|
การสร้างมนุษยสัมพันธ์นั้นไม่ใช่เรื่องยาก
เมื่อทำได้แล้วจะอำนวยประโยชน์ให้กับการดำรงชีวิต
ครอบครัวและการทำงาน สำหรับในด้านการทำงานนั้นมีข้อที่ควรปฏิบัติคือ |
|
|
|
การสร้างมนุษยสัมพันธ์กับเพื่อนร่วมงาน
การสร้างมนุษยสัมพันธ์ที่ดีกับบุคคลในองค์กร
มีองค์ประกอบที่สำคัญคือ การสร้างความเชื่อมั่นให้กับเพื่อนร่วมงาน
การเอาใจใส่เพื่อนร่วมงาน
การปรับตัวเองให้เข้าได้กับเพื่อนร่วมงาน |
|
|
|
การควบคุมพฤติกรรมและเจตนารมณ์ผู้อื่น
เมื่อต้องการสร้างสัมพันธภาพที่ดีกับเพื่อนร่วมงาน
มีสิ่งที่ควรต้องปฏิบัติคือ การสร้างความประทับใจให้กับเพื่อนร่วมงาน
การสร้างความเป็นมิตร
มองหาส่วนดีและยอมรับความสามารถของเพื่อนร่วมงาน คำนึงถึงเสมอว่าเพื่อนร่วมงานทุกคน
เป็นผู้มีคุณค่า การสั่งหรือติดต่องานไม่ควรใช้วิธีพูดผ่านกับคนอื่น |
|
|
|
วิธีการสร้างเสน่ห์ในบุคลิกภาพ
การเป็นคนมีเสน่ห์จะช่วยให้บุคคลที่อยู่รอบข้างอยากเข้ามาชิดใกล้
และปรารถนาจะร่วมงานด้วย การสร้างเสน่ห์สามารถทำได้โดย
การใช้น้ำเสียงหรือคำพูด
การแสดงออกทางร่างกาย การใช้ภาษากายที่เหมาะสม การพัฒนาบุคลิกภาพให้สง่างาม
การแต่งกายให้เหมาะสมกับกาลเทศะและการมีความมั่นใจในตนเอง |
|
|
|
การสร้างความสัมพันธ์กับผู้ใต้บังคับบัญชา
การปฏิบัติงานในองค์กรผู้บังคับบัญชาและ
ผู้ใต้บังคับบัญชาจำเป็นต้องการการสื่อสารเพื่อร่วมกันดำเนินงานให้บรรลุภารกิจขององค์กรโดย
ผู้บังคับบัญชาจะทำหน้าที่อำนวยการให้นโยบายและข้อมูลข่าวสารที่ถูกต้องและเหมาะสม
แก่พนักงาน
และในทางตรงกันข้ามก็ต้องรับฟังข่าวสารข้อมูล ข้อเสนอแนะและความคิดเห็นของพนักงาน
เพื่อให้
สามารถประสานงานงานในการทำงานร่วมกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ
นอกจากนี้ในการวินิจฉัย
ตัดสินใจก็เป็นหน้าที่ๆสำคัญประการหนึ่งของผู้บังคับบัญชาและเป็นศิลปะ
อันหนึ่งในการสร้างความสัมพันธ์กับผู้ใต้บังคับบัญชา
ผู้บริหารควรต้องรับผิดชอบต่อการตัดสินใจ
และการวินิจฉัยสั่งการที่เกิดขึ้น ภาระหน้าที่ๆสำคัญอีกอย่างหนึ่งก็คือการสั่งการ
โดยในการ
สั่งการนั้นสามารถทำได้ในหลายรูปแบบ เช่นการสั่งงานด้วยวาจาและการสั่งงานเป็นลายลักษณ์อักษร
ซึ่งต้องเลือกใช้ให้เหมาะสม และยังสามารถสั่งโดยใช้การบังคับหรือออกคำสั่ง
การสั่งงานแบบขอร้อง
การสังงานแบบแนะนำ การสั่งงานแบบอาสาสมัคร ซึ่งก็ขึ้นอยู่กับว่าตัวผู้บริหารจะเลือก
ใช้การสั่งงานแบบใด |
|
|
|
หลักปฏิบัติในการเป็นผู้ช่วยที่ดี
การปฏิบัติตัวเป็นผู้ช่วยที่ดีนั้นจะใช้หลัก
3 ประสานก็คือ มือดี ใจดี
ความคิดดี ซึ่งมือดีก็คือมีความรู้ความสามารถ ประสบการณ์
บุคลิกภาพและลักษณะท่าทางดี
ใจดีก็คือมีความมั่นคงทางจิตใจ มีความรับผิดชอบ เอาใจใส่ในงาน
มีความขยันหมั่นเพียรและอดทน
ส่วนคิดดีก็คือ มีความคิดริเริ่ม มีความเป็นผู้นำ
มีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี รู้จักกาลเทศะ รู้จักช่องทางในการ
ติดต่อสื่อสารและเป็นผู้รู้จักประมาณตน |
|
|
|
|
|
การแก้ไขข้อขัดแย้งในการทำงาน
|
|
การปฏิบัติงานในองค์กรร่วมกันของบุคลากรจำนวนมาก
ย่อมจะมีทั้งความคิดเห็นในการปฏิบัติงาน
ที่เหมือนกันและต่างกัน ความคิดเห็นที่ต่างกันนั้นสามารถนำไปสู่ความขัดแย้งในการทำงานได้
ซึ่งถ้าปล่อยให้ดำเนินต่อไปจะเป็นผลเสียตต่อการดำเนินการขององค์กรในภาพรวม
ดังนั้นจึงควร
ป้องกันและขจัดความแย้งออกไปเพื่อประสิทธิภาพขององค์กร |
|
|
|
ความขัดแย้งในการทำงาน
ความขัดแย้งในการทำงานเกิดจากความคิดเห็นบางอย่างที่ไม่ตรงกัน
ไม่เข้าใจกันทั้งระดับบุคคลต่อบุคคล บุคคลต่อกลุ่มหรือแม้กระทั่งระดับกลุ่มต่อกลุ่ม
ความขัดแย้ง
เกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ ทั้งการเข้าใจข้อมูลไม่ตรงกัน
การเลือกวิธีการปฏิบัติที่ต่างกัน
ค่านิยมต่างกัน รวมถึงการเปลี่ยนแปลงในองค์กร ซึ่งถ้าสรุปแล้วความขัดแย้งที่เกิดขึ้นส่วนใหญ่
จะเป็นความขัดแย้งทางความคิด และความขัดแย้งที่เกิดจากผลประโยชน์ |
|
|
|
ผลของความขัดแย้ง
ผลที่เกิดขึ้นจากความขัดแย้งอาจก่อให้เกิดผลทั้งด้านบวกและด้านลบ
เช่น
ในทางบวกได้แก่ ป้องกันการหยุดอยู่กับที่ กระตุ้นให้เกิดความอยากรู้อยากเห็น
ขจัดปัญหาที่เลื่อนลอย
เกิดการสร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆ ส่วนในทางลบได้แก่ การทำงานร่วมกันไม่ได้
ลดความเป็นมิตร
ระหว่างบุคลากร หมดความเชื่อถือและไว้วางใจซึ่งกันและกัน
ต่อสู้กันอย่างไร้เหตุผล เกิดการทำงาน
เพียงเพื่อเป็นการเอาชนะกัน |
|
|
|
การแก้ไขความขัดแย้ง
วิธีการแก้ไขความขัดแย้งของคนเราจะต่างกัน แต่ละคนย่อมจะมีวิธีการแก้ไข
ความขัดแย้งของตนเอง ซึ่งวิธีการส่วนใหญี่มักจะใช้กันได้แก่
การหลีกหนีปัญหา การกลบเกลื่อนหรือ
ถ่วงเวลาเพื่อคลี่คลายปัญหา การต่อรองประนีประนอม
การเผชิญหน้าโดยการเผชิยหน้านั้นอาจมี
หลายรูปแบบตั้งแต่ การลงโทษ กลั่นแกล้ง การใช้กำลังเข้าต่อสู้เพื่อให้เกิดการแพ้ชนะ
การเจรจาทำความตกลงซึ่งเป็นวิธีการที่ดีและสร้างสรรค์ |
|
|
|
เทคนิคการแก้ไขปัญหา
การแก้ไขปัญหานั้นมีเทคนิคอยู่หลายประการด้วยกัน การแก้ไขปัญหาที่ดี
ีเกิดจากการประยุกต์เทคนิคต่างๆเข้าด้วยกัน ซึ่งจะช่วยให้สามารถแก้ไขปัญหาได้อย่างรอบคอบ
และมีประสิทธิภาพ ซึ่งเทคนิคที่สามารถนำมาใช้ได้ก็คือ
การรับฟัง การให้คำแนะนำผู้อื่นให้
สามารถคิดและแก้ปัญหาได้ด้วยตัวเอง การทำให้ผู้อื่นสามารถคิดและตัดสินใจได้ด้วยตนเองและ
มีความรับผิดชอบ การเจรจาหาทางแก้ไขเมื่อมีปัญหา การมองตัวปัญหาเพื่อหาสาเหตุ |
|
|
|
|