|
|
|
การสื่อสารจากผู้บังคับบัญชาไปยังบุคลากรระดับต่างๆ
หรือที่เรียกว่าการสื่อสารในแนวดิ่ง
(Downward communication) มักอยู่ในรูปแบบของการสั่งงาน
การกำกับดูแล
การออกนโยบายสู่บุคลากรในระดับปฏิบัติงาน และปัญหาที่มักพบด้วยเสมอก็คือมักจะเป็นการ
สื่อสารทางเดียว |
|
|
|
การสื่อสารจากบุคลากรระดับต่างๆไปยังผู้บังคับบัญชา
หรือที่เรียกว่าการสื่อสารในแนวตั้ง
(Upward communication) เป็นการสื่อสารที่เปิดโอกาสให้ผู้ใต้บังคับบัญชา
ได้แสดงความคิดเห็นหรือสภาพปัญหาต่างในการทำงานไปสู่ผู้บริหาร
และมักจะเป็นการสื่อสารสองทางเพราะผู้บริหารมักจะสื่อสารตอบกลับเพื่อให้ข้อมูลแก่ผู้ใต้บังคับบัญชา |
|
|
|
การสื่อสารในแนวนอน
เป็นการสื่อสารที่เกิดขึ้นระหว่างบุคลากรในระดับเดียวกัน
มักเรียกกันว่าการ
สื่อสารแบบคู่ขนานหรือการสื่อสารในระดับเดียวกัน(Lateral
communication) เป็นการสื่อสาร
ขององค์กรที่มีอิทธิพลและมีความเข้มแข็งมากที่สุด
จุดเน้นของการสื่อสารชนิดนี้ก็คือ การร่วมมือ
และประสานการทำงาน รวมถึงการแก้ไขปัญหาและข้อคับข้องใจต่างๆในการทำงาน |
|
|
|
|
|
การสื่อสารในองค์กรที่มีประสิทธิภาพ
|
|
การสื่อสารที่เกิดขึ้นในองค์กรจะมีประสิทธิภาพได้นั้นประกอบด้วยปัจจัยหลายอย่าง
แต่ที่สำคัญก็คือเรื่องของคุณธรรม ทั้งผู้บังคับบัญชา
ผู้ใต้บังคับบัญชาและผู้ร่วมงานต่างจะ
ต้องมีคุณธรรมประจำใจอันได้แก่ |
|
|
|
ความจริงใจ
การแสดงความจริงใจสามารถแสดงออกมาได้ทั้งการพูดและการเขียนแต่ต้องเป็นจากใจ
ที่มีอยู่จริง แต่ก็ไม่จำเป็นต้องแสดงออกมาทั้งหมดเหมือนที่คิด
แสดงออกมาเท่าที่จำเป็นและคิดว่า
เหมาะสม เช่นการชม การวิจารณ์ และการออกความเห็น |
|
|
|
ความปรารถนาดี
การแสดงความปรารถนาดีก็สามารถแสดงออกมาได้ทั้งการพูดและการเขียน
ได้เช่นกัน เช่น การให้คำปรึกษา การเสนอแนะ การทัดทานและการตักเตือน |
|
|
|
ความมีน้ำใจ
การแสดงความมีน้ำใจเป็นศิลปะของการอยู่ร่วมกัน การรู้จักการให้และรู้จักการรับ
เป็นการแสดงถึงความมีน้ำใจ เช่นการให้ความช่วยเหลือ
การขอความเห็น |
|
|
|
|
|
อุปสรรคการสื่อสารในองค์กร
|
|
การสื่อสารที่เกิดขึ้นในองค์กรมักจะมีปัญหาและอุปสรรคเกิดขึ้นตามมาด้วยหลายประการเช่นกัน
สำหรับปัญหาที่มักเกิดขึ้นก็คือ |
|
|
|
การรับรู้ที่แตกต่างกัน
การรับรู้ข่าวสารเดียวกันแต่ผู้รับแต่ละคนตีความไปแตกต่างกัน
ก็จะทำให้เกิด
ความคลุมเครือและสับสนได้ ดังนั้นในการสื่อสารทุกครั้งจึงควรมั่นใจว่าข่าวสารนั้นมีความชัดเจนที่
จะทำให้ผู้รับแต่ละคนมีความเข้าใจตรงกัน |
|
|
|
การบิดเบือนข้อมูล
การส่งข่าวสารผ่านกันเป็นทอดๆผ่านคนจำนวนมากอาจทำให้ข้อมูลเกิด
การตกหล่น หรือบางครั้งมีการปรุงแต่งข้อมูล จึงอาจทำให้ข้อมูลเกิดการบิดเบือนไปจาก
ความเป็นจริงได้ |
|
|
|
การกลั่นกรองข่าวสาร
เป็นอุปสรรคที่สำคัญต่อการสื่อสารในองค์กรก็คือ กรณีที่ผู้ให้ข่าวสารเลือก
ให้ข่าวสารเฉพาะบางข่าวสารหรือเฉพาะบางส่วนของข่าวสารเท่านั้น
เพื่อให้ผู้ฟังรู้สึกพอใจ
โดยไม่ให้ข่าวสารในส่วนที่เป็นลบหรือคาดว่าจะทำให้ผู้ฟังรู้สึกไม่พอใจและเกิดผลลบต่อตนเอง
ดังนั้นจึงต้องมีการสร้างเข้าใจอันดีระหว่างคนในองค์กรเพื่อขจัดความกลัวในเรื่องของ
ความผิดพลาดในการทำงาน |
|
|
|
จังหวะเวลาของการติดต่อสื่อสาร
ข่าวสารบางชนิดนั้นควรตั้งสื่อสารให้รับรู้พร้อมกัน
แต่ข่าวสารบางชนิดก็ควรสื่อสารให้รับรู้เมื่อถึงเวลา
ดังนั้นจึงควรเลือกเวลาในการสื่อสาร
ให้เหมาะสมด้วยเช่นกัน |
|
|
|
|
|
การปรับปรุงการสื่อสารในองค์กร
|
|
การสื่อสารในองค์กรจะเกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลที่ดีได้นั้น
จะต้องมีการพัฒนาบุคคล
ที่เกี่ยวข้องกับการสื่อสารในหลายๆด้านได้แก่ |
|
|
|
การเป็นผู้ฟังที่ดี
ผู้ฟังทีดีนั้นจะต้องสามารถจับประเด็นของข่าวสาร จับความรู้สึกของ
ผู้ให้ข่าวสาร สังเกตปฏิกริยา มีการตอบสนองและแสดงความรู้สึกในการสื่อสารกลับ |
|
|
|
การเป็นผู้ตอบสนองที่ดี
ผู้ตอบสนองที่ดีจะต้องให้ข้อมูลย้อนกลับบอกคู่สนทนาว่าตนเอง
รู้สึกอย่างไรและเข้าใจข่าวสารหรือไม่ การให้ข้อมูลย้อนกลับนั้นเป็นศิลปะถ้าปฏิบัติไม่ถูกต้อง
หรือไม่เหมาะสม อาจก่อให้เกิดความไม่พึงพอใจและการไม่ยอมรับได้ |
|
|
|
การพัฒนาทักษะที่ดี
ในการพัฒนาทักษะการสื่อสารที่ดี มีหลักสำคัญอยู่ 10
ประการ
ซึ่งจะสามารถช่วยปรับปรุงการสื่อสารภายในองค์กรให้มีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น
ก็คือ |
|
 |
|
|
|
 |
สร้างความคิดให้ชัดเจนก่อนทำการสื่อสาร |
|
 |
กำหนดเป้าหมายในการสื่อสารทุกครั้ง |
|
 |
พิจารณาสภาพแวดล้อมของการสื่อสาร |
|
 |
ขอคำแนะนำผู้เชี่ยวชาญในการวางแผนการสื่อสาร |
|
 |
ควรระวังการสื่อสารทางสีหน้า
ท่าทาง และน้ำเสียง |
|
 |
พยายามทำการสื่อสารกับผู้ร่วมงานในทุกครั้งที่มีโอกาส |
|
 |
คอยติดตามผลการสื่อสารอยู่เสมอ |
|
 |
วางแผนการติดต่อสื่อสารทั้งเรื่องที่จะทำทั้งในปัจจุบันและในอนาคต |
|
 |
ควรปฏิบัติตามสิ่งที่ได้พูดไว้ |
|
 |
ควรเป็นผู้ฟังที่ดี |
|
|
|
|
|
|
|