ปริพันธ์

บทนิยาม

จะเรียกฟังก์ชัน $F(x) $ ว่าเป็นปฎิยานุพันธ์ของ $f(x) $ บนช่วง $I$ ถ้า
$$ F'(x) = f(x) \quad ทุก \quad x \in I $$

ทฤษฎีบท

ถ้า $F(x) $ เป็นปฎิยานุพันธ์ของ $f(x) $ บนช่วง $I$ แล้วปฎิยานุพันธ์ทั่วไปของ $f(x) $ จะอยู่ในรูปแบบ
$$ F(x) + C \quad เมื่อ \quad C เป็นค่าคงตัว $$

ตัวอย่าง

1. $F(x) = \frac{x^2}{2}$ เป็นปฎิยานุพันธ์ของ $f(x) = x $ เพราะ $F'(x) = 2 \cdot \frac{x}{2} = x =f(x) $
ดังนั้น ปฎิยานุพันธ์ทั่วไปของ $f(x) $ คือ $F(x) + C = \frac{x^2}{2}+ C $
2. $F(x) = \sin x $ เป็นปฎิยานุพันธ์ของ $f(x) = \cos x $ เพราะ $F'(x) = \cos x = f(x) $
ดังนั้น ปฎิยานุพันธ์ทั่วไปของ $f(x) $ คือ $F(x) + C = \sin x + C $
3. $F(x) = \arctan x $ เป็นปฎิยานุพันธ์ของ $f(x) = \frac{1}{x^2+1} $ เพราะ $F'(x) = f(x) $
ดังนั้น ปฎิยานุพันธ์ทั่วไปของ $f(x) $ คือ $F(x) + C = \arctan x + C $

หมายเหตุ

จะใช้สัญลักษณ์ $\int f(x) dx $ เขียนแทน ปฎิยานุพันธ์ทั่วไปของ $f(x) $
ดังนั้น จากตัวอย่างดังกล่าวได้ว่า
$ \begin{align} & 1. \int x dx &&= \frac{x^2}{2}+ C \\ & 2. \int \cos x dx &&= \sin x + C \\ & 3. \int \frac{1}{x^2+1} dx && = \arctan x + C\\ \end{align} $
เราสามารถหาสูตรของปฎิยานุพันธ์ทั่วไป จาก สูตรอนุพันธ์ได้ ดังต่อไปนี้
$ \begin{align} & สูตรอนุพันธ์ & & สูตรปฎิยานุพันธ์ \\ & \frac{d kx }{dx} = k & & \int k dx = kx+C \quad เมื่อ \quad k เป็นค่าคงตัว \\ & \frac{d}{dx}(f(x)+g(x)) = \frac{d}{dx}f(x)+ \frac{d}{dx} g(x) && \int (f(x)+g(x)) dx = \int f(x) dx + \int g(x) dx \\ \end{align} $
จะเรียก การหาปฎิยานุพันธ์ทั่วไปของฟังก์ชัน $f(x)$ ว่า การหาปริพันธ์ของฟังก์ชัน $f(x)$
ตัวอย่างสูตรต่อไปนี้เป็นสูตรการหาปริพันธ์ที่ได้จากสูตรอนุพันธ์

$ \begin{align} & \int x^n dx = \frac{x^{n+1}}{n+1} +C \quad เมื่อ \quad n \neq -1 & & \int \frac{1}{x} dx = \ln |x| +C \\ & \int e^x dx = e^x +C && \int a^x dx = \frac{a^x}{\ln a } + C \\ & \int \sin x dx = - \cos x +C && \int \cos x dx = \sin x + C \\ & \int \sec ^2 x dx = \tan x +C && \int \csc ^2 x dx = - \cot x + C \\ & \int \sec x \tan x dx = \sec x +C && \int \csc x \cot x dx = -\csc x + C \\ & \int \frac{1}{\sqrt{1-x^2}} dx = \arcsin x +C && \int \frac{1}{x^2+1} dx = \arctan x + C \\ \end{align} $

สามารถใช้โปรแกรม SageMath ดังนี้