักษาเวลาและสนทนาโดยกระชับรวบรัด
ก่อนวางสายโทรศัพท์ควรกล่าวถ้อยคำที่แสดงถึงมิตรไมตรี เช่น
ขอบคุณ รู้สึกเป็นเกียรติ เป็นความกรุณา
ก่อนกล่าวคำว่าสวัสดี และควรรอให้ผู้ที่มีอาวุโสกว่าวางสายก่อน |
|
|
|
|
|
มารยาทเกี่ยวกับนามบัตร |
|
นามบัตรก็คือกระดาษรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าที่มีชื่อ
ตำแหน่ง ที่อยู่ หมายเลขโทรศัพท์และรายละเอียดของ
เจ้าของปรากฏอยู่ โดยมักจะมีอยู่ 3 รูปแบบคือ นามบัตรทางราชการ
นามบัตรทางสังคม และนามบัตรธุรกิจ ซึ่งนามบัตรทางราชการและธุรกิจมักจะระบุตำแหน่งและสถานที่ทำงานกำกับไว้ด้วย
แต่นามบัตรทาง
สังคมอาจระบุหรือไม่ระบุไว้ก็ได้ การใช้นามบัตรมักใช้เพื่อการแนะนำตนเอง
ซึ่งเป็นการให้รายละเอียดแก่ผู้ได้รับและสามารถติดต่อกันได้ในภายหลังอีกทั้งทำให้สามารถทราบชื่อและ
นามสกุลที่ต้อง นอกจากนี้ยังมักนิยมใช้การแนบนามบัตรไปกับการให้ของขวัญเพื่อการแสดงความยินดี
ขอบคุณ อวยพร แจ้งข่าวและแสดงความเสียใจ |
|
|
|
|
|
มารยาทเกี่ยวกับงานเลี้ยง |
|
คนที่อยู่ในแวดวงสังคมส่วนใหญ่มักจะต้องเกี่ยวข้องกับงานเลี้ยงอยู่เสมอ
โดยอาจจะมีความเกี่ยวข้องที่
ี่แตกต่างกันออกไป บางครั้งก็เกี่ยวข้องในฐานะเจ้าภาพ ผู้มาร่วมงาน
ดังนั้นจึงเป็นสิ่งสำคัญในการเรียน
รู้เกี่ยวกับมารยาทเกี่ยวกับงานเลี้ยง เพื่อให้สามารถนำไปใช้เมื่อยามที่ต้องเกี่ยวข้องได้อย่างเหมาะสม
อย่างเช่น มารยาทในการออกบัตรเชิญต้องเชิญผู้ร่วมงานทั้งสามีและภรรยาถ้าเชิญเพียงคนเดียวถือเป็น
การไม่ให้เกียรติกัน ชื่อ ยศ ตำแหน่งของผู้ถูกเชิญจะต้องเขียนให้ถูกต้องโดยระบุชื่อของสามีแล้ว
ตามด้วยภรรยา ควรเขียนชื่อหน้าซองด้วยตัวบรรจงหรือใช้พิมพ์ด้วยหมึกสีน้ำเงินหรือดำ
ไม่เชิญหญิง
และชายที่ยังไม่สมรสกันด้วยบัตรเชิญเพียงใบเดียว ในบัตรเชิญควรระบุลักษณะงานและการแต่งกายไว้ด้วย |
|
|
|
ในการรับแขกที่มาร่วมงาน
ควรมีการวางแผนเกี่ยวกับการจัดที่นั่งไว้ด้วยว่าจะจัดให้ใครนั่งกับใคร
หรือแขกกลุ่มใดจะนั่งบริเวณใด ควรมีการอำนวยให้กับแขกตั้งทางเข้างานจนถึงการจอดรถ
เจ้าภาพควรอยู่บริเวณทางเข้าเพื่อทักทายแขกที่มาร่วมงานและพาไปบริเวณที่นั่ง
ถ้าเจ้าภาพไม่อยู่ก
็ต้องมีผู้แทนคอยทำหน้าที่แทน เมื่อแขกเกียรติยศมาถึงงานและได้เวลาก็สามารถกล่าวสุนทรพจน์
ของงานได้เลยโดยไม่ต้องรอให้แขกมาครบทั้งหมด และในการส่งแขกเจ้าภาพก็จะต้องยืนคอย
กล่าวคำขอบคุณและคำอาลาแขกอยู่บริเวณหน้างาน |
|
|
|
ผู้ที่เป็นแขกก็มีข้อควรที่ต้องปฏิบัติคือ
อ่านรายละเอียดเกี่ยวงานให้เข้าใจเพื่อเตรียมความพร้อมให้ถูกต้อง
และเหมาะสมทั้งการแต่งกาย เวลา สถานที่และรูปแบบของงาน ไม่ควรพาผู้ที่ไม่ได้รับเชิญไปร่วมงานด้วย
ควรไปถึงงานก่อนงานเริ่มประมาณ 15 นาที งานบางประเภทผู้ไปร่วมงานควรมีของขวัญที่เหมาะสม
ไปร่วมงานด้วย เมื่อไปถึงงานควรพบกับเจ้าภาพหรือผู้แทนและมอบของขวัญให้โดยตรง
เมื่อได้รับการแนะนำ
ให้รู้จักกับแขกอื่นๆควรมีการสนทนาปราศรัยกันตามสมควร บนโต๊ะอาหารบุรุษควรดูแลสตรีที่อยู่ด้านข้าง
ด้วยเสมอ |
|
|
|
|
|
ประเภทของงานเลี้ยง |
|
งานเลี้ยงแบบไทย
ส่วนมากนิยมจัดเป็นวงรับประทานอาหารร่วมกัน มีสำรับกับข้าวอยู่กลางวง
มีจานข้าว
ช้อนส้อม ผ้าเช็ดมือ และแก้วน้ำประจำตัวสำหรับแขกแต่ละคน
มารยาทที่สำคัญก็คือการใช้ช้อนกลาง
ในการรับประทานอาหารร่วมกัน |
|
|
|
งานเลี้ยงสากลแบบดินเนอร์(Dinner)
เป็นงานเลี้ยงแบบพิธีการ แขกจะมีการแต่งตัวอย่างสวยงาม
ผู้ร่วมงานจะมีที่นั่งเฉพาะของตน อาหารจะถูกนำมาให้ทีละอย่างพร้อมกับเครื่องดื่ม
ซึ่งส่วนมากจะเป็นไวน์ |
|
|
|
งานเลี้ยงสากลแบบแกรนด์ดินเนอร์(Grand
Dinner)
เป็นงานเลี้ยงแบบพิธีการ มีการตกแต่งสถาน
ที่สวยงาม บนโต๊ะอาหารจะมีเชิงเทียน ภาชนะใส่อาหารจะเป็นเครื่องแก้วและกระเบื้องเนื้อดีหรือเครื่องเงิน
ผู้ร่วมงานจะแต่งกายหรูหราและมีที่นั่งเฉพาะของแต่ละบุคคลสลับหญิงและชายตามที่นั่ง
อาหารจะถูกนำมาบริการทีละอย่างพร้อมเครื่องดื่ม |
|
|
|
งานเลี้ยงสากลแบบแบงเควท(Banquet)
เป็นงานเลี้ยงแบบแกรนด์ดินเนอร์
แต่จะมีการแสดงภายหลังจากการรับประทานอาหาร |
|
|
|
งานเลี้ยงสากลแบบบุฟเฟต์(Buffet)
เป็นงานเลี้ยงที่อาหารทั้งหมดจะถูกรวมกันไว้ที่โต๊ะกลาง
โดยผู้ร่วมงานจะต้องตักอาหารนำไปรับประทานยังโต๊ะที่จัดไว้ให้ด้วยจานใบเดียว
การตักอาหาร
ไม่ควรตักจนเต็มหรือล้นจาน เพราะสามารถตักอาหารเพิ่มได้หลายครั้งตามความต้องการ
|
|
|
|
งานเลี้ยงสากลแบบบุฟเฟต์ดินเนอร์(Buffet
Dinner)
เป็นการจัดเลี้ยงแบบบุฟเฟต์ แต่อุปกรณ์การ
รับประทานอาหารเช่น จาน ช้อน ซ่อม มีด แก้วน้ำจะจัดไว้ให้เฉพาะบุคคลที่โต๊ะอาหาร |
|
|
|
งานเลี้ยงสากลแบบค็อกเทล(Cocktail)
เป็นงานเลี้ยงที่ไม่มีโต๊ะ เก้าอี้ สำหรับนั่งรับประทานอาหาร
โดยอาหารจะจัดเป็นชิ้นเล็กๆพอดีคำตั้งไว้ตามจุดต่าง แต่จะมีคนคอยบริการเครื่องดื่ม
งานเลี้ยงประเภทนี้มุ่งหวังให้แขกเดินพบปะและสนทนากัน จึงควรระวังการกินขณะสนทนา
ส่วนเมื่อรับประทานอาหารแล้วไม้ที่ใช้จิ้มอาหารควรทิ้งในที่ๆจัดไว้ให้
การจับแก้วน้ำควรจับตาม
ประเภทของแก้ว แก้วน้ำเย็นจับเชิงแก้วด้านบน แก้วมีก้านจับตามชนิดของเครื่องดื่ม
ถ้าเป็นไวน์
์ให้จับก้านแก้ว แชมเปญใช้นิ้วก้อยและนิ้วนางจับก้านแก้วที่เหลือหุ้มเชิงแก้วด้านบน
และแก้วบรั่นดี
ีใช้สองมือหุ้มเชิงแก้วบ้านบน |
|
|
|
งานเลี้ยงสากลแบบรีเซฟชั่น(Reception)
เป็นงานเลี้ยงรับรองรูปแบบเป็นงานเลี้ยงค็อกเทลอย่างเดียว
อาหารจะหลากหลายและเป็นอาหารหนักกว่างานค็อกเทลทั่วไป จะมีผู้ร่วมงานค่อนข้างมากดังนั้นเมื่อ
หยิบอาหารเสร็จแล้ว ควรหลีกเพื่อให้ผู้อื่นได้หยิบอาหารบ้าง |
|
|
|
งานเลี้ยงสากลแบบซัปเปอร์(Supper)
เป็นการเลี้ยงอาหารว่างหรืออาหารคาวแบบเบาๆ
ภายหลังการแสดงของงานแบงเควทเสร็จสิ้นลง มารยาทจะเหมือนกับงานเลี้ยงประเภทอื่น |
|
|
|
งานเลี้ยงสากลแบบบุฟเฟต์ที(Buffet
Tea)
เป็นงานเลี้ยงชาหรือกาแฟที่จัดแบบบุฟเฟต์
สิ่งที่ต้องระวังคือช้อนชามีไว้ตักและคนเท่านั้น ไม่ใช้ตักชาหรือกาแฟขึ้นกินเป็นอันขาด
การคนควรคนเบาๆเพื่อไม่ให้ชาหรือกาแฟกระฉอก แล้วนำช้อนวางไว้ที่จานรอง
ไม่ควรดื่มชา
หรือกาแฟขณะมีช้อนคาอยู่ในถ้วยและไม่ควรดื่มให้เกิดเสียงดัง |
|
|
|
งานเลี้ยงสากลแบบไฮที(High
Tea)
เป็นงานเลี้ยงชาหรือกาแฟที่มีการจัดอุปกรณ์ไว้ที่โต๊ะ
อาหารที่นำมาบริการจะเป็นอาหารหนักที้องใช้มีดและซ่อมประกอบการรับประทาน
นอกจากนี้ยังมี
การบริการเครื่องดื่มประเภท พันช์ เบียร์ วิสกี้ น้ำหวานประกอบด้วย |
|
|
|
|
|
|
|
มารยาทงานเลี้ยงอาหาร |
|
การรับประทานอาหารในงานเลี้ยง
ในกรณีที่นั่งโต๊ะควรนั่งตัวตรงเต็มเก้าอี้ ลำตัวห่างจากโต๊ะ
ประมาณ 2 นิ้ว อาหารคาวหวานจะเข้าทางด้านซ้าย เครื่องดื่มจะเข้าด้านขวา
ผ้าเช็ดมือควรคลี่ออก
แล้ววางไว้บนตัก การใช้อุปกรณ์ช้อน ซ่อม มีด แก้วน้ำ จะใช้จากด้านนอกเข้ามาหาขอบจาน
ส่วนเครื่องดื่มจะอยู่ทางด้านขวามือ การดื่มเหล้าหรือน้ำไม่ควรดื่มจนหมดแก้ว
ถ้าไม่ต้องการ
เครื่องดื่มชนิดใดให้ยกมือห้ามพอเป็นที่สังเกตได้ว่าไม่ต้องริน
และไม่ควรดื่มสุราให้เมาจนครองสติไม่อยู่
ควรรอให้ผู้ที่อยู่ซ้ายขวาได้รับอาหารเสียก่อนแล้วจึงเริ่มลงมือรับประทาน
การรับประทานซุปต้อง
ใช้ช้อนซุปซึ่งจะวางอยู่ด้านนอกสุด เวลาตักให้ตักซุปออกจากตัวแล้วด้านข้างช้อนส่งซุปเข้าปากและ
ไม่ควรยกถ้วยซุปขึ้นดื่ม |
|
|
|
การจับช้อนส้อมไม่ควรให้ปลายโผล่ออกมาจากอุ้งมือ
เมื่อใช้ซ่อมร่วมกับมีดใช้มือซ้ายจับซ่อม
และมือขวาจับมีด ส่วนอาหารที่สามารถใช้มือหยิบรับประทานได้คือ
ขนมปัง ลูกกวาด
ช็อกโกแลต ถั่วทอด ข้าวเกรียบ การรับประทานขนมปังควรบิเป็นชิ้นพอดีคำมากกว่ารับประทาน
ทั้งแผ่นหรือทั้งก้อน ควรเขี่ยอาหารที่ติดช้อนส้อมออกก่อนที่วางไว้
อาหารที่ไม่ชอบรับประทาน
ควรตักไว้พอเป็นพิธีหรือถ้าไม่ตักเลยควรบอกแก่บริการให้ผ่านไป
การทำผิดพลาดบนตะอาหาร
เช่น ทำน้ำหก หรือช้อนหล่น ให้สงบสำรวมไว้และปล่อยให้ เป็นหน้าที่ของบริกร
ไม่ควรพูดเมื่อ
มีอาหารเต็มปาก ไม่บ้วน คาย หรือถ่มอาหารออกจากปาก แต่ถ้าจำเป็นให้กระดาษทิชชู่ห่อไว้
้แล้ววางไว้ใต้ขอบจาน เมื่อเวลาตักอาหารด้วยช้อนกลางเสร็จควรวางให้ด้ามช้อนหัน
ไปทางผู้อื่นเสมอ ไม่ใช้ช้อนส้อมของตนตักหรือแบ่งอาหารให้ผู้อื่น
การลุกจากโต๊ะอาหาร
ให้วางผ้าเช็ดมือไว้ข้างจาน |
|
|
|
|
|
มารยาทในที่ประชุมชน |
|
ที่ประชุมชนคือที่ๆมีคนอยู่รวมกันเป็นจำนวนมากด้วยจุดประสงค์อย่างใดอย่างหนึ่ง
อาจเป็นการประชุม
การชมกีฬา การแสดงต่างๆรวมถึงงานมงคลและงานอวมงคล การที่คนมาอยู่รวมกันมากๆ
จึงต้องมีกฏ กติกา ระเบียบต่างๆในการปฏิบัติต่อกัน ในที่นี้ก็คือมารยาท |
|
|
|
การประชุม
ในการประชุมทุกครั้งย่อมมีการนัดหมายกันเป็นล่วงหน้า ผุ้เข้าประชุมจึงควรศึกษา
หัวข้อก่อนการประชุมมาบ้าง และควรต้องมีความตรงต่อเวลาการประชุมเข้าประชุมโดยพร้อมเพรียงกัน
เพื่อให้ครบองค์ประชุม นอกจากนี้ผู้เข้าประชุมควรมีสมาธิ
ตั้งใจฟังผู้อื่น และแสดงความคิดเห็นเมื่อเกี่ยวข้องกับตนบางครั้งการประชุมจะมีการโต้เถียงและขัดแย้งกัน
ผู้เข้าประชุมไม่ควรใช้อารมณ์พูดจากันด้วยเหตุผลเมื่อสิ้นสุดการประชุมไม่ควรนำเรื่องที่ประชุม
ไปพูดข้างนอก ควรพูดจาและหาข้อยุติในห้องประชุมให้เสร็จสิ้น |
|
|
|
การชมการแสดงต่างๆ
การเข้าชมการแสดงต่างๆควรมีระเบียบตั้งแต่การเข้าแถวซื้อบัตรและการเข้าชมการ
แสดงตามลำดับก่อนหลัง ไม่ควรยืนบังหรือเคลื่อนไหวให้รบกวนผู้อื่น
ควบคุมการใช้เสียงไม่ให้รบกวนและ
สร้างความรำคาญให้แก่ผู้อื่น อีกทั้งรู้จักควบคุมอารมณ์รู้จักการแพ้ชนะเพื่อป้องการมีเรื่องที่รุนแรง
สำหรับการชมภาพยนตร์ก็ไม่ควรเล่าเรื่องหรือวิจารณ์เกี่ยวกับภาพยนตร์
ไม่ควรรับประทานขนมที่มี
เสียงดังและส่งกลิ่นรบกวนผู้อื่น และที่สำคัญควรยืนตรงแสดงความเคารพเมื่อ
ได้ยินเพลงสรรเสริญพระบารมี |
|
|
|
งานมงคลและอวมงคล
ในบรรดางานเลี้ยงทั้งหลายที่เรียกว่างานมงคลก็ได้แก่ งานวันเกิด
งานบวช
งานแต่งงานงานขึ้นบ้านใหม่ งานฉลองโอกาสต่างๆ ส่วนงานอวมงคลก็มีเพียงงานเดียวคืองานศพ
งานมงคลนั้นเป็นงานที่แสดงถึงความสุข เพราะฉะนั้นการแต่งกายจึงควรเลือกให้เหมาะสม
เลือกชุดที่สดใสมีสีสันหรือแต่งกายตามที่กำหนดไว้ในบัตรเชิญเมื่อไปถึงงานก็ควรพบกับเจ้าภาพ
เพื่อสนทนาแสดงความยินดี โดยเฉพาะอย่างยิ่งงานสมรสและงานฉลองอายุจากนั้นจึงไปร่วม
วงสนทนากับแขกอื่นๆ สำหรับงานอวมงคลหรืองานศพนั้นเป็นงานแห่งความโศกเศร้า
ผู้เป็นแขกต้องแต่งกายด้วยชุดสีขาวหรือดำ ไม่แต่งกายเปิดเผยจนเกินไป
และพึงระลึกเสมอว่า
งานศพไม่ใช่งานชุมนุมศิษย์เก่าหรือพบปะสังสรรค์ดังนั้นการสนทนาจึงต้องมีความสำรวม
|
|
|
|
|